“กฤษฎา”เล็งของบครม.กว่า 2 หมื่นล้านรักษาเสถียรภาพราคายาง

14 พ.ย. 2561 | 11:53 น.
เกษตรฯ รับนโยบายรัฐกางแผน 2 มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือชาวสวนยางเล็งของบกลางโปะสมทบทุนกับเงินกองทุนพัฒนายางพารามาตรา 49 (3) กว่า 2 หมื่นล้าน เปิดจุดรับซื้อยางรักษาเสถียรภาพ ไม่จำกัดปริมาณ พ่วงชดเชยรายได้ให้เจ้าของสวน–คนกรีดยาง “เยี่ยม” ยัน ผ่านครม. 20 พ.ย.แล้วซื้อได้ทันที ชาวสวนโวยอยู่ไม่ได้ ตัองรับซื้อยางไม่ต่ำกว่า 40-50 บาท/กก.

619290607
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยผลการหารือแก้ไขปัญหายางพารา ภายหลังจากการประชุมกับ 4 บริษัทใหญ่ ได้แก่ บมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี บจก. วงศ์บัณฑิต บมจ.ไทยฮั้ว ยางพารา และ บจก. เซาท์แลนด์รับเบอร์ นั้นมี 3 มาตรการ สิ่งทีทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แบ่งออกเป็น 2 เรื่องเฉพาะหน้าได้แก่ 1. ดูแลโครงการสร้างความเข้มแข็งให้ชาวสวนยางช่วยเหลือไร่ละ1,500 บาท หรือมากกว่านั้น โดยโครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางผู้มีเอกสารสิทธิ์ที่มาลงทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทยทั้งเจ้าของสวน หรือผู้เช่าและคนกรีดยางในสัดส่วนร้อยละ 60 : 40 จำนวน 1.4 ล้านครัวเรือน กำลังให้ กยท.ไปคำนวณตัวเลขออกมาว่าควรจะเท่าไรดีที่จะเหมาะสมเพื่อชดเชยรายได้ 2 กรณี กล่าวคือ เพิ่มจำนวนไร่หรือเพิ่มจำนวนเงิน
2. ได้มอบหมายให้ กยท.ไปคิดระบบโครงรักษาเสถียรภาพราคายาง ขั้นต่ำ กล่าวคือ น้ำยางสด ราคา 35 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางก้อนถ้วย 37 บาทต่อกิโลกรัม และยางแผ่นรมควัน ราคา 40 บาทต่อกิโลกรัม กล่าวคือ เมื่อเกษตรกรนำยางไปขายสถาบันเกษตรกร ต่ำกว่าราคาที่การยางแห่งประเทศไทย ประกาศไว้จะใช้เงินกองทุนพัฒนายางพาราเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางตามมาตร 49 (3) และงบกลาง รวมกว่า 2 หมื่นล้าน เป็นรายบุคคลจะชดเชยกิโลกรัม 2-3 บาท จะรับซื้อจนกว่าราคายางพาราจะดีขึ้น

S__14704644
3.ทบทวนพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อนการส่งเสริมการใช้ยางในประเทศ ใช้ถนน มีปัญหาเมื่อเทียบราคายางพาราที่ทำถนน กับถนนที่ทำจากยางแอสฟัลท์ ปรากฏว่าถนนที่ทำจากราคายางพารามีราคาสูงกว่า ครึ่งหนึ่ง ส่วนความคงทนถนนจากยางพาราหากเปลี่ยนให้หน่วยงานมาจัดซื้อจัดจ้างใหม่จะผิดหรือไม่ เพราะราคาแพงกว่าหลายหน่วยงานไม่กล้าเสี่ยง จึงจะต้องไปหารือที่กรมบัญชีกลางใหม่
นอกจากนี้จะให้ กยท.ผลิตเครื่องนอนที่ใช้ยางพารา แจกให้กับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน กระทรวงกลาโหม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมราชทัณฑ์ ให้แจ้งภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 จะมอบหมายให้ กยท.ไปติดต่อซื้อน้ำยางสดจากสถาบันเกษตรกรมาทำการผลิตอุปกรณ์การนอน นี่เป็นอีก 1 มาตรการที่จะดูดซับปริมาณยางที่อยู่ในพื้นที่ออกไป เมื่อได้จำนวนปริมาณยางที่แน่นอนแล้ว กยท.จะไปเปิดจุดรับซื้อยางทั่วประเทศ และในระหว่างที่ทางกระทรวงกำลังรอขออนุมัติแผนและงบประมาณทางผู้ประกอบการส่งออกได้รับปากว่าจะไปดูแลและรับซื้อยางไม่ให้ราาคาต่ำกว่า 40 บาทต่อกิโลกรัม

L_f86dc69ahj5ijbfdfff6k
ด้านนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศ เผยว่า จะเป็นการเปิดจุดรับซื้อจากเกษตรกรชาวสวนยางไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสมาชิก จะชดเชยให้กับเกษตรกรโดยตรงในราคาที่ต่ำกว่าราคาประกันในยาง ทั้ง 3 ชนิด โดยจะให้โรงงานเอกชนเข้าไปซื้อแล้ว กยท.จะเป็นหน่วยงานกำกับดูแลโดยจะมีเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัด อำเภอ อยู่ในระดับภูมิภาคสามารถรับซื้อยางได้ทันที่

S__26796038

S__14672176
นายบุญส่ง นับทอง อดีตนายกสมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย เผยว่ารู้สึกผิดหวังเนื่องจากเป็นมาตรการเดิมไม่มีอะไรใหม่เลย ประเมินว่าราคายางคงไม่ปรับสูงขึ้นเพราะราคารับซื้อยางต่ำเกินไปชาวสวนอยู่ไม่ได้ อย่างน้อยราคาน้ำยางสดจะต้องไม่ต่ำกว่า 42 บาท ต่อกิโลกรัม ราคายางแผ่นรมควัน ราคา 47 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น แล้วควรใช้พระราชบัญญัติควบคุมยางฯ ควบคู่กับมาตรการด้วย เชื่อว่าจะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้น
เช่นเดียวกับนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสาวยางแห่งประเทศไทย(สยยท.) กล่าวว่าการรับซื้อยางแผ่นดิบควรจะรับซื้อราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม รับแค่ 20% จากปริมาณยางที่เฉลี่ยออกเดือนละ 4 แสนตัน ใช้เงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน เชื่อว่าราคายางจะปรับเพิ่มขึ้นแน่นอน