คิดนอกกรอบ กับ "ไอติม" ‘ยอมเหนื่อยเพื่อประชาชน’

20 พ.ย. 2561 | 07:12 น.
ไอติม-1

46035852_2712841312062932_425753150205460480_n (1) ตราบใดที่โลกยุคดิจิตอลต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ โลกของการเมืองย่อมต้องมีนักการเมืองรุ่นใหม่ เข้ามาเติมเต็มนโยบายและกลยุทธ์เจาะใจวัยโจ๋เช่นกัน ปรากฏการณ์รวมตัวของคนหนุ่ม-สาวภายใต้ชื่อ กลุ่ม “นิวเดม (New Dem)” หรือนิวเดโมแครต (ประชาธิปัตย์ใหม่) จึงเฉิดฉายบนเวทีการเมือง ไม่แพ้หลายพรรคที่ต้องการครองใจวัยละอ่อนในสนามเลือกตั้งปีหน้า
46101513_2718356781511385_8489359046476824576_n ปั้นปชป.โชว์โลกโซเชียล

“ไอติม - พริษฐ์ วัชรสินธุ” หนึ่งในสีสันของกลุ่ม “นิวเดม” ที่รู้จักกันดีในฐานะ หลาน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จบสาขาปริญญา Philosophy Political and Economics (PPE) University of Oxford ภาควิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แถมได้รับ Vote ให้เป็น President of the Oxford Union หรือนายกองค์ การนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัย ออกซฟอร์ด ในปี 2013

ทายาทการเมือง “น้ามาร์ค” เปิดใจกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กลุ่มนิวเดมไม่ใช่องค์กรเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาเสียง และไม่ได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพรรคเท่านั้น แต่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อกับคนรุ่นใหม่นอกพรรคการเมือง เป็นคนรุ่นใหม่ที่กล้าจะก้าวออกจากกรอบ

ภารกิจของ “ไอติม” นอก จากจะช่วยเรื่องนโยบายคอร์รัปชัน และผลักดันการเกณฑ์ทหาร ให้เป็นแบบสมัครใจ 100% ซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ถูกสังคมกล่าวขวัญถึงอย่างหลากหลายในขณะนี้แล้ว ยังมีงานสำคัญอื่นๆ อีกหลายอย่างเลยทีเดียว
46180144_2718357118178018_2766091442660048896_n
“อีกเรื่องที่ช่วยเป็นเรื่องเทคโนโลยีในการสื่อสารของพรรค อาทิ การออกแบบเว็บไซต์ การปรับเนื้อหาโดยผ่านโซเชียลมีเดียให้ทันสมัยและเข้าถึงประชาชนง่ายขึ้น สร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ของคนในโลกสมัยใหม่ได้ และช่วยงานสถาบันออกแบบประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่อิงหลักวิชาการ เป็นโครงการที่ต้องการให้ภาคเอกชนและคนรุ่นใหม่ที่มาช่วยงานเว็บไซต์มีช่องทางในการเสนอนโยบายมากขึ้น”

[caption id="attachment_350125" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

46110740_2718356751511388_4807197774464417792_n เพิ่มสิทธิ-ไม่ปิดกั้นเสรีภาพ

ทัศนะทางการเมืองของหนุ่มนักเรียนนอก ที่กำลังจะย่าง 26 ปีในวันรัฐธรรมนูญปีนี้ ให้แง่มุมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้น่าสนใจว่า คนมีสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตตัวเอง ตราบใดที่ไม่ไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ว่าเรื่องสิทธิสมรสของเพศที่สาม หรือเพศทางเลือก เช่น ร่างพ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิต หรือกฎหมายที่เปิดให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนใช้ชีวิตร่วมกัน ยังไม่ให้สิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเท่าที่ควร
“ผมว่าร่างกฎหมายคู่ชีวิต ที่รัฐบาลเสนอมายังไกลไม่พอ เป็นเพียงการสร้างนิยามคำว่าชีวิตแล้วแยกกลุ่มออกไป ความเสมอภาคที่แท้จริงต้องแก้กฎหมายแพ่งที่นิยามคำว่า คู่สมรสที่เป็นอะไรที่เกี่ยวกับผู้ชายและผู้หญิง การสมรสที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับคน จึงจะเป็นความเสมอภาคที่แท้จริง”

46277234_2718357088178021_9053021685296398336_n ในมุมของความหลากหลาย “ไอติม” สะท้อนกรณีศึกษาจากที่ได้เข้าสัมผัสและเรียนรู้การเกณฑ์ทหารด้วยตัวเองในกองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 ให้ปรับมาเป็นระบบสมัครใจ ยกเว้นในช่วงภัยสงครามน่าจะตอบโจทย์ทุกฝ่าย และตรงกับความต้องการของประชาชนและกองทัพ

ส่วนกระแสเพลงแร็พ “ประเทศกูมี” ที่สร้างความฮือฮา และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านี้ “นิวเดโมแครต” แห่งพรรคประชาธิปัตย์ มองว่าเป็นการแสดงออก เป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน
“ถ้ารัฐบาลไม่เห็นด้วย ก็ตอบโต้มา แต่ไม่ควรห้ามให้เขาแสดงความคิดเห็น สมัยก่อนที่ยังไม่มีเทคโนโลยี หรือโซเชียลมีเดีย การแสดงออกของประชาชนจะออกมาในรูปการชุมนุม แต่ต้องยอมรับว่าคนที่มีงานทำหรือที่เรียนอยู่ต้องสละเวลามาร่วม การแสดงความเห็นแบบแร็พ มองว่าอีกมุมหนึ่งมันช่วยคนเหล่านี้ให้แสดงความคิดเห็นได้โดยไม่ต้องสละเวลาไปเดินชุมนุม”

ยอมเหนื่อยเพื่อประชาชน

เมื่อถูกเจาะลึกถึงพื้นที่จะสมัครเลือกตั้ง ดูเหมือน “ไอติม” มีในใจไว้แล้วแต่ขออุบไว้ก่อน บอกเพียงว่า ต้องรอกระบวนการพิจารณาความเหมาะสมจากพรรค แต่ส่วนตัวสนใจลงเขตมากกว่า ปาร์ตี้ลิสต์ อยากที่จะเป็นตัวแทนประชาชนกลุ่มหนึ่ง เป็นเสียงของประชาชนในสภา อีกทั้งส.ส.เขตในสภาเองก็มีหลายบทบาท อาจจะเป็นการนโยบายภาพรวมกรณีเป็นรัฐบาล แต่ถ้าเป็นฝ่ายค้านก็ได้ตรวจสอบ
46100987_2718356721511391_238045354040229888_n
“เรื่องการแข่งขันเป็น เรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย ถ้าผมจะลงการเมืองแต่ผมจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันระบบประชาธิปไตยก็คงไม่ใช่ของผมแล้ว ผมเป็นนักประชาธิปไตย ผมคิดว่าการแข่งขันเป็นอะไรที่อาจจะเหนื่อยสำหรับผม แต่ทำให้ประชาชนได้เลือกหลายๆ คน และมันจะมีหลายๆ ความคิดที่จะผลักดันให้คนได้พัฒนาความคิดให้มันไปไกลให้ได้ ถึงแม้ผมจะเหนื่อยเท่าไร แต่ระบอบประชาธิปไตยที่มีการแข่งขันเยอะแต่ประชาชนจะมีแต่ได้กับได้”

“ไอติม” พูดถึงกลยุทธ์ในการหาเสียงว่า เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้แทนในฐานคนรุ่นใหม่ แต่เป็นผู้แทนคนทุกเพศ ทุกอายุ ทุกศาสนา สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือการได้ลงไปสัมผัสคลุกคลีกับประชาชนทุกคนจะได้รับรู้ปัญหา จะเน้นหาเสียงเชิงนโยบาย เชิงความคิดที่เสนอไป และหาประสบการณ์ ความรู้และมิติของภาพรวมมาผสมผสานให้เกิดขึ้นในภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่

“ในเส้นทางการเมืองจะไปถึงขั้นไหนคนที่ตัดสินคือประชาชน แต่ผมมีความฝันที่อยากจะพัฒนาประเทศให้มีความหลากหลายมากขึ้นและมีความเหลื่อมลํ้าน้อยลง ผมจึงอยากจะสมัครส.ส.ให้ประเทศดีขึ้น ที่สุดในอนาคตจะไปถึงขั้นไหนก็อยู่ที่ประชาชน”

เป็นเสียงอ้อนเล็กๆ ก่อนปิดฉากสนทนากับหลานชายสุดหล่อของ “น้ามาร์ค”

| คอลัมน์ : หน้าใหม่การเมือง
| โดย : ดารารัตน์ มหิกุล
| ภาพ :  พริษฐ์ วัชรสินธุ - ไอติม - Parit Wacharasindhu
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 14 ฉบับที่ 3,419 ประจำวันที่ 18 -21 พฤศจิกายน 2561
595959859