MBK รักษ์น้ำ ชุมชนรักษ์คลอง

16 พ.ย. 2561 | 11:24 น.
ปัญหา “นํ้า” เป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ และลุกขึ้นหาวิธีรณรงค์แก้ไข ล่าสุด ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค ได้ร่วมมือกับ สำนักงานเขตปทุมวัน, กรมควบคุมมลพิษ และ มูลนิธิสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) จัดกิจกรรม “MBK รักษ์นํ้า ชุมชนรักษ์คลอง” เพื่อส่งมอบองค์ความรู้เรื่องการจัดการ นํ้าเสียในครัวเรือนอย่างถูกวิธี ให้แก่ชุมชน ร้านค้า และโรงเรียนในเขตปทุมวัน พร้อมสร้างถังดักคราบไขมันแบบง่ายๆ ต้นทุนไม่สูง เพื่อนำมาใช้งานจริง

16 คณะผู้จัดงาน MBK รักษ์น้ำ ชุมชนรักษ์คลอง ถ่ายภาพพร้อมกับชุม

กรมควบคุมมลพิษ ให้ข้อมูลว่า แหล่งนํ้าที่ไหลผ่านตามเมืองใหญ่ มีชุมชนตั้งอยู่หนาแน่น และมีโรงงานส่วนมากจะเกิดปัญหาเน่าเสีย มีสีดำ และส่งกลิ่นเหม็น แต่ในบางกรณีที่นํ้ามีการปนเปื้อนสารเคมี สีของนํ้าจะไม่แตกต่างจากนํ้าปกติ ดังนั้นจึงอาศัยการสังเกต เพื่อดำเนินการแก้ไข ดังนั้นในกิจกรรม “MBK รักษ์นํ้า ชุมชนรักษ์คลอง” จึงดำเนินการปลูกฝังความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ถูกวิธี กระตุ้นให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการนํ้า รวมทั้งการร่วมกันประกอบถังดักไขมันในครัวเรือนแบบง่ายๆ เนื่องจากคูคลองย่านเขตปทุมวัน มีปัญหาคราบไขมันจากอาหารในครัวเรือน ที่เมื่อปล่อยลงแหล่งนํ้า จะส่งผลกระทบทำให้นํ้าเสีย เนื่องจากคราบไขมันจะมีสภาพเหมือนแผ่นฟิล์มที่ฉาบอยู่เหนือผิวนํ้า ทำให้นํ้ามีออกซิเจนน้อยลง ก่อให้เกิดจุลินทรีย์ ทำให้นํ้าเสีย มีผลทำให้สัตว์นํ้าขาดอากาศหายใจ

“กนกรัตน์ จุฑานนท์” ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) บอกว่า เอ็ม บี เค ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรและจิตอาสา MBK Spirit ส่งต่อความรู้ให้เยาวชน ช่วยป้องกันปัญหานํ้าเสียบริเวณคูคลองในเขตปทุมวัน โดยจัดนิทรรศการความรู้ เกี่ยวกับการจัดการปัญหานํ้าเน่าเสียจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีกิจกรรมพิเศษมาให้ชาวชุมชน และนักเรียนเขตปทุมวัน ได้เรียนรู้ถึงที่มาและวิธีการแก้ปัญหานํ้าเสียในแต่ละภาคส่วน อาทิ การคัดแยกขยะ โดยมูลนิธิสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ), การทดลองวัดระดับคุณภาพนํ้า โดยกรมควบคุมมลพิษ และกระบวนการทำงานของระบบบำบัดนํ้าเสีย โดยศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ เป็นต้น

