รัฐเตรียมประกาศไทยสู่เมืองแห่งการเดิน

24 ต.ค. 2561 | 05:57 น.
จากเวทีงานสัมมนาผังเมืองใหม่เมกะโปรเจ็กต์: พลิกโฉมกทม."ที่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจจัดขึ้นในวันนี้ (24 ต.ค.61) ช่วงหัวข้อเสวนาพิเศษ เรื่อง "ผังเมืองเปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ อย่างไร" ต้องสร้างสมดุลย์ 3 ส่วน หลักวิชาการ นโยบายรัฐและความต้องการประชาชน ชี้ผังกทม.ขึ้นชั้น สู่การพัฒนา เตรียมประกาศกรุงเทพฯก้าวสู่เมืองแห่งการเดิน ผังเมืองใหม่ ก้าวอีกขั้นสู่แผนการพัฒนา เชื่อมโยงเติมแผนระบบขนส่งรองฟีดเดอร์ในผังเมือง ป้อนโครงข่ายหลัก

lan4

นายอนวัช สุวรรณเดช รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า อำนาจหน้าที่ของผังเมือง ที่ทำมาตั้งแต่ปี 2535 กระบวนการพิจารณาผังเมือง ต้องมีความสมดุลย์ใน 3 เรื่อง คือ 1.สมดุลย์ทางด้านหลักวิชาการที่จะต้องมีทั้งทฤษฎีความรู้เรื่องผังเมือง ข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจ และคาดการณ์ทิศทางแนวโน้มในอนาคต เศรษฐกิจในการขยายตัวภูมิสังคมและประชากร

2.นโยบายรัฐบาล ต้องการให้เมืองมีบทบาทสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หรือ ยุทธศาสตร์ชาติ 3. ประชาชน ที่ต้องฟังความคิดเห็น เพื่อนำความคิดเห็นมาปรับใช้ในขั้นตอนสุดท้าย

" ข้อเสนอแนะ ตอนนี้เราผ่านช่วงของการทำผัง เราต้องทำให้เกิดความเชื่อมโยงการพัฒนา ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้กำลังเข้าสู่การพัฒนา ซึ่งทำให้ กทม.ต่างจากเมืองอื่นๆ ส่วนประเด็นเรื่องเอสเออาร์ ยังไม่ค่อยได้ผลเท่าไร เพราะมีคนใช้ข้อกำหนดนี้ไม่เต็มที่"

lan2

ด้านนายแสนยากร อุ่นมีศรี รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวว่า ผังเมืองใหม่ ต้องตอบ 4 โจทย์ คือ ระบบรางที่มีการวางแผนและลงทุนไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ผังเมืองต้องปรับตาม การปรับสีจากความหนาแน่น 2. ผังเมืองเดิม มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ไม่ครบถ้วน 3. มาตรการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (PUD)เป็นตัวหนึ่งที่มาตรการใหม่ๆ น่าสนใจ สามารถใช้พื้นที่ปรับให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น สามารถดีไซน์อาคารก่อสร้างให้เหมาะกับพื้นที่ คิดได้อิสระมากขึ้น 4. การให้ทำพื้นที่สาธารณะ ควรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีศักยภาพมากที่สุด

นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย กล่าวว่า ได้เสนอ 2 เรื่อง คือ แนวคิดการผังเมืองขณะนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการสร้างประโยชน์ที่ดิน กรณีของสิงคโปร์ ผ่านขั้นตอนการพัฒนา เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างการใช้ประโยชน์ของที่ดิน ให้มีผลต่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ต้องไม่เปิดช่องให้ใครสร้างประโยชน์เฉพาะกับคนใดคนหนึ่ง โดยเสนอให้ใช้มาตรการภาษี ในการใช้ประโยชน์ในการพัฒนา

lan1

รัฐบาลต้องตั้งเป้าว่า ในพื้นที่หนึ่งๆ ต้องการสร้างพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ หรือสร้างฐานภาษีให้รัฐเท่าไร เช่น พื้นที่ย่านสยามสแควร์ ต้องการกำหนดเป้าหมายภาษี 1 แสนล้าน หลังจากนั้นให้ผังเมืองกำหนดสัดส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่ ต้องมีพื้นที่พาณิชยกรรมเท่าไร เกษตรกรรมเท่าไร แล้วจึงกำหนดออกมาเป็นเงื่อนไขของการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือผังเมือง นวัตกรรมนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนโฉมให้รัฐสามารถวางแผนและคาดการณ์ได้

ทีโอดี จะสำเร็จได้ต้องเชื่อมต่อและเข้าถึง ซึ่งขณะนี้เราเข้าสู่การพัฒนาผังเมืองแล้ว ในระยะ 3-4 เดือน จะมีการประกาศใช้แผนพัฒนาผังเมือง ให้เป็น เมืองแห่งการเดินเพื่อสุขภาพ และประหยัดพลังงาน เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ซึ่งตอนนี้มีการลดใช้รถยนต์ เพราะตอนนี้สามารถสร้างระบบโครงข่ายขนส่งมวลชนได้ครอบคลุมและเข้าถึงเพียงพอแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การลดทริปการเดินทางโดยรถยนต์ลง ซึ่งอนาคตประเทศไทยอาจจะซื้อรถยนต์ได้ แต่จดทะเบียนไม่ได้ เพราะโครงข่ายการขนส่งมวลชนครอบคลุมและเข้าถึงหมดแล้ว

ในกรณีของกทม. ได้มีการวางโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนและรถไฟฟ้า ไว้ครอบคลุมแล้ว จากนี้ต่อไป จะต้องกำหนดระบบขนส่งมวลชนรองประกาศไว้ในผังเมือง เพื่อให้เข้าถึงและเชื่อมโยงการเดินทางของประชาชนมากขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น

lan

lan3

595959859