ฉนวนกันความร้อนจากหญ้าคา

05 มี.ค. 2559 | 12:00 น.
จากภาวะวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ กับภูมิอากาศที่แปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวหิมะตก เดี๋ยวพายุถล่ม เหตุเพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเราถูกทำลายไป แต่ประเทศไทยก็ยังถือว่ายังโชคดี เพราะยังเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศแรกๆ ของโลก ที่ยังมีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ แต่ความอุดมสมบูรณ์นี้คงจะอยู่ไปได้ไม่นาน ถ้าไม่ช่วยกันปกปักรักษา ปรับปรุงให้ธรรมชาติเหล่านั้นอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน

[caption id="attachment_35362" align="aligncenter" width="500"] ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10 ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10[/caption]

"อุดมลักษณ์ โอฬาร" ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บอกว่า บ้านปูฯ เข้าใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องนี้จึงจัดทำโครงการ "ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10" ขึ้น โดยร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกความใส่ใจสิ่งแวดล้อม เรียนรู้ "ความหลากหลายทางชีวภาพ กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน" (Biodiversity for Environmental Development and Sustainability)" ซึ่งปีนี้ มีโครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ โครงงาน "หญ้าคาพาร่มเย็น" ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพมหานคร

[caption id="attachment_35361" align="aligncenter" width="500"] ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10 ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10[/caption]

แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดโครงงานนี้ "น้องกีกี้-ธิรดา นิลพนาพรรณ" ในฐานะตัวแทนโครงงานกลุ่มที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเล่าว่า เกิดจากความรู้ด้านภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทย เป็นประเทศในภูมิอากาศร้อน หากจะทำให้ที่อยู่อาศัยของเราเย็นขึ้น อยู่สบายขึ้น ทุกบ้านจำเป็นต้องมีฉนวนกันความร้อน เธอและเพื่อนๆ จึงร่วมกันศึกษาถึงความหลากหลายทางชีวภาพ และพบว่า "หญ้าคา" ซึ่งเป็นวัชพืชที่มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดี และหาพบได้ทั่วไปตามที่รกร้าง สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดร่วมกับวัสดุที่หาง่ายในภูมิภาคนี้ และมีราคาถูกอย่างยางพารา กรดน้ำส้มยาง และสารสกัดสีเกล็ดมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่เหลือจากการบริโภค

[caption id="attachment_35356" align="aligncenter" width="500"] ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10 ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10[/caption]

วัสดุเหล่านั้น มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี เมื่อนำมาพัฒนาร่วมกัน จะทำให้เพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ได้ พวกเธอจึงช่วยกันสร้างสรรค์เป็นชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อน ที่สามารถใช้ทดแทนใยแก้วที่ใช้กันอยู่ได้ ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

[caption id="attachment_35358" align="aligncenter" width="500"] ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10 ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10[/caption]

"อุดมลักษณ์" บอกว่า ความโดดเด่นที่ทำให้โครงงานของเด็กๆ เหล่านี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ การรู้จักนำวัสดุเหลือใช้ และวัสดุที่มีราคาถูก มาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมๆ กับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งผู้ชนะเลิศนอกจากจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทแล้ว ยังได้รับโอกาสเดินทางไปทัศนศึกษาที่ประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย เพื่อเป็นการต่อยอดประสบการณ์การเรียนรู้ของเยาวชนไทยให้กว้างขึ้น

[caption id="attachment_35363" align="aligncenter" width="500"] ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10 ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10[/caption]

"โครงงานวิทยาศาสตร์ "หญ้าคาพาร่มเย็น" ซึ่งมีแนวคิดในการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติจากหญ้าคาและยางพาราเป็นฉนวนกันความร้อนแทนใยแก้ว โดยใช้เกล็ดมุกที่ได้จากเปลือกหอยแมลงภู่มาเคลือบเพื่อสะท้อนความร้อน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยโครงงานดังกล่าวมีความโดดเด่นในการประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพมาช่วยแก้ปัญหาให้กับประเทศในเชิงอนุรักษ์ ด้วยการหยิบยกประเด็นด้านภูมิอากาศของประเทศมาเป็นโจทย์ และนำวัชพืชและสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นขยะมาใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างฉลาด"

[caption id="attachment_35360" align="aligncenter" width="500"] ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10 ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10[/caption]

"ค่ายเพาเวอร์กรีน" ของบริษัท บ้านปูฯ เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 สายวิทยาศาสตร์ รวม 70 คนจากทั่วประเทศ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการ "เรียนรู้สู่การปฏิบัติ" โดยมีกิจกรรมการเดินป่า และสำรวจความหลากหลายของพืชและสัตว์จากภูเขาถึงทะเล ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ และศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี ที่ผ่านมา ค่ายเพาเวอร์กรีนได้สร้างเครือข่ายเยาวชนที่ใส่ใจด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมไปแล้วกว่า 700 คน ทั่วประเทศ

[caption id="attachment_35359" align="aligncenter" width="500"] ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10 ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10[/caption]

บ้านปูฯ มีโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่เหมืองบารินโตและเหมืองอินโดมินโค ภายใต้การดูแลของ บริษัท PT.Indo Tambangraya Megah (ITM) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบ้านปูฯ ในประเทศอินโดนีเซีย มีการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ ตั้งแต่การเริ่มทำแผนการทำเหมือง เพื่อนำข้อมูลมาใช้วางแผนการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ระหว่างและหลังการทำเหมือง และสร้างสมดุลในการดำเนินธุรกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป

[caption id="attachment_35357" align="aligncenter" width="500"] ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10 ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 10[/caption]

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,136 วันที่ 3 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2559