‘เอไอเอส’ เร่งทรานส์ฟอร์ม ฝ่ากระแส 'ดิจิตอล ดิสรัปชัน'

18 พ.ย. 2561 | 04:48 น.
      เป็นเพราะกระแสของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับปัญหา ดิจิตอล ดิสรัปชัน รวมถึงบิ๊กดาต้าที่กลายมาเป็นทรัพยากรที่สำคัญในยุคดิจิตอล ที่จะทำให้วิถีใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป

นั่นจึงเป็นที่มาที่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ได้จัดงานสัมมนาด้านเทคโนโลยีหรือ “AIS Business : The DIGITAL FUTURE 2019” เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนแนวคิดและการปรับตัวขององค์กรธุรกิจในยุคดิจิตอล

คนไทยใช้เน็ตกว่า 57 ล้าน

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรโลกมีอยู่ประมาณ 7.5 พันล้านคน โดยมีการเข้าถึงข้อมูลอินเตอร์เน็ตกว่า 4 พันล้านคน หรือเกินกว่า 50% ที่สำคัญคือมีการเข้าสู่อินเตอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดีย ผ่านโทรศัพท์มือถือมากถึง 5 พันล้านคนหรือประมาณ 68% ขณะที่ในไทยมีประชากร 60-70 ล้านคน โดยสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต 57 ล้านคน และมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เป็นยูนิโมบายถึง 69% หรือราว 48 ล้านคน ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยมีผู้ใช้งานเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงถึงกว่า 90 ล้านเลขหมายหรือคิดเป็น 130% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร

Pic AIS Business 2018--05 มีแพลตฟอร์มที่ดี

วันนี้องค์กรที่จะเป็นผู้นำไม่ใช่การมีระบบบริหารจัดการที่ดีเหมือนในอดีต แต่คือการมีแพลตฟอร์มที่ดี จะเห็นว่ามีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น อย่างเช่น อาลีบาบาที่เป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีห้างของตัวเอง อูเบอร์ผู้ให้บริการแท็กซี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยที่ไม่ต้องมีแท็กซี่ของตัวเอง สิ่งเหล่านี้เกิดจากการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิตอลด้วยการสร้างแพลตฟอร์ม วันนี้เจ้าโลกอย่างอูเบอร์ เฟซบุ๊ก หรืออาลีบาบาอาจ ล้มหายตายจากไปได้ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพราะจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นเอไอ วีอาร์ บล็อกเชน คนที่แข็งแรงที่สุดในวันนี้อาจล้มหายตายจาก เพราะเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน

เรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค

ขณะที่ทางแอปเปิล กูเกิล เฟซบุ๊ก หรือเน็ตฟลิกซ์ ที่วันนี้เป็นบริษัทที่มั่นคง มั่งคั่งและเป็นที่นิยมซึ่งบริษัทเหล่านี้จะคิดอยู่ 2 เรื่องเหมือนกันคือ 1.ทำอย่างไรถึงจะรีเสิร์ฟหรือตอบสนองลูกค้าได้ ในอีก 5- 10 ปีข้างหน้า ถึงแม้วันนี้จะเป็นเจ้าตลาดแต่ก็ไม่อาจหลีกหนีการทำลายล้างจากเทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องคิดว่าจะปรับตัวอย่างไร

Pic AIS Business 2018--17 ประเด็นสุดท้าย คือ ทำอย่างไรที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สามารถดึงคนดีและคนเก่งมาได้ จะเห็นว่าทุกบริษัทมีออฟฟิศสวยงาม มีอาหารที่ดี ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้คนเก่งคนดีอยู่กับองค์กร
เพราะคนที่จะอยู่ได้ไม่ใช่คนที่แข็งแรงที่สุดแต่เป็นคนที่พร้อมกับการปรับตัวเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ปรับองค์กรในยุคดิจิตอล

สำหรับการปรับองค์กรในยุคดิจิตอล ดิสรัปชันนั้นสิ่งที่ เอไอเอส ต้องทำคือ 1. ยกระดับการบริหารจัดการองค์กร ด้วยการปรับกระบวนการทำงานหลักให้เป็นดิจิตอล, ปรับรูปแบบช่องทางการส่งมอบบริการลูกค้าให้เป็นดิจิตอล และคิดค้นและขยายองค์กรสู่รูปแบบบริการหรือธุรกิจใหม่ๆ 2. ยกระดับและให้ความสำคัญกับกระบวนการเพื่อลูกค้าใน 3 ส่วน คือ 1.รู้จักลูกค้าอย่างลึกซึ้งผ่านบิ๊กดาต้า เนื่องจาก วิธีการใช้งานมีความเป็นปัจเจกบุคคลมากขึ้น ดังนั้นเรื่องของบิ๊กดาต้า หรือดาต้าอนาไลติกส์ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรจะต้องทำ 2.การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่แตกต่างอยู่ตลอดเวลา โดยสินค้าและบริการที่เหมือนกันจะต้องมีความแตกต่างกับคู่แข่งด้วยนวัตกรรม ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเสมอไปแต่อาจเป็นเรื่องของกระบวนการ หรือการบริการก็ได้ 3.ในยุคดิจิตอลสิ่งที่สำคัญคือเรื่องของ Speed ที่ต้องทำได้เร็วกว่าคู่แข่ง

รุกสู่ดิจิตอลเซอร์วิส

อย่างไรก็ตาม เอไอเอส ก็ได้มีการเร่งปรับตัวจากโมบาย โอเปอเรเตอร์ สู่การเป็น ดิจิตอลเซอร์วิส โพรไวเดอร์ ซึ่งขณะนี้มีส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Market Share) อยู่ที่ 48% มีลูกค้าที่เชื่อมต่อกว่า 40 ล้านเลขหมาย จากที่เคยเพลี่ยงพลํ้าไปในยุคของ 3G, 4G ด้วยเหตุความล่าช้าจากการประมูลคลื่นความถี่ ขณะที่ฟิกซ์บรอดแบนด์ปัจจุบันมีส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 7% โดยตั้งเป้าใน 3 ปีข้างหน้า จะมุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ของทั้งฟิกซ์บรอดแบนด์และโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อีกทั้งปัจจุบันคนไทยมีการใช้งานดิจิตอลแพลตฟอร์มที่ต้องพึ่งพาต่างประเทศ ทั้งเฟซบุ๊ก ยูทูบ กูเกิล ซึ่งหากมีการเปลี่ยนกติกาเกิดขึ้นรายได้ที่เคยคิดว่าอาจจะหายไปทันที เอไอเอสจึงต้องเร่งสร้างดิจิตอลแพลตฟอร์มเพื่อคนไทย

      และทั้งหมด คือ แผนทรานส์ฟอร์มองค์กรของค่ายมือถือเบอร์ 1 เพื่อฝ่ากระแสดิจิตอลดิสรัปชันที่กำลังคลืบคลานอย่างต่อเนื่อง

รายงาน | หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,419 ระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2561

e-book-1-503x62