บุกเกษตรฯ ชงสอบจัดสรรโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้านส่อเอื้อ!

24 ต.ค. 2561 | 04:33 น.
S__17137696

นายศรีสุวรรณ จรรยา อุปนายกและเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ปฏิบัติหน้าที่นายกสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนทั่วประเทศ ตั้งแต่อนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนเด็ก 7.45 ล้านคน โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ประโยชน์โดยตรงจะตกอยู่กับเด็กนักเรียน ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมจะตกอยู่กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ที่ได้รับสัดส่วนแบ่งเป็น ค่าน้ำนมดิบประมาณ 7-8 พันล้านบาท นอกจากนั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านการผลิต ค่าขนส่ง และยังสร้างงานให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น บริษัทรับจ้างขนส่งผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น

"โครงการดังกล่าวใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีของประชาชนจำนวนมาก และการดำเนินการมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของนักเรียน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ การดำเนินการของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ มิลค์บอร์ด จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โปร่งใส และตรวจสอบได้ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งทางสมาคมตั้งข้อสงสัยการจัดสรรโควตานมโรงเรียนส่อเอื้อประโยชน์ให้รายใดรายหนึ่งหรือไม่ เพราะมีผู้ประกอบการบางรายที่มีประวัติฝ่าฝืนประกาศของมิลค์บอร์ด ทำให้ต้องโดนปรับลดสิทธิ์ลงมา แต่กลับพิจารณาให้สิทธิ์เท่าเดิมหรือเพิ่มมากขึ้น เป็นการบ่งชี้ไม่โปร่งใส่ อาจจะมีผลกระทบไปถึงเด็กนักเรียนที่อาจได้บริโภคนมที่ไม่มีคุณภาพตามไปด้วย"


กังขา 'นม' ตกมาตรฐานกลับได้เพิ่ม



S__12713987

อาทิ สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปภัมภ์) โดนปรับลดสิทธิ์ 25% ในภาคเรียนที่ 1/2561 แต่ในภาคเรียนที่ 2/2561 ได้รับจัดสรรสิทธิการจัดสรรนมมากถึง 77.5 ตัน/วัน จากเดิมในภาคเรียนที่ 1/2561 ได้รับการจัดสรรสิทธิเพียง 68.631 ตัน/วัน เช่นเดียวกับ สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด ได้รับสิทธิการจัดสรรนมมากถึง 73.051 ตัน/วัน จากเดิมเพียง 59.541 ตัน/วัน กรณีดังกล่าวนี้ คณะอนุกรรมการฯ ใช้หลักเกณฑ์ใดมาเพิ่มปริมาณการจำหน่ายให้มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะถ้าผลิตไม่ได้คุณภาพ ปัญหาเด็กจะท้องเสียหรือไม่ โครงการดังกล่าวแทนที่จะเป็นประโยชน์จะกลายเป็นโทษ เพราะรัฐบาลเป็นผู้กระทำ!!


รายใหม่ได้โควตาแซงรายเก่า



93720

ส่วนในกรณีการจัดสรรสิทธิให้กับรายใหม่ให้สิทธิเต็มตามจำนวน ทั้งที่ไม่มีประวัติเลย อาทิ หจก.ทุ่งสงแดรี่พลัส 915 ได้รับการจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนได้ทันที 3 ตัน/วัน บริษัทส่งเสริมผลิตภัณฑ์นม จำกัด ได้รับการจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนได้ทันทีถึง 10 ตันต่อวัน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น จำนวน 6.628 ตันต่อวัน และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี จำนวน 4.281 ตันต่อวัน ในกลุ่มนี้หากจะอ้างว่าเพราะผู้ประกอบการดังกล่าวได้ยื่นความประสงค์ขอจำหน่ายนมโรงเรียน ทำไมถึงให้สิทธิตามจำนวนที่ยื่น แต่เหตุใดมีผู้ประกอบการอีกจำนวนมากที่ได้ยื่นความประสงค์ในการจัดสรรสิทธิในปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่ได้รับการจัดสรรสิทธิให้เพิ่มขึ้นเท่าจำนวนที่ยื่นขอสองมาตรฐานหรือไม่

อาทิ สหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บจก.กาฬสินธุ์แดรีฟู๊ดส์, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์, บจก.พิษณุโลกโกลด์มิลค์, บจก.ภูมอมิลค์, บจก.วารินมิลค์, บจก.อีสานใต้แดรี่, บจก.ทุ่งกุลาแดรี่ฟู๊ดส์, บจก.ธวัชฟาร์มระยอง และ บจก.เซาท์เทิร์นแดรี จำกัด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ขอให้ทางมิลค์บอร์ดแจ้งให้สมาคม 15 วัน ทราบผลด้วย


090861-1927-9-335x503-8-335x503

ส่ง สตง. สอบเส้นทางจ่ายเงิน



นพดล1-335x503

ด้าน นายนพดล เจริญกิตติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน กล่าวว่า ต้องให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาดูการจ่ายเงินของหน่วยซื้อ แต่ชัดเจนเรื่องการจัดสรรสิทธิแลกเปลี่ยนกับการให้สิทธิส่งนมโรงเรียนให้กับผู้มีอิทธิพลบงการการจัดสรรสิทธิ์ เพราะปริมาณสิทธิที่เพิ่มให้ โดยไม่ทำตามกฎเกณฑ์ส่วนใหญ่เข้าทางโรงงานที่จ่ายค่าจัดส่งให้กับผู้มีอำนาจสั่งการการจัดสรรสิทธิ ซึ่งให้นอมินีส่งต่ออีกที เป็นค่าจ้างทุก ๆ 1 ตัน ที่เพิ่มผู้มีอำนาจจะได้ประมาณ 5-200 บาท เป็นค่ารับจ้างส่งนม แล้วนอมินีคนที่ขับรถไปส่งจริง จะได้ประมาณ 1,200-1,500 บาท

ส่วนกรณีอนุญาตให้ใช้บรรจุภัณฑ์ฟูออไรด์มาติดสติ๊กเกอร์ใช้บรรจุนมรสจืดธรรมดา พอรับได้ แต่กลัวโรงงานเอานมฟลูออไรด์ที่ผลิตไว้ก่อนการสั่งหยุดผลิต เอามาย้อมแมวโดยติดสติกเกอร์ แล้วแกล้งส่งเป็นนมปกติ เหมือนเป็นการล้างสต๊อกให้กับโรงงานที่ผลิตไว้รอก่อนสั่งห้าม จะตรวจสอบได้ไหม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะต้องตรวจเข้ม งานนี้จะเข้าทางเด็กส่งนม รวมทั้งผู้ซื้อที่ประสงค์จะซื้อนมกล่องอย่างเดียว

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว