ศูนย์โรคหัวใจ รพ.พัทลุง ขานรับนโยบาย 4.0 บริการสมาร์ท ฮอสปิตอล

18 พ.ย. 2561 | 09:47 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ปลัดกระทรวงสาธารณสุขลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลพัทลุง ชื่นชม ตอบรับ ระบบบริการสมาร์ท ฮอสปิตอล ได้ดีการดำเนินงานศูนย์โรคหัวใจครบวงจร ช่วยลดการเสียชีวิต ลดรอคอย เพิ่มการเข้าถึงการรักษา

82817 นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัตงาน รวมถึงได้ติดตามการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสมาร์ท ฮอสปิตอล (Smart hospital) ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งโรงพยาบาลพัทลุงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การลดใช้กระดาษในแผนกผู้ป่วยนอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบันทึกข้อมูลการรักษา การจัดการระบบคิวนอกจากนี้ยังเป็นโรงพยาบาลนำร่องในการใช้บัตรประชาชนใบเดียวรับบริการ ณ จุดบริการบัตร ทุกชั้น หน้าห้องตรวจ(Smart IDHospital) จนได้รับรางวัลศูนย์ราชการสะดวก (GECC)ประจำปี 2561 และขอชื่นชมการดำเนินงานของศูนย์โรคหัวใจ ที่ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชนพัฒนาให้เป็นศูนย์โรคหัวใจครบวงจร ช่วยให้ประชาชนในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดใกล้เคียง อาทิ จังหวัดตรัง และนครศรีธรรมราชตอนล่าง ให้เข้าถึงบริการตรวจ รักษาโรคหัวใจ ผู้ป่วยได้รับการรักษาใกล้บ้าน ลดระยะเวลารอคอยการรักษา และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง

82787 นายแพทย์นิรันดร์ จันทร์ตระกูลผู้อำนวยการโรงพยาบาลพัทลุง กล่าวว่า ก่อนที่โรงพยาบาลพัทลุงจะเปิดศูนย์โรคหัวใจผู้ป่วยในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และ โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่  ซึ่งต้องประสบกับปัญหาการรอคอย และความแออัดในโรงพยาบาลที่รับส่งต่อเมื่อได้เปิดให้บริการศูนย์โรคหัวใจและพัฒนาเป็นศูนย์ที่ครบวงจรแล้วพบว่าสามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งผู้ป่วยยังได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลดการรอคอย ใกล้บ้านลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และสามารถเข้าถึงบริการได้เป็นไปตามสิทธิ์อย่างเท่าเทียม

ทั้งนี้ ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลพัทลุง เปิดให้บริการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด (PCI) การตรวจและรักษาผ่านเส้นเลือดโดยการใช้สายสวน (Peripheral Intervention) การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ และฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (Pacemaker ,ICD) การตรวจทางสรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study : EP Study) การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจและการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (CABG & Valve replacement surgery) และ Occlusion Device โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ 17 เมษายน 2561 ตลอด 24 ชม. มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้วกว่า 1,500 ราย

595959859