ฐานโซไซตี : ทุนใหญ่วิ่งขาขวิด ชิงเค้กเมกะโปรเจ็กต์เชื่อมอีอีซี

23 พ.ย. 2561 | 14:59 น.
ทุนใหญ่-1 EEC_01.original ช่วงนี้ถือเป็นช่วงปล่อยของก็ว่าได้ ทุนใหญ่ต่างวิ่งกันขาขวิดหลังรัฐบาลเร่งทำคลอด โครงการขนาดใหญ่หลายโครงการถูกวางไทม์ไลน์ชัดว่าจะต้องประมูลให้แล้วเสร็จใน “รัฐบาลนี้” โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กต์เชื่อม “อีอีซี” อภิโครงการที่ “บิ๊กตู่”ทุ่มสุดตัว เพื่อเจียระไนอีอีซีให้เป็น “เพชร” เม็ดงามของนักลงทุน “คณิศ แสงสุพรรณ” บอกว่ารัฐบาลต้องการเทคโนโลยีชั้นสูง มากกว่าเม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนก็ตาม ซึ่งในทางปฏิบัติต้องอาศัยทั้ง 2 อย่าง

ไล่เลียงประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผ่านไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ได้ 2 บิ๊กทุน“บีทีเอส”และ “ซีพี” ที่ต่างผนึกพันธมิตรไทย-เทศ สู้ศึกชิงโครงการร่วม 2 แสนล้านไปแล้ว สัปดาห์นี้ถึงคิว โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาบนเนื้อที่ 6,500 ไร่ มูลค่าเกือบ 3 แสนล้านบาท เปิดขายซองประมูล วันแรกเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ลากยาวถึงวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้ ยื่นซองประมูลเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้น 1 เดือนก็คัดเลือกได้ตัวผู้ชนะและเซ็นสัญญา

[caption id="attachment_352305" align="aligncenter" width="503"] คณิศ แสงสุพรรณ คณิศ แสงสุพรรณ[/caption]

โครงการนี้ประเมินกันว่า 2 ทุนใหญ่ที่ประมูลรถไฟความเร็วสูง จ่อลงสนามแข่งด้วย เพื่อกินรวบ โครงการกินหัวกินหางและกินกลางตลอดตัว เป็นการประมูลสัญญาเดียว ส่วนจะจับมือกับกลุ่มทุนไทย-ต่างประเทศ รายไหนบ้างต้องรอดูกันชัดๆ อีกครั้งวันยื่นซอง ซึ่งเชื่อว่าต้องมีบิ๊กทุนที่บริหารสนามบินใหญ่ทั่วโลก ทั้งจากฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน ร่วมวงอยู่ด้วย เพราะเขาว่ากันว่า งานนนี้มีเซอร์ไพรส์แน่ และไทยต้องการเน้นการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสได้เรียนรู้

[caption id="attachment_352111" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

ขณะที่ค่าย ยักษ์ใหญ่ผลิตเครื่องบิน “แอร์บัส” จากฝรั่งเศสปักธงอยู่แล้ว โดยร่วมสร้างศูนย์ซ่อม (MRO) กับการบินไทย ลงทุนหมื่นล้าน รองรับการซ่อมบำรุงเครื่องบิน7 พันลำในภูมิภาคและจะเพิ่มเป็น 1.6 หมื่นลำในอีก 20 ปีข้างหน้า และถ้าความเห็นการพัฒนา อีอีซี ว่าเป็นอย่างไร “ปีแอร์ แจฟเฟอร์” ประธานภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก แอร์บัสกรุ๊ป บอกว่า ต้องดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่องและต้องสร้างคน จัดฝึกอบรมด้านบุคลากร เทรนนิ่ง โดยเห็นว่า ไทยได้เปรียบศูนย์ซ่อมในสิงคโปร์เพราะเริ่มจากนับหนึ่ง เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการบินเปลี่ยนไปมาก ศูนย์ซ่อมแห่งนี้จะรับซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่ ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
30709281_2070441772975367_7443841599555648007_n “อีอีซี” ไม่ได้มีแต่โครงข่ายคมนาคม ที่จะเชื่อมโลก ท่าเรือนํ้าลึกขนาดใหญ่ รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูง ศูนย์ซ่อม ถนนหนทาง ผังเมืองใหม่ เมืองใหม่ สมาร์ทซิตี ทีโอดี ที่จะเกิดขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของผู้คนที่จะอพยพโยกย้ายเข้าไปอยู่ในพื้นที่ 7 ล้านคนในอนาคต นิคมอุตสาหกรรมชั้นสูง ยังมีลงทุนเซาธ์อีโคโนมิก คอร์ริดอร์ (เอสอีซี) ที่ภาคใต้ คู่ขนานไปด้วย รองรับการขนส่งสินค้า จากกรุงเทพฯสู่ภาคใต้ สร้างท่าเรือแห่งใหม่หมื่นล้านที่ จังหวัดระนอง เพื่อลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าจาก 12 วันเหลือ 4 วัน ไปอินเดีย พร้อมโครงข่ายคมนาคมรถไฟทางคู่ ชุมพร ไประนอง ซึ่งจะเข็นเข้าครม.ในเร็วๆ นี้ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลกระจายการลงทุนให้ทั่วภูมิภาคมิใช่แค่ ภาคตะวันออก หรืออีอีซี เท่านั้น

ประเมินแล้วการลงทุน “อีอีซี” น่าจะเรียบร้อยโรงเรียนในรัฐบาล “คสช.” และก่อนการเลือกตั้งแน่ เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อในรัฐบาลใหม่ เพราะในอดีตที่ผ่านมาผู้นำไทยหลายท่านก็เคยสร้างผลงานชิ้นโบแดงเอาไว้ อย่างสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ก็ถือเป็นยุคที่เศรษฐกิจไทย “โชติช่วงชัชวาล” จากการประกาศการลงทุนครั้งใหญ่ใน อีสเทิร์นซีบอร์ด

มาถึงรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็เป็นยุคแห่งการเปลี่ยน “สนามรบเป็นสนามการค้า” กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอินโดจีน มาถึงยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ต้องการปักหมุดโครงการ “อีอีซี” ให้เป็นเพชรเม็ดงาม ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาปักธง ใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง เม็ดเงินลงทุน 1.5 ล้านล้านบาท ใน 5 ปี จึงประเคนสิทธิพิเศษอย่างเว่อร์วังอลังการ หรือเป็นการต่อยอดลงทุน อีสเทิร์นซีบอร์ด ภาค 2 นั่นเอง และจะกินยาวไปอีก 20 ปี หลังจากไทยไม่เหลือบุญเก่าให้กินแล้ว

| คอลัมน์ : ฐานโซไซตี
| โดย : พริกกะเหรี่ยง
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3420 หน้า 4 ระหว่างวันที่ 22 - 24 พฤศจิกายน 2561
595959859