โคคา-โคลาผสานพลังคนเมืองรุ่นใหม่ สานต่อการขจัดขยะพลาสติกยั่งยืน

17 พ.ย. 2561 | 03:31 น.
 

หลังจากประเทศไทยได้รับความ “ขายหน้า”กับการถูกจัดเป็นประเทศอันดับ 6 ที่มีขยะพลาสติกเยอะที่สุดในโลก การตอบรับเรื่องกำจัดขยะพลาสติก ก็ดูจะกระเตื้องขึ้น โคคา- โคลา ถือ เป็นหนึ่งองค์กรที่พยายามขับเคลื่อน การกำจัดขยะอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะขยะพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของบรรจุภัณฑ์หลัก

“นันทิวัต ธรรมหทัย”ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า ที่ผ่านมาโคคา-โคลา ทำเรื่องอนุรักษ์นํ้า กำจัดขยะมานาน แต่กลับ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ครั้งนี้ โคคา-โคลา จึงเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการใหม่ โดยยึดการทำงานจากพื้นฐานข้อมูลจริง แล้วขยายผลต่อไปเรื่อยๆ

Coca-Cola Mahasamut Trip (6)

กลุ่มโคคา-โคลา ร่วมกับองค์กรกิจการเพื่อสังคม (SE) Gone Adventurin ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ในทวีปเอเชีย ที่สิงคโปร์ ศึกษาข้อมูลว่า แพ็กเกจจิ้ง มีเส้นทางไหนหลังพวกเรากินเสร็จ สิ่งที่พบคือ ขยะเหล่านั้นถูกคัดแยก ทำความสะอาด แล้วนำไปขายต่อ ซึ่งได้ราคาดีมาก และนำไปรีไซเคิลต่อไป

แต่ทั้งหมดไม่ได้ถูกจัดการอย่างถูกวิธี มันยังมีอีกก้อนใหญ่ๆ ที่กลายเป็นขยะปนเปื้อน บางส่วนเดินทางไปสู่หลุมฝังกลบ หรือที่ร้ายสุดคือปนเปื้อนไปกับธรรมชาติ จนไปแหล่งนํ้า ลำคลอง และทะเล

ปีนี้เป็นอีกปีที่ โคคา-โคลา ร่วมกับพันธมิตร ทั้ง “องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” (IUCN) และ “เดอะ คลาวด์” ชวนผู้บริโภค 12 คน ร่วม เดินทาง “มาหาสมุทร ทริปเรียนรู้คุณค่า และวิธีอยู่ร่วมกับทะเลบนเกาะยาวใหญ่ กลางทะเลอันดามัน” เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา

สิ่งที่ผู้ร่วมทริปได้เรียนรู้จากทริปนี้คือ การเรียนรู้การดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ สถานที่ท่องเที่ยวระบบนิเวศป่าบก ป่าชายเลน ป่าหาดทราย และหญ้าทะเล พร้อมเชื่อมโยงสู่ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล

Coca-Cola Mahasamut Trip (11)

ชาวชุมชนบนเกาะยาวใหญ่ ได้รับความรู้และการวางโมเดลด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จาก IUCN ตั้งแต่ปี 2560 จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมี“บังยา-ดุสิทธิ์ ทองเกิด” เป็นหนึ่งในแกนนำการอนุรักษ์ทะเล และเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยวแบบชุมชนอย่างจริงจัง ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชน (Sustainable Tourism)

“สุปราณี กำปงชัน” เจ้าหน้าที่อาวุโส IUCN เล่าว่า ได้เข้ามาทำงานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัญหาที่ต้องเร่งทำ คือ ขยะ และนํ้าเสีย ซึ่งขณะนี้ได้เข้าคุยกับนายกเทศบาลแล้ว รวมทั้งชาวบ้านในชุมชนที่พร้อมแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเต็มที่ โดยขณะนี้คนในชุมชนเกาะยาวใหญ่กว่า 70% แยกขยะอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าไม่มีที่ขาย และยังติดข้อจำกัด เรื่อง การปนเปื้อนของขยะ ปริมาณและการขนส่ง ซึ่ง IUCN และโคคา-โคลา กำลังเข้ามาช่วยให้เกิดการจัดการอย่างเหมาะสม ด้วยการร่วมมือกับชุมชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น โดยสิ่งที่ชุมชนนี้กำลังต้องการอย่างมากคือ “นวัตกรรม” รูปแบบการจัดการที่เหมาะสมในแต่ละชุมชน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเชิงบุคคล ที่พร้อมรับฟัง พร้อมช่วยเหลือ ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการเป็นจริง

จากวิชั่นของ โคคา-โคลา World Without Waste ขณะนี้ทุกอย่างกำลังเดินหน้า ด้วยวิธีการใหม่ ด้วยเป้าหมายการตามเก็บบรรจุภัณฑ์ของโคคา-โคลา และใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลไม่น้อยกว่า 50% ภายในปี 2573 พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ภายในปี 2568 โดยสิ่งที่สำคัญมากๆ ต่อจากนี้ คือ การประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สะอาดปราศจากขยะมูลฝอย ทั้งบนพื้นดินและในทะเล

หน้า 28 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3418 ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2561

595959859