จี้ ทอท. ปลดล็อกรันเวย์สุวรรณภูมิ!!

22 ต.ค. 2561 | 10:43 น.
221061-1733

นักวิชาการหวั่นระยะห่างรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิแค่ 400 เมตร กระทบเครื่องบินขึ้นลง ไม่เพียงพอรองรับผู้โดยสาร 150 ล้านคน เสนอซื้อที่ดินเพิ่ม 1.2 พันไร่ เพิ่มรันเวย์ที่ 5 ขยายระยะห่าง 1 กิโลเมตร ด้าน ทอท. ตั้งแง่ให้รัฐเวนคืน

[caption id="attachment_336715" align="aligncenter" width="335"] นวทัศน์ ก้องสมุทร นวทัศน์ ก้องสมุทร[/caption]

นายนวทัศน์ ก้องสมุทร ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านการขนส่งทางอากาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาการจัดทำแผนแม่บทการจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศ ให้แก่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า แผนแม่บทการขยายสนามบินสุวรรณภูมิที่จะขยายการรองรับเที่ยวบิน 120 เที่ยวบิน รองรับผู้โดยสาร 150 ล้านคน มีข้อเป็นห่วงอยู่ที่การขยายศักยภาพในด้านแอร์ไซด์ เขตการบิน มากกว่าแลนด์ไซด์

20160503-151823-o2q6pd6vt6JnDsOKWed-o-1

เนื่องจากรูปแบบของรันเวย์ 3 และรันเวย์ 4 ที่ถูกวางตำแหน่งการสร้างมาตั้งแต่ก่อนการสร้างสนามบิน ที่เป็นในลักษณะ Close Parallel Runway กล่าวคือ รันเวย์ 3 ห่างจากรันเวย์ 1 ราว 400 เมตร การใช้รันเวย์จึงต้องสลับกันขึ้น-ลง ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิรองรับเที่ยวบินได้สูงสุดประมาณ 134 เที่ยวบินต่อชั่วโมง รองรับผู้โดยสาร 110 ล้านคน ซึ่งเพียงพอกับความต้องการถึงปี 2575 เท่านั้น

ดังนั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงควรพิจารณาการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบินเพิ่มขึ้นอีก 40-45 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เพื่อเพิ่มการรองรับผู้โดยสาร 35-40 ล้านคนต่อปี ภายใต้การพิจารณาใน 2 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 คือ การสร้างรันเวย์เพิ่มเป็น 5 รันเวย์ ด้านฝั่งทิศตะวันออกของรันเวย์ 2 และรันเวย์ 4 เดิม โดยรันเวย์ 5 ควรมีระยะห่างจากรันเวย์ 4 ประมาณ 1 กิโลเมตร และมีแนวจุดเริ่มต้นรันเวย์ 5 เยื้องขึ้นไปด้านทิศเหนือ มีระยะห่างกัน 1 กิโลเมตร ในแบบ Far Parallel Runway เพื่อให้การใช้รันเวย์ 5 เป็นอิสระจากการใช้รันเวย์ 2 และรันเวย์ 4 ทำให้สามารถใช้รันเวย์ 2 เส้นขึ้น-ลงได้ พร้อมกัน

Slide 1

ส่วนทางเลือกที่ 2 เป็นการปรับรูปแบบรันเวย์ 4 ด้านฝั่งทิศตะวันออกของรันเวย์ 2 ให้เปลี่ยนจาก Close Parallel Runway เป็นแบบ Far Parallel Runway โดยขยายรันเวย์ 4 จากเดิมที่มีระยะห่างจากรันเวย์ 2 ราว 400 เมตร ขยายให้ห่างเป็น 1 กิโลเมตร และให้มีแนวจุดเริ่มต้นรันเวย์ 4 เยื้องขึ้นไปทางทิศเหนือ โดยมีระยะห่างกันราว 1 กิโลเมตร

การขยายรันเวย์ใน 2 ทางเลือก จำเป็นต้องใช้พื้นที่เพิ่มเติมจากปัจจุบัน หากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จะทำ 4 รันเวย์ ก็น่าจะมองถึงการปรับแบบรันเวย์ใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินเพิ่มเติมอีกราว 1 พันไร่ และจะพัฒนาเพียงแลนด์ไซด์ ขยายอาคารผู้โดยสาร หรือ สร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ เพียงด้านเดียวคงไม่ได้ เพราะถ้าไม่ขยายด้านแอร์ไซด์ควบคู่ไปด้วย ก็จะเกิดปัญหาคอขวดในเขตการบิน

