อินไซด์สนามข่าว : ตีทะเบียนสัตว์เลี้ยง สนช.คิด-กรมปศุสัตว์ทำ

25 ต.ค. 2561 | 11:30 น.
 

สัตว์เลี้ยง-1 เกือบไปแล้ว!! กับมติครม. 10 ตุลาคม 2561 ที่อนุมัติหลักการ “ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ...” ซึ่งเสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมของ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณฯ พ.ศ. 2557 เพื่ออุดช่องโหว่บางอย่างของกฎหมายเดิม

แต่สิ่งที่เพิ่มเติมและถูกถล่มยับ คือ บัญชีแนบท้ายที่ให้อำนาจองค์กรส่วนท้องถิ่นเรียกเก็บค่าขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงรวม 450 บาทต่อปี แบ่งเป็น ค่าคําร้องขอขึ้นทะเบียน 50 บาท ค่าสมุดประจําตัวสัตว์ 100 บาท และค่าเครื่องหมายประจําตัวสัตว์อีก 300 บาท ซํ้ายังระบุโทษด้วยว่า หากมีบุคคลใดฝ่าฝืนจะมีระวางโทษปรับไม่เกิน 25,000 บาท !!

ผมจึงไปค้นหา ย้อนดูเส้นทางของกฎหมายฉบับนี้ พบว่านี่ไม่ใช่กฎหมายที่จู่ๆ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ จะคิดเองเออเองทำกฎหมายฉบับนี้เสนอครม.
5hfa8c9j97h5g7a7gbeai1 เพราะต้นทางของเรื่องมาจาก “คณะกรรมการติดตามกลไก และพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” ที่มีนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เป็นประธานคณะอนุกรรมการติดตามกลไกการปกป้องคุ้มครองสัตว์ เขาได้จัดทำ “รายงานการพิจารณาศึกษา ร่างพระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... (การขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง)” เสนอเข้ามาที่รัฐบาลให้พิจารณาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 แล้วรัฐบาลจึงส่งต่อไปยังกระทรวงเกษตรฯให้พิจารณาดำเนินการ หนึ่งในนั้นคือการแก้ไขพ.ร.บ.

แต่ก็มีอีก 4 ประเด็นหลักที่เสนอมาด้วย คือ 1. กำหนดให้กรมปศุสัตว์ โดยรมว.เกษตรและสหกรณ์ดำเนินการออกประกาศมาตรฐานกลางสำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการแจ้งรายการการขึ้นทะเบียน โดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละท้องที่ สร้างระบบฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงระหว่างเจ้าของสัตว์กับสัตว์เลี้ยงได้
090861-1927-9-335x503-8-335x503-9 เพิ่มเพื่อน

2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง โดยสามารถกำหนดเรื่องประเภท ชนิด จำนวน เครื่องหมายประจำตัวสัตว์ และมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงได้ 3. ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของสัตว์ที่ต้องนำสัตว์เลี้ยงไปขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงตามข้อบัญญัติท้องถิ่นที่กำหนด อีกทั้งกำหนดบทลงโทษไว้สำหรับการฝ่าฝืนข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าว

นอกจากนั้นเขายังทำวิจัย การทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์เลี้ยง : สุนัขและแมว โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา(www.senate.go.th) และเปิดเวทีเมื่อวันพุธที่ 28 มีนาคม 2561 ที่ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 213-216 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2
24061370 - sad dog and cat lying on a pillow under a blanket  isolated on white และไม่ปรากฏว่าร่างกฎหมายต้นทางจากสนช. ไม่มีการเขียนถึงค่าใช้จ่าย 450 บาท ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องจ่าย รวมทั้งสนช.เสนอโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หากเจ้าของสัตว์เลี้ยงฝ่าฝืน ซึ่งต่างจากร่างพ.ร.บ.ที่ ผ่านครม.ถึง 5 เท่า ซึ่งก็น่าตั้งคำถามค่าใช้จ่ายและค่าปรับที่สูงขึ้นถูกคิด คำนวณมาได้อย่างไร

แต่เรียกได้ว่า เป็นอีกครั้งที่รัฐบาล ตั้งแต่โฆษกรัฐบาลยันรมว.เกษตรฯ ดาหน้าออกมาชี้แจงแตะเบรกให้มีการทบทวนได้ทัน เพราะประเมินกระแสออกว่าจะเป็นอย่างไร หากไม่รีบชี้แจงแล้วขืนปล่อยร่างกฎหมายเข้าสนช.ไปท่ามกลางเสียงวิจารณ์มากมายขนาดนี้

ซึ่งรัฐบาลเองเคยมีประสบการณ์แล้ว กับกรณีห้ามนั่งท้ายรถกระบะ รู้ว่าไม่ได้ส่งผลดีกับรัฐบาลแน่ โดยเฉพาะในยามที่ใกล้จะเลือกตั้งแบบนี้

|คอลัมน์ : อินไซด์สนามข่าว
|โดย : จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง
|Twitter : @jeerapong_pra
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 14 ฉบับ 3410 ระหว่างวันที่ 18 - 20 ต.ค. 2561
595959859