03นางสาวกนกรัตน์ จุฑานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษั

เวิร์กช็อปของกิจกรรมครั้งนี้ มีการสอนวิธีจัดการนํ้าเสีย และตรวจวัดคุณภาพนํ้าร่วมกับนักเรียนในชุมชน โดยทุกคนในชุมชนต้องคอยสังเกตการณ์ และตรวจสอบคุณภาพนํ้าเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวัน เริ่มจากหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่รอบตัว เช่น นํ้าในคลองเริ่มมีปลาตาย ส่งกลิ่นเหม็น หรือถ้ามีโรงงานมาตั้งอยู่ใกล้ๆ แล้วมีการระบายนํ้าออกมาสู่แหล่งนํ้าชุมชน ควรตั้งข้อสงสัยว่านํ้านั้นจะปนเปื้อนสารเคมีหรือไม่ โดยสามารถใช้ชุดตรวจวัดคุณภาพนํ้าอย่างง่าย เพื่อวัดผลค่าความเป็นกรดด่างและระดับออกซิเจนในนํ้าเบื้องต้นก่อนได้ เพื่อชุมชนจะได้ทราบถึงแนวโน้มการเกิดนํ้าเสียในพื้นที่พักอาศัย  พร้อมร่วมมือกันในทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานํ้าเสียร่วมกัน หรือติดต่อกรมควบคุมมลพิษให้เข้ามาทำการตรวจสอบในพื้นที่โดยละเอียด

การทำบ่อบำบัดนํ้าเสียในชุมชนสำหรับ 500 ครัวเรือน จะต้องใช้งบประมาณเป็นหลักล้านบาท แต่ถ้าทุกบ้านติดถังดักไขมันแบบง่ายทุกหลัง จำนวน 500 ครัวเรือน จะใช้เงินประมาณ 50,000 บาท เท่านั้น สำหรับรูปแบบถังดัก
ไขมัน ที่ฝ่ายกิจกรรมฯ ได้จัดทำขึ้น ทำจากวัสดุราคาหลักร้อยต้นๆ  โดยเริ่มจากการนำถังนํ้า 1 ใบ มาเจาะรูติดข้อต่อเกลียวด้านใน - ด้านนอก บริเวณเลยกึ่งกลางของตัวถังขึ้นมาเล็กน้อย จากนั้นนำข้อต่อ 3 ทางมาต่อกับท่อตรงยาวจนเกือบถึงก้นถัง และติดเข้ากับข้อต่อเกลียวด้านใน

ส่วนด้านนอกให้ต่อข้องอ ลงด้านล่างเพื่อใช้ต่อท่อนํ้าทิ้งเชื่อมสู่ท่อระบายนํ้า ปิดฝาด้านบนถังด้วยตะแกรงพลาสติกกรองเศษอาหารให้เรียบร้อย แล้วนำถังดักไขมันวางไว้ใต้ซิงก์นํ้าเ พื่อรองรับนํ้าจากการล้างคราบอาหารโดยตรง ทุกครั้งที่มีการล้างจานเศษอาหารต่างๆ จะถูกกรองโดยตะแกรงด้านล่าง ส่วนคราบไขมันจากอาหารเมื่อไหลลงถังจะลอยเหนือนํ้าตามธรรมชาติ ปากท่อตรงที่อยู่ตํ่าที่สุดจะช่วยดูดนํ้าที่ปราศจากคราบไขมันระบายออกมาทางปากท่อนํ้าทิ้งด้านนอกในรูปแบบของกาลักนํ้า โดยคราบไขมันและเศษอาหารที่กรองออกมาได้นั้น สามารถนำไปเทใส่หลุมดินรอบๆ บ้าน แล้วฝังกลบด้วยเศษใบไม้แห้งและดิน เพื่อกระตุ้นกระบวนการย่อยสลายให้เศษอาหารกลายสภาพเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติที่ไม่ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน และไม่สร้างมลพิษลงสู่แหล่งนํ้า

สำหรับ เอ็ม บี เค บอกว่า ใน 1 วันศูนย์การค้า มีปริมาณนํ้าเสียประมาณ 2,500 คิว จากผู้เข้ามาใช้บริการและผู้ประกอบการภายในศูนย์ กว่า 70,000 คนต่อวัน โดยเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จัดการนํ้าเสียด้วยระบบบำบัดคุณภาพตามมาตรฐาน ด้วยการลำเลียงนํ้าเสียที่มาจากห้องนํ้า ศูนย์อาหาร การจัดกิจกรรมต่างๆ ทั่วศูนย์การค้า นำส่งลงใน
บ่อบำบัดปรับปรุงคุณภาพนํ้าให้อยู่ในมาตรฐานที่ปลอดภัย ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยการนำมารดนํ้าต้นไม้ และล้างทำความสะอาดพื้นถนนรอบๆ ศูนย์การค้า ทั้งหมด

หน้า 26-27 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3418 ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว