ประมูล "ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ" ส่อเค้าไม่รวมพื้นที่ "เทอร์มินัล 2"

09 พ.ย. 2561 | 08:32 น.
ทอท. คาดนำร่างทีโออาร์ประกวดราคา "ดิวตี้ฟรี" สนามบินสุวรรณภูมิ เข้าบอร์ดช่วงเดือน ธ.ค. นี้ หรือ ม.ค. ปีหน้า ชี้! มีแนวโน้มจะไม่นำพื้นที่เทอร์มินัล 2 มาประมูล โดยจะเปิดประกวดราคาเฉพาะพื้นที่เดิมที่ "คิง เพาเวอร์" หมดสัญญากับพื้นที่อาคารแซทเทิลไลท์ เหตุหวั่นฉุดกระบวนการ ทั้งมีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้รูปแบบสัมปทานรายใหญ่รายเดียว



589196379

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เผยว่า ทอท. คาดว่าจะนำเสนอหลักเกณฑ์การประกวดราคา (ทีโออาร์) ร้านค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาได้ในช่วงเดือน ธ.ค. 2561 หรือในเดือน ม.ค. 2562 โดยพื้นที่ที่จะเปิดประมูลจะรวมพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 (พื้นที่เดิม) และพื้นที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (อาคารแซทเทิลไลท์) ส่วนจะรวมพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (เทอร์มินัล 2) หรือไม่ ขณะนี้มีน้ำหนักมากที่จะไม่รอรวมพื้นที่ส่วนนี้

เนื่องจากยังติดปัญหาต้องรอคำตอบจากอัยการ หลังมีข้อพิพาทงานออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ซึ่งหากมีความชัดเจนจากอัยการในเดือน พ.ย. นี้ ก็ยังต้องรอเจรจากับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เรื่องการใช้พื้นที่ภายในเทอร์มินัล 2 ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะใช้เวลานานเท่าไร จึงเกรงว่า หากนำพื้นที่มารวมกันจะยิ่งทำให้การประมูล ต้องล่าช้าออกไป และอาจไม่ทันที่ผู้ประกอบการใหม่ที่ชนะการประมูลจะเข้าใช้พื้นที่ขายดิวตี้ฟรีและรีเทลได้ทันก่อน "คิง เพาเวอร์" จะหมดสัญญาในวันที่ 27 ก.ย. 2563


117

ในส่วนของพื้นที่ดิวตี้ฟรีภายในท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งจะหมดสัญญาพร้อมกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น ทอท. จะต้องกลับไปพิจารณาก่อนว่าจะนำมารวมกันแล้วและปิดประมูลในคราวเดียวกันกับที่สนามบินสุวรรณภูมิหรือไม่ ซึ่งเบื้องต้น พื้นที่ของท่าอากาศยานเชียงใหม่และท่าอากาศยานหาดใหญ่มีไม่มาก อาจจะรวมกันประมูล แต่ยังต้องขอดูพื้นที่ในท่าอากาศยานภูเก็ตก่อน หากมีพื้นที่ใหญ่พอก็จะแยกสัญญาออกมาประมูลต่างหากจากพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หากไม่ใหญ่มาก ก็มีแนวโน้มจะเปิดประมูลในสัญญาเดียวกัน ซึ่งผลจะเป็นอย่างไร ก็จะเสนอบอร์ด ทอท. พิจารณาไปพร้อมกัน

"ร่างทีโออาร์คาดว่าจะสรุปในเดือน ธ.ค. นี้ หรือ ม.ค. 2562 โดยขณะนี้ก็เริ่มเขียนทีโออาร์ เราให้น้ำหนักมากที่จะไม่รอรวมเทอร์มินัล 2 โดยเราจะทำเป็นสัญญาส่วนรีเทลและบริหารสต๊อกสินค้า ส่วนจะรวมการประมูลพื้นที่พร้อมกับสนามบินอื่นอีก 3 แห่งหรือไม่ ขอดูอีกที ยังไม่เห็นตัวเลข"

ทั้งนี้ พื้นที่ดิวตี้ฟรีในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง รวมกันมีสัดส่วน 95% ของพื้นที่รวม 6 ท่าอากาศยาน


171

นายนิตินัย ยังกล่าวว่า การไม่นำพื้นที่ภายในเทอร์มินัล 2 มารวมกับพื้นที่เดิมที่จะหมดสัญญาและพื้นที่ในอาคารแซทเทิลไลท์ ก็ทำให้การกำหนดเงื่อนไขราคาไม่เหมือนเดิม รวมทั้งทิศทางการเคลื่อนตัวของผู้โดยสารภายในอาคารด้วย แต่หากเปิดพื้นที่มาก จะทำให้ราคาพื้นที่ต่อตารางเมตรก็จะลดลง หากพื้นที่น้อยราคาต่อตารางเมตรก็จะได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่า หากไม่รวมพื้นที่เทอร์มินัล 2 ราคาประมูลก็ไม่น่าจะต่ำ และ ทอท. ก็ยึดตัวเลขที่ผู้เสนอราคาให้อัตราผลตอบแทนสูงสุดแก่ ทอท. ซึ่งในการเสนอซองราคาจะมีการให้ผลตอบแทนขั้นต่ำ (มินิมัม การันตรี) อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในการบิดดิ้งก็จะมี Minimum การันตี เพราะต้องการเซฟกับ ทอท. เพราะกรณีเขาขายไม่ดี ทอท. ไม่เกี่ยว แต่ก็ภาวนาว่าอย่าไม่ดีมากจนถึงพัง อย่าง ในกรณีของ "คิง เพาเวอร์" ในอดีต ปีที่ 7 ค่อยพ้น "Minimum การันตี" มาหลายเปอร์เซ็นต์ พอช่วงเขาอ่อนแอ คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ได้รายได้น้อย เราไม่รับผิดชอบ พอแข็งแรง พอมีรายได้มาก ก็ขอเป็น % หรือ จากส่วนแบ่งรายได้ ดังนั้น ส่วนตัวการประมูล ก็คือ คนที่ใส่ซองให้ "Minimum การันตี" สูงสุดเป็นผู้ชนะ

ส่วนรูปแบบในการเปิดประมูล เบื้องต้น มองว่าหากซอยแยกสัญญามากเกินไป แยกตามหมวดสินค้า จะทำให้การบริหารจัดการยุ่งยากเกินไป โดยปัจจุบัน ทอท. เข้ามาจัดการตามประเภทของธุรกิจอยู่แล้ว เช่น งานโฆษณา งานบริหารจัดการเล้าจน์ภายในสนามบิน ลีมูซีน ขายของ ซึ่งในส่วนนี้รวมอยู่ในดิวตี้ฟรี ซึ่งมีทั้งพื้นที่ร้านค้าปลีก (Retail) ที่แยกแบ่งเช่าทำเป็นร้านอาหารภายในสนามบินและส่วนบริหารสต๊อกสินค้า ซึ่งรวมจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ น้ำหอม กระเป๋า เป็นต้น


e-book-1-503x62