พลิกโฉม "ธุรกิจ-อุตสาหกรรม" ไทยให้รอด! ด้วย "AI–Big Data" ในงาน ISTS 2018

16 ต.ค. 2561 | 07:34 น.
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เดินหน้าเสริมสร้างศักยภาพบัณฑิตไทยเทียบชั้นนานาชาติ รุดสร้างองค์ความรู้และทักษะรับยุคดิจิทัล 4.0 ตอกย้ำความสำเร็จงาน "ไอเอสทีเอส 2018" ระดมมันสมองหัวกระทิ 5 ชาติ แก้โจทย์เพิ่มประสิทธิภาพกระตุ้นการเติบโตทางธุรกิจ

 

[caption id="attachment_333596" align="aligncenter" width="503"] ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์[/caption]

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและองค์ความรู้ในยุคดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนเราในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดำเนินธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เรียกว่า "เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น" ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องพลิกโฉมระบบการดำเนินงาน ตลอดจนรูปแบบการให้บริการขององค์กรธุรกิจ


ภาพข่าวผู้บริหารร่วมถ่ายภาพ

ดังนั้น สจล. จึงให้ความสำคัญในการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีความพร้อม ทั้งในด้านองค์ความรู้วิชาการและคิดค้นนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ถือเป็นการสร้างโอกาสการแข่งขันและการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติได้ในอนาคต โดย สจล. ได้เร่งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ควบคู่ไปกับการเปิดหลักสูตรใหม่ให้สอดรับสถานการณ์และความต้องการของตลาดแรงงาน อาทิ หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (สหวิทยาการ), วิศวกรรมระบบการผลิตขั้นสูง (นานาชาติ), การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (นานาชาติ), นวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการบินและการบริการ และนวัตกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ เป็นต้น


ภาพแต่ละบริษัทกำลังให้โจทย์น้อง ๆ

ภาพน้อง ๆ กำลัง Brainstrom

ล่าสุด ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาแห่งชาติด้านเทคโนโลยีประเทศญี่ปุ่น (NIT หรือ KOSEN) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนะงะโอะกะ (NUT) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโทโยฮาชิ (TUT) จัดการแข่งขันประกวดนวัตกรรมเพื่อธุรกิจระดับนักศึกษาขึ้นผ่าน "โครงการการจัดการประชุมนานาชาติ หรือ ไอเอสทีเอส 2018 (ISTS - International Seminar on Technology for Sustainability 2018)" ร่วมด้วย 5 องค์กรธุรกิจ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท เรือเร็วลมพระยา จำกัด, บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด, ออโต้เดสก์ และเอดับบลิวเอส เอ็ดดูเคชั่น ร่วมให้โจทย์ปัญหาทางธุรกิจแก่ผู้เข้าแข่งขัน


น้องๆ กำลังพรีเซนท์ผลงาน

ภาพข่าวน้องๆ ทีมลมพระยากลุ่ม 2 ได้รับรางวัลชนะเลิศ

โดยกิจกรรมทางการศึกษา "ไอเอสทีเอส 2018" เปิดโอกาสให้นักศึกษาทั่วโลกร่วมคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ตอบโจทย์ปัญหาทางธุรกิจ มุ่งเน้น 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ Smart Home & Smart City, Drone, Financial, Artificial Intelligence, Virtual Reality/Augmented Reality อันสอดรับกับสถานการณ์ในปัจุบัน ที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อองค์กรธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ถูกนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ในปัจจุบันจะพบว่า สถาบันทางการเงินต่างเร่งพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับจัดการฐานข้อมูลให้การทำธุรกรรมสะดวกรวดเร็วและแม่นยำในเสี้ยววินาที โดยเฉพาะการพิจารณาสินเชื่อ หากใครทำได้เร็วยิ่งได้เปรียบ ไม่ต่างจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ก็มีความตื่นตัวในการพัฒนาระบบตอบรับและรับจองให้รวดเร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งการใช้เทคโนโลยีโลกกึ่งเสมือนจริง (AR) มาสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบใหม่เพิ่มอรรถรสและความประทับใจ เป็นต้น

e-book-1-503x62-7-1-503x62