ผนึกปริมณฑล จัด "ผังไร้รอยต่อ"

30 ต.ค. 2561 | 12:18 น.
'กรุงเทพมหานคร' ศูนย์กลางการบริหาร การท่องเที่ยว เหตุนี้ประชากรจึงหลั่งไหลเข้าสู่เมืองแห่งนี้ค่อนข้างมาก ทั้งประชากรแฝงและที่อยู่อาศัยรวมกว่า 10 ล้านคน หากนับรวมประชากรในปริมณฑล 6 จังหวัดข้างเคียงด้วย จะมีประชากรมากถึง 20 ล้านคน มาก 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ และเทียบเท่ากับมหานครใหญ่ ๆ ของโลก เช่น นิวยอร์ก โตเกียว ที่ต่างมีผังเมืองมหานคร

นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวปาฐกถา ภายใต้หัวข้อ "ผังเมืองกรุงเทพฯ-ปริมณฑลไร้รอยต่อชี้ทิศทางการพัฒนาเมือง" โดยประเด็นหลักจากปริมาณประชากรที่เกิดขึ้นทั้งขึ้นทะเบียนและประชากรแฝง ส่งผลให้เกิดความคับคั่ง และกระจายการพัฒนาออกไปยังปริมณฑล ทางออกจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อรองรับ โดยเฉพาะการออกแบบผังเมือง ที่ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่กำลังเชื่อมต่อกัน ทั้งใน กทม.-ปริมณฑล เพื่อให้ประชาชนรับประโยชน์สูงสุด โดยรัฐจะเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนทั้งสายหลักและสายรองเข้าด้วยกัน และมีความก้าวหน้าไปตามลำดับ เพื่อให้ทัดเทียมประเทศทั่วโลกที่ต่างมองประเด็นนี้ไปในทิศทางเดียวกัน

 

[caption id="attachment_340248" align="aligncenter" width="340"] ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[/caption]

"จากจำนวนคนที่เข้าพื้นที่ จะบริหารจัดการอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้มีการพูดถึงผังเมือง กทม. กับปริมณฑลที่ต้องเชื่อมโยงกัน โดยมีตัวอย่างจากมหานครใหญ่ทั่วโลก ตัวอย่าง นิวยอร์ก ผังเมืองมีการนำเมืองย่อย ๆ มารวมกันวางผังเป็นเนื้อเดียว กำหนดการชี้นำพัฒนาเมือง ระหว่างเมืองหลักและเมืองรอง โดยกำหนดทิศทางของเมืองอย่างเป็นรูปธรรม เราก็มีแผนเช่นกัน"

แต่ในทางกลับบ้าน ได้ตั้งคำถามว่า ข้อเท็จจริงเราเป็นอย่างนี้จริงหรือไม่ คำตอบ คือ แต่การจัดการบริหารยังไม่เป็นแบบที่ต้องการ ปัจจุบัน ยังแยกกันอย่างสิ้นเชิง กทม. นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ผังเมืองยังไม่ จะศึกษาจัดทำผังเมืองแบบไร้รอยต่อระหว่าง กทม. และปริมณฑล เข้าด้วยกัน มาตั้งแต่ปี 2560 โจทย์ คือ จะทำอย่างไรให้ไม่เกิดรอยต่อ

เพราะเป็นเรื่องหนึ่งของการบังคับใช้ข้อกำหนดที่ต่างกัน ข้อกำหนดไม่เข้มเหมือน กทม. โดย กทม. กำหนดความเข้มหนาแน่นในการกำหนดตั้งแต่เขตชั้นใน ที่พัฒนาความหนาแน่นอย่างเต็มที่ที่ลดหลั่นไปเขตชั้นนอก ลดหลั่นค่าเขตเอฟเออาร์ โอเอสอาร์ แต่ความต่อเนื่อง กทม.-ปริมณฑล ยังขาดความต่อเนื่อง กทม. มีความเข้มข้น โดยใช้ค่าของเอฟเออาร์ (FAR) สัดส่วนพื้นที่ก่อสร้างต่อพื้นที่ดิน และโอเอสอาร์ (OSR) สัดส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่ดินรอยต่อของเมืองยังมีปัญหา เช่น รอยต่อเมืองผังซีกสมุทรสาคร เมืองกระทุ่มแบน ที่หมดอายุยังไม่ปรับแก้ผังเมืองตัวใหม่ ขณะรถไฟฟ้าตามแผนรัฐบาลที่เกิดขึ้นและมีการก่อสร้าง 8 สายหลัก 4 สายรอง จากแผนเดิมและเพิ่มสายรองอีกหนึ่งเส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีทอง ให้ล้อไปกับความเจริญที่เปลี่ยนแปลงในย่านนั้น ๆ ทำให้การพัฒนากระจายออกสู่พื้นที่รอยต่อระหว่างเมืองหลวงและจังหวัดในปริมณฑล และนี่คือ สิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องทำร่วมกัน


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,413 วันที่ 28 - 31 ต.ค. 2561 หน้า 02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"ทวีศักดิ์"ยันผังเมืองใหม่ต้องตอบโจทย์โตทั้งกทม.-ปริมณฑลแบบไร้รอยต่อ
"อาคม"สักขีพยานพิธีลงนามร่วมมือด้านวิชาการแก้ปัญหาจราจรกทม.-ปริมณฑล


เพิ่มเพื่อน
595959859