'แอร์บัส' รุกนำเสนอเครื่องบินทางทหาร-ผลิตภัณฑ์ด้านอวกาศรุ่นใหม่แก่ไทย

01 พ.ย. 2561 | 14:05 น.
'แอร์บัส' ตอบสนองความต้องการทางด้านการป้องกัน อวกาศ และความมั่นคงของประเทศไทย ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันสมัย รุกโปรโมทผ่านงานสัมมนา "ดีเฟนซ์ เดย์" ที่จะจัดขึ้นให้แก่ลูกค้าและพันธมิตรของบริษัทฯ

นายโยฮัน เปอริซซิเย่ร์ ผู้อำนวยการ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ ได้กล่าวในงานสนทนากลุ่มย่อยกับสื่อมวลชน ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันกับงาน "ดีเฟนซ์ เดย์" ว่า ปัจจุบันกองทัพบกของไทยได้ปฏิบัติการด้วยเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางของบริษัทอย่าง ซี295 ส่วนความร่วมมือที่มีกับประเทศไทยในด้านอวกาศนั้น เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2547 เมื่อแอร์บัสได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดหาดาวเทียมสำรวจโลก ธีออส-1

 

[caption id="attachment_341101" align="aligncenter" width="335"] โยฮัน เปอริซซิเย่ร์ ผู้อำนวยการ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ โยฮัน เปอริซซิเย่ร์ ผู้อำนวยการ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ[/caption]

"ประเทศไทยเป็นลูกค้ารายที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับแอร์บัส ซึ่งเครื่องบิน ซี295 ช่วยยกระดับฝูงบินลำเลียงของกองทัพบกให้ทันสมัย และรองรับภารกิจทั้งทางทหารและภารกิจเพื่อมนุษยธรรมที่หลากหลาย" เขากล่าวเสริมว่า "ดาวเทียมที่แอร์บัสได้ส่งมอบในปี 2551 นั้น ได้สนับสนุนภารกิจต่าง ๆ เช่น ทางด้านเกษตรกรรมและการตรวจดูชายฝั่ง รวมไปถึงการทำป่าไม้และการจัดการความเสี่ยงของอุทกภัย และยังคงให้ภาพถ่ายคุณภาพสูงไปได้อีกกว่า 4 ปี นับจากเวลาที่คาดว่าจะหมดอายุการใช้งาน"

ในเดือน มิ.ย. 2561 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (จิสด้า) ได้เลือกให้แอร์บัสเป็นพันธมิตรในส่วนของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ยุคใหม่ของประเทศไทย โดยแอร์บัสจะได้จัดหาดาวเทียมสำรวจโลกสองดวง ประกอบด้วย ดาวเทียมที่มีภาพความละเอียดสูงมากหนึ่งดวง และระบบดาวเทียมขนาดเล็กอีกหนึ่งดวง โดยโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถจะครอบคลุมถึงการประกอบและทดสอบระบบดาวเทียมขนาดเล็ก และการพัฒนาระบบบูรณการภูมิสารสนเทศและภาคพื้นในประเทศ


492695

"เรามีความยินดีที่ได้รับเกียรติจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (จิสด้า) ที่ให้ความเชื่อมั่นในตัวเราอย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบที่ครบวงจรนั้นทำให้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถใช้ประโยชน์จากภูมิสารสนเทศเพื่อประโยชน์สาธารณะได้อย่างสมบูรณ์"
นายโยฮัน เปอริซซิเย่ร์ กล่าว "สัญญาดังกล่าวจะทำให้เราส่งมอบเทคโนโลยีให้กับประเทศไทย ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของคนไทย โดยผู้ประกอบการในพื้นที่จะมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน และเป็นโครงการที่สนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และช่วยการพัฒนาด้านการอวกาศในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และที่ดิจิทัลพาร์ค (Digital Park)"

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจด้านการป้องกันมากว่า 10 ปี ทำให้ แอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ มีประวัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการสำหรับภารกิจที่ท้าทายต่าง ๆ มากมาย โดยรวมถึงเครื่องบินลำเลียงยุทธวิธีอย่าง เอ400เอ็ม และซี295 เครื่องบินบรรทุกน้ำมันเอนกประสงค์ เอ330เอ็มอาร์ทีที และเครื่องบินรบยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น


492696

สำหรับลูกค้ารายอื่น ๆ ในเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลียและสิงคโปร์ ซึ่งปฏิบัติการด้วย เอ330เอ็มอาร์ทีที และเกาหลีใต้ ที่จะได้รับมอบเครื่องบินลำแรกในปี 2561 นี้ ส่วนมาเลเซียเป็นลูกค้ารายแรกนอกยุโรปสำหรับเครื่องบินลำเลียง เอ400เอ็ม โดยมีเครื่องบินประจำการอยู่ถึง 4 ลำ และปัจจุบัน นอกเหนือไปจากประเทศไทย เครื่องบินลำเลียง ซี295 ยังประจำการเพื่อปฏิบัติการอยู่ในบังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

"ผมอยากจะเน้นย้ำถึงความยั่งยืนของ ซี295 เพื่อใช้ในภารกิจการตรวจการณ์ทางทะเล โดยเครื่องบินรุ่นนี้จะมอบประโยชน์และความสามารถที่ดีที่สุดในบรรดาเครื่องบินประเภทเดียวกัน และเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับประเทศในเอเชีย ที่ต้องการตรวจการณ์ชายฝั่งที่มีพื้นที่กว้างและให้ความมั่นคงแก่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของตน" นายโยฮัน เปอริชซิเย่ร์ กล่าว

"เครื่องบินยุคใหม่อย่าง เอ400เอ็ม ยังเหมาะสมสำหรับประเทศที่ปฏิบัติการด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบเดิม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการออกแบบเมื่อ 50 ปีที่แล้ว โดย เอ400เอ็ม นั้น สามารถบินได้ไกลเป็น 2 เท่า หรือบรรทุกได้มากเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับเครื่องบินคู่แข่ง โดยได้รับการพิสูจน์แล้วถึงความคุ้มค่าในภารกิจเพื่อมนุษยธรรมในเอเชีย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดที่เมืองปาลู ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเอ400เอ็ม ได้ขนส่งสิ่งของช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์ไปมากกว่าเครื่องบินรุ่นอื่น ๆ รวมไปถึงการบรรทุกสิ่งของที่มีขนาดใหญ่พิเศษ เช่น เครื่องขุดเจาะ ซึ่งสามารถส่งมอบไปยังจุดที่มีความต้องการได้"


595959859