รพ.บำรุงราษฎร์ นำระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เสริมศักยภาพ-ลดโลกร้อน

30 ต.ค. 2561 | 04:42 น.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เปิดใช้ ระบบ InterSystems TrakCare ยกระดับความพึงพอใจผู้ป่วย ความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุดกว่า 18 เดือน กับการพลิกโฉมระบบดิจิตอล สู่การเป็นหนึ่งในผู้นำโรงพยาบาลเอกชนที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางแบบครบวงจร

25_018-2

InterSystems ผู้นำด้านเทคโนโลยีข้อมูลสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดใช้งาน InterSystems TrakCare® ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record / EMR) นวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ในการบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยแบบครบวงจร เพื่อรองรับการให้บริการด้านการแพทย์ระดับโลก พร้อมตอบโจทย์ในการดูแลผู้ป่วยที่ดียิ่งขึ้น ทั้งด้านความพึงพอใจของผู้ป่วย ความปลอดภัยของผู้ป่วย และการจัดการต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด


oken_stone-121

นายเคนนี่ ลิม ผู้อำนวยการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ทำการติดตั้งระบบ TrakCare ทั่วทั้งโรงพยาบาลแล้ว โดยระบบนี้จะช่วยบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยและเชื่อมผสานระบบทางการแพทย์ทั้งหมดเอาไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยสนับสนุนการบริบาลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกแผนก ไม่ว่าจะเป็น ห้องฉุกเฉิน การคลอดบุตร การผ่าตัด รังสีวิทยา ห้องปฏิบัติการทางคลินิก และเภสัชกรรม ซึ่งจะส่งมอบประสบการณ์ด้านบวกสู่ผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

หลังจากปรับเปลี่ยนระบบ โรงพยาบาลได้รับคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยสูงถึง 95% นอกจากนั้น การใช้งานนวัตกรรม TrakCare ยังทำให้โรงพยาบาลสามารถลดการใช้กระดาษลงอย่างมาก รวมไปถึงการใช้ระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นก็ช่วยลดเวลาในการเดินทางสำหรับผู้ป่วยอีกด้วย


11_206

การจัดการงานแบบที่ไม่ต้องใช้เอกสารกระดาษและระบบการรายงานอัตโนมัติ จะช่วยให้การรักษาผู้ป่วยมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในเวลาที่น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค หรือ การตรวจสุขภาพ เป็นต้น รวมไปถึงการได้รับประโยชน์เบื้องต้นอื่น ๆ ทั้งการปรับปรุงที่นำไปสู่ความปลอดภัยของผู้ป่วยและประสิทธิภาพขององค์กรที่มากขึ้น

การใช้ TrakCare หรือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยแบบนี้ จะช่วยให้กระบวนการการรักษาพยาบาลของคณะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยสนับสนุนข้อมูลให้แก่ทีมแพทย์และพยาบาลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างทีมดูแลผู้ป่วยและแผนกต่าง ๆ อีกด้วย


บาร์ไลน์ฐาน

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกของ TrakCare สามารถแจ้งเตือนด้านความปลอดภัยบนความเสี่ยงระดับต่าง ๆ รวมถึงการเกิดอันตรกิริยา (Interaction) ระหว่างยา การซ้ำซ้อนในการรักษา และคำสั่งซ้ำ นอกจากนี้ ยังผนวกเข้ากับเครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพผู้ป่วย และใช้ในการจัดการยาแบบ Closed-Loop ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดข้อผิดพลาดและเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย

นอกจากนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ยังเป็นโรงพยาบาลอันดับแรก ๆ ที่ได้เริ่มใช้งาน TrakCare Lab Enterprise ระบบการจัดการธุรกิจห้องปฏิบัติ การคลินิก และโมดูลแบบครบวงจร ภายในระบบ TrakCare ซึ่งทำให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้เพิ่มศักยภาพกระบวนการห้องปฏิบัติการทางคลินิกมากยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกัน InterSystems HealthShare® ยังช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับระบบ Non-TrakCare ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลอีกด้วย


16_201-2

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตั้งเป้าว่า การพัฒนาในครั้งนี้จะมีผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพในการรักษาพยาบาลในอนาคต ด้วยข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดที่ถูกบันทึกในฐานข้อมูลเดียว ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างต่อเนื่อง

นายเคนนี่ กล่าวเสริมว่า โรงพยาบาลมุ่งพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลลัพธ์ทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพด้วยระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะได้เห็นเกือบทุกเครื่องมือทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลกลายเป็นดิจิตอล ความท้าทายของเรา คือ การทำให้เครื่องมือเหล่านั้น รวมเข้ากับระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมด และบริหารจัดการด้วยโซลูชันแบบองค์รวม

ด้าน นายเคอร์รี สตราตตัน กรรมการผู้จัดการ InterSystems ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในชุมชนลูกค้าของ TrakCare จาก 25 ประเทศ ซึ่งได้รับประโยชน์จากแนวทางปฏิ บัติที่ดีที่สุดในโลกที่ผนวกอยู่ในผลิตภัณฑ์และโครงสร้างของภูมิภาคที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแต่ละท้องถิ่น

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรอิสระทางด้านสาธารณสุขระดับสากลที่เข้ามาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ อาทิ มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล The Joint Commission International (JCI) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลแห่ งแรกในภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI นี้ และยังได้ผ่านการรับรอง Reaccredited มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน, มาตรฐานห้องปฏิบัติ การทางการแพทย์ระดับสากล จาก the College of American Pathologists (CAP), มาตรฐานที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านการติดเชื้อ DNV-GL’S MANAGING INFECTION RISK (MIR) STANDARD หรือแม้กระทั่งรายการ CNN Inside man ที่เผยแพร่เรื่องราวด้านการแพทย์ให้กับผู้ชมทั่วโลก นอกจากนี้ ในปี 2561 ทางโรงพยาบาล ยังได้รับรางวัลความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ 15 รางวัล จากองค์กรระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพมาตรฐาน ตลอดจนการบริบาลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการรักษาพยาบาลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

595959859