อินไซด์สนามข่าว : เทียบนายกฯ 3 ยุค จาก ‘มาร์ค-ปู’ มาถึง #ตู่ดิจิทัล

28 ต.ค. 2561 | 11:48 น.
 

เทียบ-1 6666 #ตู่ดิจิทัล เวิร์ดดิ้งเปิดตัวแฟนเพจ กลายเป็นแฮชแท็ก ห้อยติ่งท้ายเกือบทุกโพสต์บนโลกโซเชียลมีเดีย ทั้งจาก เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ที่ชื่อว่า “ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ให้แฟนคลับและไม่ใช่แฟนคลับ ได้ติดตามข่าวสารจากนายกฯลุงตู่ ได้อย่างง่ายดาย นับวันก็มีคนกดติดตามมากขึ้นเรื่อยๆ สมกับที่โพสต์ถี่ยิบรายวันในอิริยาบถที่หาดูได้ที่นี่ที่เดียว!!

แต่จะว่าไปแล้วกลยุทธ์การเปิดหน้าเปิดตา เปิดวิถีชีวิตในมุมที่สื่อมวลชนไม่สามารถเข้าถึงได้ ของผู้ดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ของไทยในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ ไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ คนแรกที่เลือกใช้ช่องทางนี้

ย้อนไปก่อนหน้านี้ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” และ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก็ใช้โซเชียลมีเดีย ในการสื่อสารกับสังคมโลกออนไลน์ในขณะที่นั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
Tp14-3267-d อภิสิทธิ์ ถือเป็นนายกฯคนแรกที่พึ่งโซเชียลมีเดียอย่างฟูลออฟชัน ใช้มาตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งปี 2551 จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังใช้อยู่บ้าง แต่น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงเป็นนายกรัฐมนตรี

ทีมงานโซเชียลมีเดียของนายกรัฐมนตรี ที่มีอีกหัวโขนคือหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะนั้นถือว่าเป็นทีมงานขนาดใหญ่ มีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็นผู้รับผิดชอบ จำนวนทีมงานมากกว่า พล.อ. ประยุทธ์ แน่นอน เพราะใช้ทีมงานพิเศษที่ว่าจ้างเข้ามาทำภารกิจนี้
610x มีทั้งช่างภาพประจำตัว ทีมโซเชียลที่ดูแลทั้งการถ่ายทอดสด อัพเดตทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และ ยูทูบ ทำให้ทุกการเดินทางในทุกภารกิจ มีทีมงานเกาะติด เพื่อบันทึกภาพนำเสนอสู่โซเชียล ในมุมที่สื่อมวลชนไม่สามารถเข้าถึง

ส่วน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็คล้ายกับ อภิสิทธิ์ ที่สังคมรู้จักในโลกโซเชียลมาตั้งแต่เริ่มเล่นการเมือง ในฐานะผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย จนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ความต่างอยู่ที่เมื่อเทียบจำนวนทีมงานกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้วถือว่าน้อยกว่าอย่างมาก

[caption id="attachment_338754" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

เพราะเป็นเพียงการใช้ทีมงานรอบตัวให้คุ้มค่าที่สุด จึงมีเพียงเลขานุการส่วนตัวที่รู้จักกันดี คือ “คุณสุ” และ “สารวัตรหนุ่ย” นายตำรวจหัวหน้าทีมรักษาความปลอดภัยเท่านั้น ที่จะหยิบมือถือขึ้นมาคอยถ่ายรูป และทำหน้าที่เป็นแอดมินเพจ คอยโพสต์ข้อความลงในโซเชียล ทั้งในขณะปฏิบัติภารกิจและนอกภารกิจ ในยามที่ต้องการสื่อสารกับสังคม และบ่อยครั้งก็กลายเป็นพื้นที่ชี้แจงและตอบโต้หากมีกระแสข่าวโจมตี

สำหรับ #ตู่ดิจิทัล ของ พล.อ.ประยุทธ์ นั้นต้องบอกกันตรงๆ ว่าเป็นไอเดียของ บี-พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ที่เข้าไปเสนอไอเดียกับตัวของ พล.อ.ประยุทธ์ โดยตรง หลังถูกแต่งตั้งให้เข้ามาเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เพราะมองเห็นจุดอ่อนบางอย่างในการสื่อสารกับสังคมออนไลน์

[caption id="attachment_339052" align="aligncenter" width="503"] พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์[/caption]

รูปแบบทีมงานจะคล้ายๆ กับโมเดลของยิ่งลักษณ์ คือใช้ทีมงานรอบตัวให้คุ้มค่าที่สุด คือให้ผู้ติดตามทำหน้าที่ถ่ายรูปในมุมพิเศษแบบ Exclusive หาดูที่ไหนไม่ได้ ที่จะเน้นภาพการทำงานเป็นหลักมากกว่าการเป็นช่องทางในการตอบโต้ทางการเมือง

เพราะผมได้ยินมาว่า จุดยืนและนโยบายของเจ้าของแฟนเพจ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา” คือไม่อยากให้เป็นพื้นที่เพิ่มและสร้างความขัดแย้งทางการเมือง ที่มันจะสวนทางกับแนวทางสร้างความปรองดองของ คสช. นั่นเอง

|คอลัมน์ : อินไซด์สนามข่าว
|โดย : จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง
|Twitter : @jeerapong_pra
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3412 หน้า 14 ระหว่างวันที่ 25-27 ต.ค.2561
595959859