"19 โรงนมฟลูออไรด์" มีเฮ! อย. รับปากเร่งหาข้อสรุปต่อใบอนุญาตโรงงาน

15 ต.ค. 2561 | 15:00 น.
19 โรงนมฟลูออไรด์แอบลุ้น! หลัง อย. รับปาก อ.ส.ค. เร่งหาข้อสรุปกับกรมอนามัย ไฟเขียวต่อใบอนุญาตโรงงาน หลังหมดอายุสิ้นสุด มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา


93720

แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ลงวันที่ 9 ก.ค. 2561 ว่า ตามหนังสือที่ อ.ส.ค. เลขที่ กษ 1910/3043 ลงวันที่ 4 มิ.ย. 2561 มีหนังสือแจ้งขอให้ อย. พิจารณาอนุญาตให้ยื่นเอกสารผลิตผลิตภัณฑ์นมฟลูออไรด์เฉพาะคราว ชนิดยูเอชทีและชนิดพาสเจอร์ไรส์ และเร่งรัดให้มีการอนุญาตผลิตนมดังกล่าวนั้น ทางกระทรวงได้มอบให้ อย. ร่วมกับกรมอนามัย พิจารณาประเมินความจำเป็นด้านสุขภาพต่อฟลูออไรด์ รวมทั้งประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาตผลิตเฉพาะคราวนมฟลูออไรด์ ปีการศึกษา 2561 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ หากได้ข้อสรุปจะแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว


S__11993102

"นมฟลูออไรด์" ในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนที่มีปัญหา เพราะทาง อย. ไม่ต่อใบอนุญาตให้ 19 โรงงานผลิต (ใบอนุญาตหมดอายุลงวันที่ 31 มี.ค. 61) เพราะมีโรงนมผิดข้อละเมิดไปจำหน่ายในพื้นที่เด็กเล็ก ประกอบทางกรมอนามัยยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่ดีพอมาสนับสนุน และไม่มีแนวทางการควบคุมการจำหน่ายที่รอบคอบจึงให้ไปสำรวจพื้นที่ใหม่ ว่า ยังมีเด็กขาดสารฟลูออไรด์เท่าใดกันแน่

สำหรับโรงนมที่เข้าร่วมผลิตนมฟลูออไรด์ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ที่ อย. สั่งชะลอผลิตโดยไม่มีกำหนด อาทิ 1.โรงนมขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) 2.ศูนย์ผลิตนม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) 5.สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด 4.บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด 5.บจก.เชียงใหม่เฟรชมิลค์จำกัด 6. และ 7.สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด เป็นต้น


090861-1927-9-335x503-8-335x503

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน (วันที่ 2 ต.ค. 61) ที่มี น.สพ.สริวศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธาน ในที่ประชุมมีมติพิจารณาถึงผลกระทบกรณีห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมฟลูออไรด์ หาก อย. ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน ขอให้อนุญาตให้ผู้ประกอบการที่มีวัตถุดิบคงเหลือผลิตนมฟลูออไรด์เพื่อจำหน่ายในภาคเรียนที่ 2/2561 ในพื้นที่นมฟลูออไรด์เดิม 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สระแก้ว กระบี่ ตรัง ชลบุรี ขอนแก่น ยะลา สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง และชุมพร จำนวน 5.8 แสนคน ต้องให้นมผสมฟลูออไรด์วันละ 5.8 แสนถุง-กล่อง/วัน โดยเด็กกรุงเทพฯ ขาดสารฟลูออไรด์ 50 เขตสูงสุด จำนวน 2.85 แสนคน รองลงมาเป็นขอนแก่น 1.45 แสนคน


TP-8-3368-A

ผลการตรวจสอบผู้ประกอบการที่มีวัตถุดิบคงเหลือ ได้แก่ 7 โรง ได้แก่ 1.องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กระดาษเหลือค้างแล้วหมดอายุ จึงขอนำกระดาษบรรจุนม ไปผลิตเป็นนมโรงเรียนในเทอม 2/2561


S__11993103

2.สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด 3.บริษัท คันทรีเฟรชแดรี่ จำกัด มีนมยูเอชทีฟลูออไรด์สต็อกที่ผลิตไว้ จำนวน 2,442 หีบ จำนวน 117,216 กล่อง คิดเป็นจำนวนเงิน 916,629 บาท บรรจุภัณฑ์กล่องบรรจุนมฟลูออไรด์มีสต็อกคงค้าง จำนวน 834,550 กล่อง และหีบบรรจุกล่องลูกฟูก จำนวน 2,409 หีบ รวมเป็นจำนวนเงิน 1,020,470 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 1,937,990 บาท 4.สหกรณ์หนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) มีบรรจุภัณฑ์นมฟลูออไรด์คงเหลือ และคิดเป็นมูลค่าประมาณ 7.6 ล้านบาท สหกรณ์จึงขออนุญาตใช้บรรจุภัณฑ์นมฟลูออไรด์นำมาบรรจุนมรสจืดปกติ เพื่อแก้ไขปัญหาบรรจุภัณฑ์ใกล้หมดอายุ 5.องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.ภาคใต้) 6.บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด 7.ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

595959859