"หัวเว่ย" เปิดตัว AI+Digital แพลตฟอร์ม เร่งเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล

21 ต.ค. 2561 | 08:08 น.
'หัวเว่ย' เปิดตัวแพลตฟอร์ม AI+Digital เร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล ภายในงาน HUAWEI CONNECT 2018 พร้อมประกาศความร่วมมือกับเขตเมืองใหม่เทียนจิน ปินไห่ นิว แอเรีย สร้างเมืองอัจฉริยะ

นายเหยียน ลี่ต้า ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยได้นำเสนอแนวทาง "Digital Platform + X + Ecosystem" ซึ่งเป็นกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลให้กับลูกค้า ด้วยการใช้ดิจิตอลแพลตฟอร์มเป็นพื้นฐาน บวกกับคุณสมบัติใหม่ ๆ (X) เช่น AI, IoT, บิ๊กดาต้า, ความปลอดภัย, ICP, วิดีโอ และแพลตฟอร์มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ผสมผสานภาคส่วนเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน

"ดิจิตอล แพลตฟอร์ม ของหัวเว่ยมีข้อได้เปรียบหลัก 3 ประการ คือ ครบถ้วน (Full-stack) เปิดกว้าง และรองรับธุรกิจองค์กรต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยได้พัฒนาโซลูชั่นแบบ Full-stack ขึ้นมา ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ เลเยอร์ IaaS และ PaaS และเลเยอร์ SaaS ร่วมกับพันธมิตร"

 

[caption id="attachment_335978" align="aligncenter" width="503"] นายหลู่ ฉี นายหลู่ ฉี[/caption]

ด้าน นายหลู่ ฉี ประธานบริหาร ฝ่ายขายโซลูชั่นและการตลาด กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าวว่า ในงาน HUAWEI CONNECT 2018 กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ได้สรุปให้ผู้ร่วมงานได้เห็นถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาของ Digital Platform ความสามารถเหล่านี้ ประกอบด้วย มัลติคลาวด์ : Fusion Storage 8.0 ของหัวเว่ย ถือเป็นโซลูชันหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรม ที่สามารถมอบการตอบสนอง I/O ในเวลา 300 ไมโครวินาที นอกจากนี้ ยังใช้สถาปัตยกรรมแบบกระจาย (Fully-Distributed) โดยไม่มีเกตเวย์และเชื่อถือได้ด้วยการทำงานแบบ Active-Active ขณะที่ โซลูชั่นไพรเวทคลาวด์ของหัวเว่ยนั้น นำเสนอบริการคลาวด์บนเลเยอร์ IaaS ที่มากที่สุดในอุตสาหกรรม เครือข่าย : โซลูชั่น CloudFabric รองรับอัพลิงค์และดาวน์ลิงค์ของคอนเทนเนอร์ 10K ที่ระดับนาที อุปกรณ์ : โมดูลแอพพลิเคชันอัจฉริยะตัวแรก Atlas200 ที่สามารถวิเคราะห์วิดีโอความละเอียดสูงและเซลล์ขนาดเล็กสุดอัจฉริยะ (Advanced smart small cells) ได้ในแบบเรียลไทม์


นายเจิ้ง จื้อปิน

นายเจิ้ง จื้อปิน ประธานบริหาร ฝ่ายธุรกิจสมาร์ทซิตี้ระดับโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ และเฉิน ซง หัวหน้าสำนักงานก่อสร้างเมืองอัจฉริยะ TEDA กล่าวว่า โซลูชั่นนี้ประกอบด้วยแพลตฟอร์ม AI 4 แพลตฟอร์ม ที่ทำงานสื่อสารกับ IOC อย่างใกล้ชิด เพื่อมอบบริการอัจฉริยะต่าง ๆ อาทิ Resident Voices – มาพร้อมกับเทคโนโลยีรู้จำเสียง, Sensing the City – ใช้เทคโนโลยีจดจำรูปภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ Resident Care – ผสานการเรียนรู้เชิงลึกเข้ากับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ตลอดวงจรชีวิตของบริการ, Enterprise Services – นำการวิเคราะห์พหุมิติและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์มาประยุกต์ใช้

ทั้งนี้ โซลูชั่น Smart Campus จะเข้ามาสนับสนุนการเติบโตและขับเคลื่อนความสามารถด้านการแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจทั่วโลก ทั้งนี้ การสร้าง Smart Campus จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม หัวเว่ยจึงนิยามหลักการทำงานแพลตฟอร์ม Smart Campus ไว้ 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ Smart Model : สนับสนุนการเชื่อมโยง การร่วมมือ และการผสมผสานการทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ Campus Space : เปลี่ยนจากพื้นที่ทางกายภาพไปเป็นชุมชนเสมือนจริง Business Model : เปลี่ยนแปลงธุรกิจสแตนด์อโลนไปเป็นธุรกิจแบบหลายมิติ Campus Operation : เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ ไปเป็นการดำเนินงานแบบออนดีมานด์


3 Yu Dong

ด้าน นายยวี่ ตง ประธานบริหาร ฝ่ายการตลาดและโซลูชั่นอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย และเซี่ย จื้อฟาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท วานอี่ เทคโนโลยี่ จำกัด ในเครือว่านเคอ กล่าวว่า หัวเว่ยกำลังดำเนินโครงการนำร่องในการติดตั้งโซลูชั่นแคมปัสที่เป็นระบบดิจิตอลเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม ที่สำนักงานของบริษัทเองใน 172 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ 'ว่านเคอ' ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของจีน ก็กำลังนำเอาโซลูชั่น Smart Campus ของหัวเว่ยมาใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของธุรกิจหลักของบริษัท นอกจากนี้ ทั้ง 2 บริษัท ยังร่วมมือกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการนวัตกรรม รวมถึงสำรวจและร่วมลงทุนในสถานการณ์และโมเดลใหม่ ๆ เพื่อสร้างสรรค์ระบบนิเวศสำหรับการพัฒนาในอนาคต


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว