'ดีแทค' จับมือรัฐ-เอกชน เร่งสร้างแผนงาน เดินหน้าสู่ 5G

20 พ.ย. 2561 | 06:27 น.
'ดีแทค' เดินหน้าสร้างแผนงานสู่ 5G ผนึกภาครัฐ-เอกชน ร่วมผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน นำคนไทยสู่ความยั่งยืนของยุค 5G

DTAC_JZ26681




5G เชื่อมโยงธุรกิจ
นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า สำหรับการเข้าสู่ศักราชของ 5G จะต้องทำความเข้าใจในศักยภาพการสื่อสารดิจิทัลที่ต่างจากเดิม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ซึ่งแตกต่างจากการมาของเทคโนโลยีการสื่อสาร 3G และ 4G การมาถึงของ 5G จะไม่ใช่แค่กรณีของผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์โครงข่ายของตน หรือ ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารจะเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงการมีส่วนร่วมทั้งอุตสาหกรรมสู่การเชื่อมต่อธุรกิจ ไม่เพียงแต่กับผู้บริโภค แต่ยังรวมไปถึงธุรกิจอื่นด้วยวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนสู่กลยุทธ์ 5G ของไทย ตัวอย่างเช่น การทำเกษตรกรรม กรณีนางสาวปคุณา บุญก่อเกื้อ หรือ แก้ว เกษตรกรสาวเจ้าของบ้านสวนเมล่อน จ.ฉะเชิงเทรา ด้วยโซลูชัน "ฟาร์มแม่นยำ" ซึ่งถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี Internet of Things เพื่อการทำเกษตรที่มีความแม่นยำที่เราพัฒนาขึ้น โดยสามารถเพิ่มรายได้จากการทำเกษตรแล้วมากกว่าร้อยละ 20


เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสาร
ขณะที่ 5G ยังได้เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งที่รวดเร็วขึ้นลดค่าใช้จ่าย เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่ทำได้รวดเร็วและแม่นยำ ด้วยค่าความหน่วงของสัญญาณที่ต่ำ (Ultra-Low Latencies) และการตอบสนองที่เร็วของโครงข่าย 5G ทำให้ออกแบบโซลูชันส์ให้ยานพาหนะ หรือ รถบรรทุก สามารถสื่อสารระหว่างกัน เพื่อเชื่อมต่อตั้งเป็นขบวนวิ่งไปบนทางร่วมกันในระยะใกล้มากขึ้น ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงลงถึงร้อยละ 12 อีกทั้ง 5G ยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารนับล้านชิ้นในเวลาเดียวกัน สนามบินในวันพรุ่งนี้จะไม่เหมือนเดิม กระเป๋าเดินทางทุกใบและกล่องขนส่งสินค้าทางอากาศจะได้สามารถระบุตำแหน่งติดตามได้จากอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ภายในอาคารสนามบินและเครื่องบิน รวมถึงการระบุตำแหน่งสินค้าอาหาร ไม่ใช่แค่บริหารต้นทุน หรือ ประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชันส์ IoT ที่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคสามารถที่จะรู้ได้ว่าอาหารบนจานนั้นมาจากที่ไหน


นำร่องทดสอบในสมาร์ทซิตี้
หลังจากที่ดีแทคและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบแจ้งพิกัดความแม่นยำของการระบุตำแหน่งด้วยเทคโนโลยี GNSS RTK เพื่อสนับสนุนสู่บริการ 5G โดยโครงการนี้ได้เริ่มทดลองปรับปรุงค่าส่งสัญญาณ 200 แห่ง ซึ่งมีพิกัดในสมาร์ทซิตี้ เมืองอัจฉริยะ ของไทยทั้ง 7 จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง เพราะสมาร์ทซิตี้เป็นเมืองที่ใช้นำร่องในการทดลองใช้งานดิจิทัลรูปแบบใหม่ จึงต้องใช้ความแม่นยำสูงในการแสดงชุดพิกัดข้อมูลและต่อยอดสู่นวัตกรรม 5G นอกจากนั้น ดีแทคได้นำ IoT สู่มาตรวัดอัจฉริยะ (Smart Meter) จำนวน 8,000 แห่ง และการระบุพิกัดติดตามยานพาหนะ 100,000 คัน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ดีแทคจะให้บริการสวิตช์บอร์ดอัจฉริยะ (Intelligent Power Switchboards)

 

[caption id="attachment_350125" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

ภาครัฐร่วมสนับสนุน
ทั้งนี้ การที่จะนำประเทศไทยสู่โครงสร้างพื้นฐานยุค 5G จะต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้มีการส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการสร้างโครงข่าย 5G ได้ประมาณร้อยละ 40 แม้ว่าการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันเพียงอย่างเดียวจะยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนความต้องการในการขยายเสาสัญญาณ 5G ที่ต้องลงทุนเพิ่มอย่างมาก ในขณะเดียวกัน การจัดสรรคลื่นความถี่และการกำหนดราคาจะต้องนำมาพิจารณาทบทวนเพื่อส่งเสริมสู่ศักยภาพ 5G นี่คือ โอกาสสำคัญสำหรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการเป็นพันธมิตรร่วมกัน โดยภาครัฐดูแลโครงสร้างพื้นฐาน 5G และผู้ประกอบการเอกชนดูแลการทำตลาดและให้บริการต่าง ๆ จากโครงข่าย นอกจากนั้น ภาครัฐน่าจะสนับสนุนเปิดให้เข้าถึงการใช้งานได้ฟรีในพื้นที่สาธารณะ และลดความซับซ้อนในการขออนุญาตการตั้งเสาสัญญาณใหม่ นอกจากนั้น น่าจะถึงเวลาที่จะมีแผนยุติการให้บริการ 2G ร่วมกัน เพราะการให้บริการทั้ง 2G, 3G, 4G และ 5G พร้อมกันทั้งหมด จะเกิดความยุ่งยากในการใช้บริการและมีค่าใช้จ่ายสูง

อย่างไรก็ตาม ดีแทคมั่นใจว่า รัฐบาลและสำนักงาน กสทช. สามารถลดอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ 5G สำหรับการพัฒนาสู่ 5G อย่างยั่งยืนนั้น ประเทศไทยยังต้องการคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นและอุปกรณ์ในการทดสอบ 5G ซึ่งดีแทคได้คำนึงถึงความสำคัญในการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล ผู้ประกอบการ ชุมชนท้องถิ่น และคู่ค้าในอุตสาหกรรม


595959859