SEAC ดึง 9 ผู้นำธุรกิจครอบครัว แนะทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

21 ต.ค. 2561 | 09:47 น.
ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง SEAC ร่วมกับ Business Plus ในเครือ บมจ.เออาร์ไอพี เปิดแนวทางความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว (Family Business) ในประเทศไทย ผ่านกิจกรรมสัมมนาพิเศษ "Upside Down : Rising to the Golden Opportunity of Global Disruption" ตีแผ่ความท้าทายครั้งสำคัญของธุรกิจครอบครัว (Family Business) ให้สามารถอยู่รอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption ร่วมรับรู้ เข้าใจ และแลกเปลี่ยนมุมมองทางความคิด กับทายาทธุรกิจ 9 แบรนด์ไทยชั้นนำ ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารองค์กรผ่านการปรับ "มุมมอง" เปลี่ยน "ความคิด" ค้นหา "กลวิธี" พิชิตความสำเร็จ เพื่อสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น

_MG_4297_All Spokesperson

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง กล่าวว่า ความโหดร้ายของคลื่นพายุ Disruption ที่โหมกระหน่ำสร้างผลกระทบให้กับธุรกิจทุกประเภท ไม่เว้นแต่ "ธุรกิครอบครัว" (Family Business) ต้องเผชิญกับความท้าทายในการทำธุรกิจให้สามารถหยัดยืนได้อย่างมั่นคงและสานต่อธุรกิจให้อยู่รอดอย่างยั่งยืนด้วยการแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพราะหากธุรกิจครอบครัวค่อย ๆ หายไปจากโลกธุรกิจ นั่นหมายความว่า แหล่งกำเนิดของเศรษฐกิจที่เก่าแก่ที่สุดของโลก กำลังอยู่ในจุดที่มีความสั่นคลอนและอาจนำมาซึ่งผลกระทบลูกโซ่ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะธุรกิจครอบครัวมีจำนวนอยู่เกือบครึ่งของธุรกิจทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ


_MG_4220_อภิปราย เรื่อง Opportunities or Threats for Family owned Busine...

"ธุรกิจครอบครัว" มี 4 ศักยภาพสำคัญ ได้แก่ 1.ความเข้มข้นและความชัดเจนของวิสัยทัศน์ (Vision) เป็นธุรกิจที่ก่อให้เกิดภาวะผู้นำตามธรรมชาติ (Natural Leadership) และความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Ownership) ทำให้ผู้นำในธุรกิจครอบครัวเปี่ยมไปด้วย "Entrepreneur Spirit" 2.การรับช่วงต่อเพื่อนำพาธุรกิจสู่เป้าหมายสูงสุด (Distinctive Goal) 3.ความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว คือ การขยายตัวต่อเนื่องและสร้างแรงกระเพื่อมให้กับระบบเศรษฐกิจโลกได้ จะเห็นได้จากตัวเลขที่น่าสนใจอย่าง อาทิ 44% ใน 400 รายชื่อสมาชิกกลุ่มมหาเศรษฐี จัดอันดับโดย Forbes America คือ กลุ่มธุรกิจครอบครัว 4.บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว ที่สัดส่วนการถือครองหุ้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจ้าของบริษัทและเป็นผู้กำหนดยุทธ์ศาสตร์หลักของบริษัท

ปัญหาส่วนใหญ่ของธุรกิจครอบครัวในยุค Disruption คือ คนรุ่นใหม่อาจไม่สามารถสานต่อแรงขับเคลื่อนขององค์กรได้เท่ากับผู้ก่อตั้ง หรือ อาจจะเกิดมุมมอง ค่านิยม การตั้งเป้าหมาย หรือ แนวทางปฏิบัติที่แตกต่างออกไปจากเดิม


_MG_4256_อภิปราย เรื่อง Opportunities or Threats for Family owned Busine...

คนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนองค์กรครอบครัวจะต้องเตรียมความพร้อมและเสริมเรื่อง "ภาวะผู้นำ" (Leadership) ความท้าทาย คือ ความสามารถในการปรับตัว ความกล้าในการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง และแสดงศักยภาพที่จะพาธุรกิจสู่สิ่งใหม่ ๆ

สัมมนาพิเศษในหัวข้อ "Upside Down : Rising to the Golden Opportunity of Global Disruption" มองมุมกลับ ... ปรับมุมมองธุรกิจครอบครัว โดยเชิญ 9 กลุ่มธุรกิจครอบครัว มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองต่อการขับเคลื่อนองค์กรในยุค Disruption อาทิ ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ผู้บริหารเจน 2 ที่นำพา BAR B Q Plaza โกอินเตอร์, เอกชัย ยังวาณิช รองประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เสถียรสเตนเลสสตีล จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเจน 2 ที่ผลักดันให้ "หัวม้าลาย" แบรนด์เครื่องครัวสเตนเลสสตีลสัญชาติไทย มีรายได้ทะยานสู่ 2,000 ล้านบาท และความมุ่งมั่นในการขยายส่วนแบ่งในอุตสาหกรรม HORECA

