ส.อ.ท. จับมือสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผลักดันเกษตรไทยสู่อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่

22 พ.ย. 2561 | 08:18 น.
ส.อ.ท. ผนึกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงนามความร่วมมือ เสริมเขี้ยวเล็บคุณภาพการผลิต หนุนแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ผลักดันสู่อุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ พร้อมเชื่อมโยงธุรกิจการค้าผ่านเครือข่ายสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯ แจ้งเกิดผู้ประกอบการด้านการเกษตรสมัยใหม่เพิ่มขึ้น หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากภาคเกษตร-ภาคอุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรก้าวสู่การยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ มีปริมาณเพียงพอ และตรงความต้องการของตลาดในภาคอุตสาหกรรม จึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กับสภาเกษตรกรแห่งชาติขึ้น เพื่อร่วมมือกันกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากภาคเกษตรกรรม รวมทั้งมีแผนที่จะร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการด้านการเกษตรสมัยใหม่ (Smart Agri Entrepreneur) ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากภาคเกษตรควบคู่ภาคอุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

 

[caption id="attachment_351235" align="aligncenter" width="503"] สุพันธุ์ มงคลสุธี สุพันธุ์ มงคลสุธี[/caption]

ทั้งนี้ ปัจจุบันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมเพิ่มมูลค่าให้กับภาคการเกษตรแบบครบวงจร ทั้งด้านเทคโนโลยี เครื่องจักร คุณภาพมาตรฐาน และการตลาด โดยมอบหมายให้สถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรจัดทำโครงการยกระดับการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการผลิตทางด้านการเกษตรต่าง ๆ ให้เข้าถึงอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ ๆ เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรมากขึ้น

นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร (ส.อ.ท.) กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรมีเป้าหมายในการยกระดับการพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้าทางการเกษตร ส่งเสริมเชื่อมโยง Supply ผลผลิตการเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต การแปรรูป ตลอดจนการเชื่อมโยงธุรกิจการค้าผ่านเครือข่ายสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯ และหน่วยร่วมพันธมิตร ครอบคลุมทั้งกลุ่มผู้ค้าในประเทศและผู้ส่งออก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทาน เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่มีการหมุนเวียนจากการรับซื้อผลผลิต เกิดการผลิต การลงทุน การจ้างงาน การขนส่ง และบริการ ช่วยให้เศรษฐกิจเกิดการขยายตัว โดยปัจจุบันสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรมีงานให้บริการ ประกอบด้วย การรับรองไม้เศรษฐกิจไทย (Thailand Forest Certification Council : TFCC), การบริการสนับสนุนเชื่อมโยงภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร และการให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming)


สุ-ประ

"การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นมิติครั้งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการแปรรูปทางการเกษตร ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด และเป็นการร่วมกันจัดทำแนวทางการดำเนินงาน เพื่อบริหารจัดการให้ผลิตผลทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม สร้างความสมดุล และเสถียรภาพให้กับราคาสินค้าเกษตร ช่วยยกระดับพัฒนาความรู้เกษตรกร รวมถึงการสร้างเครือข่าย ด้วยการผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถ สู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพ" นายศักดิ์ชัย กล่าว

ด้าน นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกรไทยมักประสบปัญหาหลักด้านการตลาด ไม่สามารถจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่สามารถต่อรองราคาได้ ทำให้เกิดปัญหาด้านหนี้สินตามมา ดั้งนั้น การลงนามบันทึกข้อตกลงกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการตลาด เป็นการพัฒนาภาคเกษตรให้ผลิตสินค้าคุณภาพเพื่อการส่งออก และพัฒนาผลผลิตไปสู่การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีมาบริหารจัดการผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด นับเป็นความร่วมมือที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมการเกษตรในอนาคต


ประพัฒน์1

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว