ค่ารื้อถอน! "โจทย์หิน" ผู้ชนะประมูล

15 ต.ค. 2561 | 13:07 น.
151061-2001

ในการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมบงกชและเอราวัณ ที่กำลังจะหมดอายุในช่วงปี 2565-2566 ซึ่งขณะนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอการประมูล ที่เปิดให้ยื่นเมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมา จำนวน 4 ซอง แบ่งเป็น ซองที่ 1-3 ของผู้ประมูล ได้แก่ 1.ซองเอกสารด้านคุณสมบัติของผู้ประกอบการปิโตรเลียมตามกฎหมาย 2.ซองเอกสารข้อเสนอด้านหลักการและเงื่อนไขการให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ร่วมลงทุน 3.ซองเอกสารข้อเสนอด้านเทคนิค ซึ่งประกอบด้วย แผนงานช่วงเตรียมการแผนงานการสำรวจและแผนการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม จะใช้ระยะเวลา 1 เดือน หรือ พิจารณาเสร็จปลายเดือน ต.ค. นี้

ทั้งนี้ หากผ่านเกณฑ์เงื่อนไขการประมูลทั้ง 3 ซอง จะได้รับการพิจารณาเปิดซองที่ 4 คือ ซองเอกสารข้อเสนอด้านผลประโยชน์ตอบแทนรัฐและสัดส่วนการจ้างพนักงานไทย โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปผู้ชนะประมูลในเดือน พ.ย. 2561 จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการปิโตรเลียม ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน รับทราบ เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ธ.ค. 2561 ซึ่งตามแผนที่กำหนดจะเริ่มลงนามกับผู้ชนะประมูลในเดือน ก.พ. 2562


appBongkot

อย่างไรก็ตาม ตัวแปรที่สำคัญในการคาดหวังที่จะให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอให้ราคาขายก๊าซธรรมชาติที่ต่ำกว่า 214 บาทต่อล้านบีทียู ค่อนข้างมาก เพื่อหวังจะชนะการประมูลนั้น ก็อาจจะยากขึ้น เพราะต้องมีการนำค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มาคำนวณในการคุ้มทุนด้วย

โดย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม มาตรา 80 ได้เขียนไว้ว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่รับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา หรือ ขนส่งปิโตรเลียม โดยให้ผู้รับสัมปทานยื่นแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน พร้อมทั้งวางหลักประกัน

อีกทั้งในกรณีที่มีสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา หรือ ขนส่งปิโตรเลียม ที่ต้องรื้อถอนเพิ่มขึ้น หรือ เทคโนโลยีด้านการรื้อถอนเปลี่ยนแปลงไป หรือ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนคลาดเคลื่อน ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้รับสัมปทานแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับปรุงแผนงาน และประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนที่ได้รับความเห็นชอบ


appGeothai

โดยผู้รับเหมาสัมปทานต้องทำการรื้อถอนให้แล้วเสร็จตามแผนงาน หากไม่ดำเนินการรื้อถอน หรือ ดำเนินการล่าช้า อันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีอำนาจมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการรื้อถอนแทน หรือ ร่วมกับผู้รับสัมปทาน โดยใช้จ่ายจากหลักประกันตามที่กำหนดไว้ ซึ่งหากผู้รับสัมปทานไม่วางหลักประกัน หรือ วางไม่ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีก 2% ต่อเดือนของจำนวนหลักประกันที่ต้องวาง หรือ วางขาด แล้วแต่กรณี เป็นต้น

ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว จึงไม่แปลกใจว่า ผู้ประกอบการถึงไม่อยากจะจ่ายเป็นหลักประกันค่ารื้อถอนให้รัฐ


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,409 วันที่ 14 - 17 ต.ค. 2561 หน้า 02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เปิดซองประมูลปิโตรเลียมแล้วได้ผู้ชนะแหล่งบงกช-เอราวัณ ธ.ค.นี้
เปิดชื่อผู้ยื่นคำขอประมูลแหล่งปิโตรเลียม!!


เพิ่มเพื่อน
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก