LPHดันลูกเข้าตลาด

12 พ.ย. 2561 | 02:43 น.
 

เปิดพื้นที่พาณิชย์รับรถไฟฟ้า-ทุ่ม 300 ล้านสร้างตึกใหม่

LPH เล็งปรับพื้นที่ 2,000 ตารางเมตรใช้เชิงพาณิชย์ สร้างอาคารจอดรถ 500 คัน รองรับรถไฟฟ้า ควักงบลงทุน 300 ล้านบาทสร้างอาคารรองรับบริการประกันสังคมโดยตั้งเป้ารวม 2.6 แสนคน ปี 2563 เล็งดันบริษัทย่อย “AMARC” เข้าตลาดเอ็มเอไอ

ดร.อังกูร ฉันทนาวานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) หรือ LPH  กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงผลการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้ว่าเป็นไปตามเป้าหมายเติบโตประมาณ 10% โดยรายได้ของบริษัทมาจากการรับประกันสังคม 45% และคนไข้ทั่วไป 55% โดยภาพรวมใกล้เคียงกับปีที่แล้ว

[caption id="attachment_345112" align="aligncenter" width="335"] ดร.อังกูร ฉันทนาวานิช ดร.อังกูร ฉันทนาวานิช[/caption]

ในปี 2562 บริษัทมีแผนปรับโครงสร้างบริษัทย่อยที่ถือหุ้นอยู่ 97.14% คือ บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเชีย จำกัด (AMARC) ประกอบธุรกิจให้บริการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบ และวิจัยด้านอาหาร ผลิตผลการเกษตร และยา มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โดย LPH จะขายอาคารในซอยลาดพร้าว 122 เป็นอาคาร 5 ชั้น 5-6 คูหา ให้ทาง AMARC หลังจากนั้นจะนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอในปี 2563

ดร.อังกูร กล่าวว่าในปัจจุบันโรงพยาบาลลาดพร้าวใช้อาคาร 1 ในการให้บริการคนไข้ประกันสังคม ในปี 2562 จะขอโควตาประกันสังคมเพิ่มอีก 25,000 คน และในปี 2563 อีก 25,000 คน จากปัจจุบันโรงพยาบาลรับเต็มโควตาที่ 160,000 คน

LPH มีแผนลงทุน 300 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคาร 4 ขนาด 50 เตียง ที่ลาดพร้าวซอย 93/1 เพื่อรองรับคนไข้ประกันสังคมโดยเฉพาะ ในปี 2564 ที่อาคารสร้างเสร็จจะขอโควตาเพิ่มอีก 50,000 คน รวมเป็น 2.6 แสนคน นอกจากนี้จะลงทุนอีก 100 ล้านบาท สร้างอาคารจอดรถอัจฉริยะเพื่อรองรับรถได้
500 คัน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 6 เดือน

ดร.อังกูรกล่าวว่าการก่อสร้างอาคาร 4 และอาคารจอดรถ เพื่อรองรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่จะก่อสร้างเสร็จในปี 2564 โดยจะทำทางเชื่อมสถานีเข้าสู่อาคาร 1 และปรับพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร เปิดให้เช่าใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์ อาทิ ศูนย์รักษาพยาบาล ทันตกรรม ความงาม ธุรกิจฟิตเนส สปา รวมถึงร้านขายยา และสมุนไพร

นอกจากนี้ โรงพยาบาล ขยายศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์จากเดิม 5 ศูนย์ เป็น 10 ศูนย์ ศูนย์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ศูนย์สุขภาพสตรี, ศูนย์สุขภาพเด็ก, ศูนย์ตรวจสุขภาพ, ศูนย์ทันต-กรรม และศูนย์หัวใจ เป็นการลงทุนขยายพื้นที่บริการ ซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ใช้เงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท mp17-3417-a

การก่อสร้างโรงพยาบาลลาดพร้าวที่ลำลูกกาคลอง 6 เดิมวางแผนจะก่อสร้างเป็นโรงพยาบาลขนาด 180 เตียง และศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ตอนนี้ก็อาจจะปรับเปลี่ยนให้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง เช่น ศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรองรับชุมชน

มุมมองต่อการเติบโตในอนาคต ดร.อังกูร กล่าวว่า ในอนาคตโรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องขยายตัวโดยการเพิ่มจำนวนเตียงมากๆ เหมือนที่ผ่านมา อย่างใน 3-5 ปี โรงพยาบาลในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะเพิ่มขึ้นอีก 8-9 โรงพยาบาล ถ้าเป็นโรงพยาบาลลักษณะเดียวกันก็ทำให้ Over Supply ได้

“เรามองไปที่การขยายโรงพยาบาลในลักษณะการให้บริการตรวจสุขภาพ การประกันสุขภาพ รองรับการขยายตัวของ EEC อย่างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องตรวจสุขภาพพนักงานทุกปี ต้องมีการตรวจด้านอาชีวอนามัย มีห้องพยาบาล มีแพทย์ เราจะเปิดโรงพยาบาลตรวจสุขภาพ เพื่อรับงานด้านนี้” ลาดพร้าว

ดร.อังกูร กล่าวว่าปัจจุบันได้เจรจาความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่ให้บริการด้านนี้อยู่ในทำเลใกล้ๆนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางและตะวันออก และเป็นไปได้ว่าโรงพยาบาลลาดพร้าวลำลูกกาก็สามารถให้บริการตรวจสุขภาพเพื่อรองรับลูกค้าโรงงานในทำเลย่านนั้นในอนาคต

เป้าหมายรายได้ของ LPH ในปี 2562 จะเติบโต 10-15% ในปี 2563 จะเติบโต 15-20% ในปี 2564 จะเติบโต 20-25%

ผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 2561 มีรายได้รวม 797 ล้านบาท 11.80% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้รวม 713 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.82%

โดยมีรายได้การรักษาพยาบาลประมาณ 672.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมา คิดเป็น 8.29% มาจากรายได้จากผู้ป่วยชำระเงิน 393 ล้านบาท รายได้จากประกันสังคม 279 ล้านบาท

หน้า 17-18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,417 วันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2561 e-book-1-503x62