ศก.‘อีสาน-ใต้’สดใส‘ลงทุนรัฐ-เอกชน’หนุนไตรมาส4โตต่อเนื่อง

16 พ.ย. 2561 | 02:14 น.
 

ธปท.ชี้แนวโน้มไตรมาส 4 ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อุ้มฐานรากต่อเนื่อง ดันเศรษฐกิจอีสานโต จับตาหนี้ครัวเรือนสูงกดการบริโภคส่วนภาคใต้รายได้เกษตรยังอยู่ระดับตํ่า แถมเจอปัจจัยลบทั้งสงครามระหว่างสหรัฐฯ-จีนและจำนวนนักท่องเที่ยว

จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ระบุว่า เศรษฐกิจไทยปี 2561 จะสามารถขยายตัวต่อเนื่องที่ 4.5% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว 3.9% โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งด้านการบริโภคและการลงทุนที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการจ้างงานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และรายได้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมที่เริ่มขยายตัวดีขึ้นตามปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐยังช่วยสนับสนุนการ
จับจ่ายใช้สอยของประชาชน รวมถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนภาครัฐด้วย

[caption id="attachment_347319" align="aligncenter" width="417"] พรชัย พรชัย ฐีระเวช[/caption]

ทั้งนี้หากมาพิจารณาเศรษฐกิจภูมิภาคไตรมาส 3 เองก็พบว่า ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน นำโดย ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคเหนือ ซึ่งนายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สศค.เปิดเผยว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจภูมิภาค มาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวขึ้น การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี

อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคไตรมาส 4 ในส่วนภาคอีสาน ภาครัฐยังขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและมีมาตรการสนับสนุนกลุ่มฐานรากอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกจะได้แรงสนับสนุนจากการค้าโลกที่แม้จะชะลอลง แต่ยังขยายตัวดีรวมถึงการจ้างงาน โดยที่รายได้ภาคครัวเรือนฟื้นตัวดีขึ้นทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามดู ทั้งมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐฯและการตอบโต้ของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น และบางพื้นที่มีโอกาสประสบปัญหาภัยแล้งและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องกดดันการบริโภค

สำหรับเศรษฐกิจในภาคใต้ ทั้งปัจจัยการลงทุนภาครัฐและการบริโภคเอกชน ยังขยายตัวต่อเนื่อง และนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ นอกจากจีนยังขยายตัวได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงของรายได้เกษตรอยู่ในระดับตํ่าจากด้านราคาเป็นสำคัญและผลของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหรือปัจจัยลบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีน

ทั้งนี้หากดูภาพรวมเศรษฐกิจรายภาคไตรมาส 3 ที่ผ่านมาพบว่า เศรษฐกิจภาคอีสานขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน จากการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากกำลังซื้อ ทั้งรายได้ครัวเรือนภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยรายได้เกษตรกรชะลอตัวจาก 40.6% ในไตรมาส 2 เป็น 18.2% ผลผลิตสินค้าเกษตร 7.1% จากไตรมาส 2 อยู่ที่ 27% และราคาสินค้าเกษตรทรงตัว 10.7% จากไตรมาส 2 อยู่ที่ 10.7% โดยราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ มันสำปะหลังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขยายตัวดี แต่ยางพาราข้าวเปลือกเหนียวและปศุสัตว์โดยรวมราคายังหดตัว

MP24-3418-A

“คาดว่าในระยะต่อไป ราคาจะเพิ่มขึ้นทั้งข้าว มันสำปะหลัง แต่ยางราคาทรงตัวระดับตํ่าจากผลกระทบมาตรการกีดกันทางการค้า นอกจากนี้การสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ เช่น โครงการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รายได้ลูกจ้างนอกภาคเกษตรกรรม เทียบ ช่วง 9 เดือน ปีนี้เพิ่มเป็น 15,619 บาทจากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 15,570 บาท การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว ทั้งหมวดก่อสร้างและหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขยายตัว 2.4%, 25.4% และ6.2% ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนการเร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 2 อยู่ที่ติดลบ 1.2%, 5% และ 17.6% ตามลำดับ”

ขณะที่อสังหาริมทรัพย์โดยรวมมีทิศทางขยายตัว ทั้งยอดจัดสรรที่ดินพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อที่อยู่อาศัยและการเปิดโครงการใหม่ รวมทั้งสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวดี ทั้งสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและเช่าซื้อ ขณะที่การค้าผ่านด่านศุลกากรชะลอตัวต่อเนื่องตามการส่งออกที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนเส้นทางส่งออกของผู้ประกอบการ และผลไม้ที่ลดลง ตามปริมาณผลผลิต เห็นได้จากการส่งออกที่หดตัวในจีนตอนใต้ และเวียดนาม จากผลไม้ ที่ลดลงทั้ง ลำไย ทุเรียน และมังคุด

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

สำหรับเศรษฐกิจภาคเหนือทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยผลผลิตเกษตรยังขยายตัวดี ขณะที่ราคาพืชผลบางชนิดเพิ่มขึ้นทำให้รายได้เกษตรกรขยายตัว โดยการท่องเที่ยวขยายตัวได้ต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวหลายสัญชาติ อย่างไรก็ตามผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะฐานสูงและหมวดชิ้นส่วนอิเล็ก ทรอนิกส์ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนทรงตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากการลงทุนในภาคการผลิต ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐชะลอลงแต่เป็นผลจากฐานสูงในปีก่อน

ส่วนเศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวจากไตรมาส 2ทางผลผลิต เกษตร จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลง การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวตามรายได้เกษตรกร การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว 3% ตามการผลิต ในหลายอุตสาหกรรม ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 19.8% และ2.0% ตามลำดับ ส่วนรายได้เกษตรหดตัว 13.2% จากราคาที่ลดลง 16.5% และผลผลิตที่ชะลอตัว 4.4% จาก 8.9%

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ   ฉบับที่ 3,418 วันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62-7-1-503x62