"นักวิชาการ-เอกชน" มองการเติบโตเศรษฐกิจปี 62 ขยายตัวในอัตราที่ช้าลง

15 ต.ค. 2561 | 10:55 น.
"นักวิชาการ-เอกชน" มองการเติบโตเศรษฐกิจปี 62 ขยายตัวในอัตราที่ช้าลง เหตุหลักจาก 2 มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ระเบิดสงครามการค้า กระทบถึงไทย

นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง เปิดเผยถึงประเด็นที่น่าติดตามหลังจากนี้ไป คือ ปัจจัยด้านต่างประเทศ ที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะช้าลง คือ ขยายตัว แต่อยู่ในอัตราที่ช้าลง ซึ่งขณะนี้สหรัฐอเมริกา จีน มีแนวโน้มว่า เศรษฐกิจในแต่ละประเทศจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง จากผลตรงนี้จะกระทบถึงอัตราการเติบโตของจีดีพีของไทย ที่ปี 2562 คาดว่าจะเติบโตลดลงจาก 4.5-4.6% เหลือ 4.2-4.3% ขณะที่ การส่งออกของไทย คาดว่าจะเติบโตลดลงด้วย จากปีนี้คาดว่าจะเติบโต 9% จะเติบโตลดลงเหลือ 5-6% โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง

 

[caption id="attachment_333078" align="aligncenter" width="503"] สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์[/caption]

ด้าน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หากดูจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนครั้งนี้ ถือว่ามีนัยสำคัญ เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจนี้ และการที่สหรัฐอเมริกาประกาศขึ้นอัตราภาษีนำเข้าช่วงแรกที่ 5 หมื่นล้านดออลาร์สหรัฐฯ และช่วงที่ 2 จะขึ้นอีก 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้จีนออกมาตอบโต้ทันที โดยเฉพาะการประกาศขึ้นอัตราภาษีนำเข้าช่วงที่ 2 เหมือนกระทบสินค้าจีนเกือบทุกรายการที่อเมริกานำเข้าจากจีน

 

[caption id="attachment_333269" align="aligncenter" width="503"] เกรียงไกร เธียรนุกุล เกรียงไกร เธียรนุกุล[/caption]

สำหรับประเทศไทยก่อนหน้านั้น การส่งออกเคยติดลบต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน โดยมีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลก แต่ในช่วงปี 2560-2561 พอเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การส่งออกไทยก็กลับมาบวก โดยคาดว่า ปีนี้ส่งออกเติบโต 9-10% โดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยมาจากเครื่องยนต์ 2 ตัว คือ การส่งออกกับการท่องเที่ยว ฉะนั้นถ้า 2 ผู้นำประเทศทางเศรษฐกิจ อย่าง สหรัฐอเมริกากับจีน ปะทุสงครามการค้าต่อเนื่องแบบนี้ อาจจะกระทบถึงไทย ทั้งจีดีพีและการส่งออกในปีหน้าได้ โดยอาจจะขยายตัว แต่อยู่ในอัตราที่ช้าลงได้ และอาจจะกระทบต่อภาคท่องเที่ยวด้วย จากนี้ไปในแง่ภาคการผลิต ก็ต้องเฝ้าจับตาเพื่อบริหารความเสี่ยงและรับมือให้ทัน

595959859