อนุรุทธ์ ศรีรุ่งธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ บริษัท ออโรร่า ดีไซน์ จำกัด กับการสร้างประวัติศาสตร์ให้ร้านทองแบรนด์แรกของประเทศไทย ที่สามารถคว้ารางวัล World Branding Awards 2017–2018, ดนุพล สยามวาลา Chief of Operation Officer (COO) บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด ทายาทรุ่นที่ 4 ผู้สร้างซอฟต์แวร์เฮาส์ ICE Solutions ที่พัฒนาระบบ Open Source สร้างความเป็นหนึ่งในอาณาจักรซอฟต์แวร์, อภิราม ลีตกะลิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปาร์คพลัส จำกัด ผู้บริหารรุ่นใหม่ ผู้ปลุกปั้นธุรกิจที่จอดรถอัจฉริยะจากรายได้หลักสิบล้าน เมื่อปี 2556 สู่มูลค่าแตะหลักพันล้านบาทในปัจจุบัน


_MG_3969_คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC

พิภพ โชควัฒนา กรรมการผู้จัดการและรองประธานบริหารสายปฏิบัติการ บริษัท นิวซิตี้ (กรุงเทพฯ) จำกัด (มหาชน) ผู้บริการเลือดใหม่เจนเนอเรชั่น 3 ขุมพลังแห่งเครือสหพัฒน์, อัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้บริหารหญิงแกร่ง ทายาทรุ่นที่ 4 ผู้ผลักดันยูบิลลี่ ก้าวสู่ผู้นำอันดับ 1 ของธุรกิจค้าปลีกในการจำหน่ายเพชรและเครื่องประดับเพชรในประเทศไทย

ณัฐพล วิมลเฉลา กรรมการบริหารและผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจดิจิทัล บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารรุ่น 3 แห่งสยามราชธานี ยกเครื่องธุรกิจ Outsourcing Services นำ AI เสริมเขี้ยวเล็บธุรกิจรับป้อนข้อมูลสุดล้ำ และนิธิรุจน์ พงศ์ธนะรังสี Head of Marketing โครงการตลาดต่อยอด เออีซี เทรด เซ็นเตอร์ นักการตลาดผู้ขับเคลื่อนศูนย์กลางค้าส่งแบบครบวงจรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

ในสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากผลพวงของยุค Disruption แล้ว การรับช่วงต่อในการดำเนินธุรกิจครอบครัวของแต่ละแห่งมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไป สิ่งสำคัญที่ผู้นำองค์กรรุ่นใหม่ต้องใส่ใจและรู้เท่าทัน ก็คือ การประเมินสถานการณ์ของธุรกิจของตนเอง ที่จะต้องไม่ยึดติด หรือ นำเอารูปแบบขององค์กรอื่น ๆ มาเป็นแกนหลัก

ธุรกิจครอบครัวไม่สามารถใช้หลักการ หรือ แนวทางการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานแบบ "One size fit all" หากแต่จะต้องปรับกระบวนทัพตามแต่ละองค์กร ขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน โดยสิ่งสำคัญ คือ ผู้นำรุ่นใหม่ต้องไม่ลืมรากเหง้าและวิสัยทัศน์ตั้งต้นของธุรกิจครอบครัว และจะต้องดำรงสิ่งเหล่านี้ไว้ พร้อมทั้งต้องรู้จักสร้างแนวทางการบริหารงานใหม่ อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาและการเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต

นางเอื้อมพร ปัญญาใส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เออาร์ไอพี กล่าวว่า ข้อมูลจากงานวิจัยบริษัทธุรกิจครอบครัวของโลก พบว่า ธุรกิจทั่วไปจะมีอายุของกิจการเฉลี่ยแค่ 12 ปี ขณะที่ อายุเฉลี่ยของธุรกิจครอบครัวที่ยาวนาน คือ ญี่ปุ่นที่มีอายุเฉลี่ยเพียง 52 ปี รองลงไป คือ อเมริกา ที่มีอายุเฉลี่ยเพียง 24 ปี


090861-1927-9-335x503-3

สำหรับเมืองไทย ในหลาย ๆ ครอบครัวมีการบ่มเพาะทายาทอย่างมีกลยุทธ์ กระทั่งการตั้งบริษัทขึ้น เพื่อดูแลผลประโยชน์ในครอบครัว รวมถึงตั้งสภาครอบครัว (Family Council) เพื่อกำหนดกฎระเบียบของครอบครัว ที่เรียกว่า "ธรรมนูญครอบครัว" ขึ้น เพื่อเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัว

ขณะที่ สภาครอบครัวมีหน้าที่ดูแลสมาชิกทุกคน สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว และกำหนดบทบาทของสมาชิกทุกคน ว่า ควรจะเข้ามาดูแลธุรกิจในส่วนใดบ้าง ทำให้ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานไปในทิศทางเดียวกัน มากกว่าจะขัดแย้ง แข่งขันกันเอง หรือแม้แต่ประเด็น หรือ การว่าจ้างมืออาชีพเข้ามาบริหาร ซึ่งข้อหลังนี้มีให้เห็นมากขึ้นตามลำดับ

ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจยังหนีไม่พ้นเรื่องของบุคลากร (People) ที่จะต้องพัฒนาให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว องค์กร (Organization) สภาพแวดล้อม (Environment) กระบวนการทำงาน (Processes) และการใช้เทคโนโลยี (Technology) เข้ามาสนับสนุนธุรกิจ ซึ่งทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ผู้บริหารรุ่นใหม่ทุกคนที่เข้ามารับช่วงต่อต้องเผชิญอย่างแน่นอน และจำเป็นจะต้องรับมือให้ได้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

e-book-1-503x62