มะกันเข้มคว่ำบาตรอิหร่าน ฝ่าฝืนเจอโทษปรับหนัก

10 พ.ย. 2561 | 09:08 น.
สหรัฐฯเตรียมใช้บทลงโทษ “ขั้นรุนแรง” กับบริษัทนานาชาติที่ฝ่าฝืนมาตรการควํ่าบาตรทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯนำมาใช้กับอิหร่านโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกันก็อนุโลมให้ 8 ประเทศ นำเข้านํ้ามันดิบจากอิหร่านได้เป็นการชั่วคราว

นายไมเคิล ปอมปีโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเมื่อต้นสัปดาห์นี้ยํ้าว่าสหรัฐฯเอาจริงกับการควํ่าบาตรอิหร่านซึ่งหากบริษัทใดก็ตามยังคงติดต่อทำธุรกิจกับอิหร่านโดยฝ่าฝืนมาตรการควํ่าบาตรของสหรัฐฯ เขาบอกได้เลยว่า นั่นคือการตัดสินใจทางธุรกิจที่จะนำมาซึ่งความเจ็บปวดเสียยิ่งกว่าการถอนธุรกิจทั้งยวงออกจากอิหร่านเสียอีก การแถลงข่าวของนายปอมปีโอที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯได้ประกาศควํ่าบาตร 700 บุคคลและนิติบุคคล ซึ่งครอบคลุมหลากอุตสาหกรรมตั้งแต่ธนาคารพาณิชย์ ไปจนถึงบริษัทเดินเรือและอากาศยาน ที่เข้าไปติดต่อทำธุรกิจกับบริษัทหรือรัฐบาลอิหร่าน

[caption id="attachment_345539" align="aligncenter" width="503"] ไมเคิล ปอมปีโอ ไมเคิล ปอมปีโอ[/caption]

สหรัฐฯคาดหมายว่า ความพยายามกดดันเพื่อให้อิหร่านยุติการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์และการให้ความสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงในต่างประเทศ ทำให้อิหร่านสูญเสียรายได้จากการขายนํ้ามันดิบไปแล้ว 2,500 ล้านดอลลาร์นับจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาหลังจากที่สหรัฐฯถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 ที่อิหร่านลงนามไว้กับประเทศมหาอำนาจในโลกตะวันตก ซึ่งนับตั้งแต่ช่วงเวลานั้นสหรัฐฯได้ให้เวลา 180 วันแก่รัฐบาลและเอกชนของนานาประเทศทั่วโลกในการยุติการนำเข้านํ้ามันดิบจากอิหร่าน ไม่เช่นนั้นก็จะต้องพบกับบทลงโทษจากสหรัฐฯ

การกดดันอิหร่านในครั้งนี้จะมีผลกระทบอย่างมากในเชิงเศรษฐกิจเพราะการส่งออกนํ้ามันดิบเป็นช่องทางสร้างรายได้เข้าประเทศอิหร่านถึง 80% ค่าเงินของอิหร่านลดวูบลงแล้ว 70% แต่คาดว่าทางออกของอิหร่านคือการอาศัยช่องโหว่ของการตรวจสอบ เรือบรรทุกนํ้ามันหลายลำของอิหร่านปิดระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการติดตามเส้นทางเดินเรือแล้ว และประเทศในยุโรปก็หันมาใช้ระบบการค้าแบบต่างตอบแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เงินสกุลดอลลาร์ในการค้าขายกับอิหร่าน ส่วน 8 ประเทศที่ได้รับ การยกเว้นให้สามารถนำเข้านํ้ามันจากอิหร่านเป็นการชั่ว คราวนั้นได้แก่ จีน อินเดีย อิตาลี กรีซ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และตุรกี ซึ่งต่างมีเงื่อนไขว่าจะลดและเลิกการนำเข้านํ้ามันดิบจากอิหร่านในที่สุด

Iran

ที่ผ่านมา สหรัฐฯเคยตั้งโทษปรับหนักบริษัทที่ฝ่าฝืนคำสั่งควํ่าบาตรของสหรัฐฯ เช่นในปี 2014 ธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ของฝรั่งเศสต้องทำข้อตกลงยอมจ่ายค่าปรับถึง 8,900 ล้านดอลลาร์เนื่องจากฝ่าฝืนมติควํ่าบาตรที่สหรัฐฯมีต่อซูดาน คิวบา และอิหร่าน เช่นเดียวกับธนาคารคอมเมิร์ซ แบงก์ เอจี ของเยอรมนีที่ต้องยอมจ่าย 1,450 ล้านดอลลาร์ให้กับการฝ่าฝืนโอนเงินผ่านระบบธนาคารให้กับซูดานและอิหร่าน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,417 ระหว่างวันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว

090861-1927-9-335x503-8-335x503