'กรุ๊ปลิส' ดันกำไรปีหน้าแตะพันล้าน! รุกตลาดเมียนมา - เข้มปล่อยกู้รายใหม่

15 พ.ย. 2561 | 13:34 น.
'กรุ๊ปลีส' เดินหน้าเต็มสูบ เข็นกำไรปีหน้าแตะ 1,000 ล้านบาท หลังรุกหนักตลาดเมียนมา เป้าสินเชื่อโต 50% ลดต้นทุนดำเนินการ คุม NPL เหลือ 4.2% จากปัจจุบันพุ่งกว่า 5%

นายทัตซึยะ โคโนชิตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL เผยถึงแผนธุรกิจปี 2562 โดยคาดกำไรสุทธิจะแตะ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ 9 เดือนปีนี้ มีกำไรอยู่ที่ 368 ล้านบาท และควบคุมหนี้เสีย หรือ เอ็นพีแอล ให้อยู่ระดับใกล้เคียงปี 2560 ที่สัดส่วน 4.2% จากปัจจุบันยังสูงกว่า 5% ของพอร์ตสินเชื่อรวม 7.6 พันล้านบาท


GL photo

กลยุทธ์ธุรกิจ
โดยการปรับปรุงคุณภาพหนี้ ตั้งสำรอง และตัดหนี้สูญให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปีนี้ พร้อมปรับเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อใหม่ให้เข้มงวดขึ้น และเร่งขยายสินเชื่อที่ประเทศเมียนมา

"ปีนี้บริษัทฯ จะไม่ให้ความสำคัญกับตัวเลขเป้าเติบโต เพราะเราต้องการเน้นจัดกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกประเทศ ทั้งการตัดหนี้สูญและลดพอร์ตในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา รวมถึงการปรับเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อในไทยให้เข้มงวดขึ้น ซึ่งทำให้บริษัทไม่ต้องมีการตั้งสำรองพิเศษ และทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารลดลง เพื่อเตรียมความพร้อมไปรุกเติบโตในปีหน้า"

ตลาดเมียนมา บริษัทตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อปีหน้า เพิ่มเป็น 1,000–1,200 ล้านบาท (34-36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) จากสิ้นปีนี้คาดอยู่ที่ 768 ล้านบาท (24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือเพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาท เติบโต 30-50% จากที่บริษัทฯ เริ่มต้นธุรกิจที่เมียนมาเมื่อเดือน ก.พ. 2560 มีพอร์ตสินเชื่อเพียง 32 ล้านบาท

"การที่พอร์ตสินเชื่อที่เมียนมาเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้รายได้ที่มาจากเมียนมาในปีหน้า คาดจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 15% ของรายได้รวม จากปัจจุบันอยู่ที่ 9% โดยหลักยังเป็นประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ถึง 64% (จากปี 60 ที่ 57%), กัมพูชา 18% (จากเดิมที่ 24%), ลาว 4%, อินโดนีเซีย 3% และสิงคโปร์ 2%"

ทั้งนี้ ตลาดที่เมียนมาจะเป็นตัวหลักขับเคลื่อนธุรกิจในปีหน้า จากการที่บริษัทฯ ได้รับสัญญากับบริษัทฮอนด้าเพิ่มขึ้น 368% ในไตรมาส 3/2561 (เกือบ 5 หมื่นราย) และมีลูกค้าสินเชื่อเพื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 272% ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 1.45 แสนราย เทียบเดือน ก.พ. ปีที่แล้ว ที่มีเพียง 1 หมื่นราย อีกทั้งคุณภาพของลูกหนี้อยู่ในระดับที่ดีมาก หนี้เอ็นพีแอลสำหรับสินเชื่อเพื่อรายย่อยอยู่ที่ 0%

ล่าสุด บริษัทฯ ยังได้เพิ่มไลน์ธุรกิจในเมียนมาผ่าน บริษัท GL-AMMK ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเมียนมาที่ GL ถือหุ้น 100% โดยได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับตัวแทนจำหน่าย (Dealer) ของบริษัท Bajaj (บริษัทผู้ผลิตรถตุ๊กตุ๊กในเมียนมา) เพื่อให้ GL-AMMK ได้รับสิทธิเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินและปล่อยสินเชื่อเพียงผู้เดียวผ่านตัวแทนจำหน่ายของ บริษัท Bajaj เป็นระยะเวลา 5 ปี รวมถึงการที่บริษัทได้ขยายพอรต์สินเชื่อแบบกลุ่ม (Group Loan) โดยมียอดปล่อยสินเชื่อช่วง 9 เดือนปีนี้ อยู่ที่ 34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า 200%

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3/2561 บริษัทฯ มีรายได้ 729.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 แสนบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 หรือเพิ่ม 0.07% และมีกำไรสุทธิ 104.64 ล้านบาท ลดลง 21.34 ล้านบาท หรือลบ 16.94% สาเหตุที่กำไรลดลงเป็นผลจากการปรับลดขนาดของพอร์ตโฟลิโอที่ประเทศไทย และการตัดเป็นหนี้สูญสำหรับตลาดในอินโดนีเซีย 12.51 ล้านบาท

ส่วนความคืบหน้าในการติดตามทวงหนี้จากกลุ่มไซปรัสและสิงคโปร์ นายทัตซึยะ กล่าวว่า ยังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการทางศาล ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการเรียกหลักประกัน ซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์สูงกว่ามูลหนี้ ซึ่งผลสรุปคาดต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง


e-book-1-503x62