แหล่งข่าวระดับสูง ทอท. กล่าวว่า แนวทางที่ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสนอมา ยอมรับว่า มีการหารือกันจริง แต่ก็คงเป็นเรื่องของอนาคต ส่วนข้อจำกัดเรื่องระยะห่างของรันเวย์ของรันเวย์ 3 และ 4 ที่เป็นการออกแบบมาจากแผนแม่บทในการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิในยุคแรก แต่ในการบริหารจัดการ ทอท. ได้หารือกับ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทยฯ (บวท.) จนได้ข้อสรุปถึงการบริหารจัดการเที่ยวบินไว้เรียบร้อยแล้ว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสมาร์ท แอร์พอร์ต เข้ามาบริหารจัดการสนามบิน เพื่อขยายการรองรับผู้โดยสารให้เป็น 150 ล้านคน ได้ตามแผนแม่บทในปัจจุบัน

480410

ส่วนกรณีที่ ทอท. จะไปซื้อที่ดินแปลงติดกันเพื่อทำรันเวย์ 5 หรือ ขยายระยะห่างรันเวย์ 4 ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้ จะต้องให้รัฐเวนคืนเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ทอท. ต้องเร่งรัดการก่อสร้างให้รวดเร็วทันกับปริมาณผู้โดยสารที่เติบโต หากต้องปรับใหม่ ก็จะต้องไปยื่นขอ EHIA ใหม่ ที่เป็นกระบวนการที่ยาวนาน เพราะปัจจุบัน การขยายรันเวย์ 3 และ 4 ที่ทำไปก็ยังรอการอนุมัติ

นายชัชวาล พริ้งพวงแก้ว ประธานกรรมการ บริษัท ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะที่เกี่ยวข้องกับมาสเตอร์แพลนสนามบินสุวรรณภูมิ มาตั้งแต่ต้น มองว่า การปรับปรุงมาสเตอร์แพลนของ ทอท. ที่เกิดขึ้น ประกอบกับปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ อย่าง สมาร์ทแอร์พอร์ต ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่มาสเตอร์แพลนสุวรรณภูมิจะเพิ่มการรองรับได้อีก 50% จากมาสเตอร์แพลนยุคแรกที่วางไว้ที่ 100 ล้านคน

poom1

นายไกร ตังสง่า อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 กล่าวว่า ทอท. ไม่ได้พัฒนารันเวย์มาตั้งแต่ปี 2549 หรือ ตั้งแต่เปิดสนามบิน ทั้งที่เป็นสิ่งที่ควรจะทำในเฟส 2 ทันที ทำให้ช่วงเวลา 22.00-23.00 น. การรองรับผู้โดยสารจึงทำได้ไม่ดีนัก โดยส่วนตัวคิดว่า ทอท. ควรสร้างรันเวย์ที่ 4 ได้แล้ว ในทางทิศตะวันออก เพราะการมีรันเวย์มากหมายถึงศักยภาพการรองรับผู้โดยสาร

5b62d01506bd8a53b6c4928e25fa9b8a_L

"การที่ยังมีรันเวย์เท่าเดิม เครื่องบินก็จะวนอยู่แบบนี้ 30 นาที เพราะรันเวย์ไม่มีศักยภาพเพียงพอ ลองคิดว่า 1 รันเวย์ รองรับได้ 60 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ถ้ามีเครื่องบินมากกว่านั้นก็ต้องคอย ตอนนี้ก็มีการคอยอยู่แล้ว เพราะวิทยุการบินจะให้บินคอยจนกว่าจะมีรันเวย์ว่าง ซึ่ง ทอท. ต้องคิดใหม่ว่า นี่คือ การแข่งขันเพื่อให้ประเทศไทย ไม่ใช่ให้ผู้ถือหุ้น ไม่ควรมุ่งเน้นผลกำไรอย่างเดียว คุณต้องปรับปรุงบริการ"

……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,411 วันที่ 21 - 24 ต.ค. 2561 หน้า 01+15

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ปิดดีลขาใหญ่-อดีตผู้บริหาร ทอท. ควงเอสเอแอลฯ ผุด บ.ร่วมทุนกราวด์ เซอร์วิส
ทอท. นำ 3โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้ากระบวนการข้อตกลงคุณธรรม

เพิ่มเพื่อน ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว