คจร.อนุมัติส่วนต่อขยายสายสีเหลือง-สีชมพู "เมืองทอง" เฮ!เพิ่ม 3กม. ถึงทะเลสาบ

18 ต.ค. 2561 | 07:07 น.
20181017100438 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 2/2561 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2561

ภายหลังการประชุม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าที่ประชุมได้มีการพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้บรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีแนวเส้นทางจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (สายหลัก) บริเวณสถานีรัชดา โดยแนวเส้นทางจะวิ่งไปตามแนวเกาะกลางถนนรัชดาภิเษก มีสถานีอยู่บริเวณหน้าอาคารจอดรถของสำนักงานศาลยุติธรรม และสถานีบริเวณสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน มีทางเดินเชื่อมยกระดับ (Skywalk) ไปยังสถานีพหลโยธิน 24 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีระยะทางรวมประมาณ 2.6 กิโลเมตร
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้บรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช– เมืองทองธานี ของ รฟม. ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นบนถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อกับสถานีศรีรัช โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (สายหลัก) ก่อนจะวิ่งเข้าสู่เมืองทองธานี ไปตามซอยแจ้งวัฒนะ – ปากเกร็ด 39 ขนานไปกับทางพิเศษอุดรรัถยา ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี และวิ่งต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

“รถไฟฟ้าสายสีชมพู ต้องทำขาเข้าไปในเมืองทอง เพราะตรงนั้นมีสถานีศรีรัช แต่ไม่ได้หมายความว่าให้รถเลี้ยวเข้าไป รถสายหลักสีชมพูยังวิ่งเหมือนเดิม แต่เป็นอีกขบวนที่แยกออกไป ซึ่งผมเห็นว่าควรเป็นระบบเดียวกัน เพราะวิธีการจัดการระบบจะง่าย” นายชัยวัฒน์ กล่าว
090861-1927-9-335x503-8-335x503 เพิ่มเพื่อน นายชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเดินทางของประชาชนจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีส้ม สายสีเหลือง และสายสีชมพู โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเตรียมการและดำเนินการ ดังนี้ 1.บริหารจัดการจราจร ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย บก.02 จะบริหารจัดการบูรณาการการทำงานร่วมกับสถานีตำรวจในพื้นที่เพื่อให้การจราจรคล่องตัว เมื่อก่อสร้างเสร็จจะต้องรีบคืนพื้นที่จราจรโดยเร็ว และให้ก่อสร้างในช่วงเวลากลางคืนเป็นหลัก 2.การจัดการขนส่งสาธารณะ โดยจัดให้มีรถบริการประจำทางรับ-ส่ง (Shuttle Bus) ในการรับ-ส่งประชาชนในเส้นทางที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายดังกล่าว

ขณะเดียวกันจะมีการปรับเส้นทางเดินการรถโดยสารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพในบางเส้นทางปกติและทางด่วนควบคู่กัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนในการเลี่ยงการจราจรติดขัดในช่วงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เช่น เส้นทางรถโดยสารในแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม สาย 168 (ทางด่วน) โดยจะเดินรถจากมีบุรีเข้าถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 และมอเตอร์เวหมายเลข 7 เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชเพื่อเข้าสู่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เส้นทางรถโดยสารในแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือ สาย 145 (ทางด่วน) โดยเดินรถผ่านถนนลาดพร้าวขึ้นทางด่วนบริเวณถนนลาดพร้าว 84 ใช้ทางพิเศษฉลองรัชและทางพิเศษศรีรัช เพื่อเข้าสู่แยกพัฒนาการ ถนนศรีนครินทร์

รวมทั้งเพื่อเรือโดยสารด่วนพิเศษ (Express Boat) ในช่วงเร่งด่วนเช้าในคลองแสนแสบ โดยจอดเฉพาะท่าสำคัญซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อทางการเดินทาง ได้แก่ ท่าวัดศรีบุญเรือง – ท่าราม 1 (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์สถานีรามคำแหง) – ท่าอโศก (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำสถานีเพชรบุรี) – ท่าประตูน้ำ เป็นต้น
595959859