ผุด 150 หลุมก๊าซแสนล้าน! เอาจริงประมูลปิโตรฯอ่าวไทย-ดิ้นหลบค่ารื้อถอนหมื่นล้าน

15 ต.ค. 2561 | 12:08 น.
151061-1845

'ศิริ' เร่งแผนรื้อ 137 แท่นผลิตปิโตรเลียมในทะเลให้ได้ข้อยุติสิ้นปีนี้ คาดเบื้องต้น ผู้ชนะประมูลแหล่งบงกช-เอราวัณ ต้องจ่ายให้รัฐกว่า 1 หมื่นล้านบาท พร้อมต้องลงทุนติดตั้ง 150 แท่นผลิตใหม่ กว่า 1 แสนล้านบาท สะพัดวิ่งล้มจ่ายค่ารื้อถอน

การประมูลแหล่งปิโตรเลียมหมดอายุของบงกชและเอราวัณ ที่จะสิ้นสุดในช่วงปี 2565-2566 กำลังเป็นที่จับตาของสาธารณชนว่า จะมีผู้ประกอบการรายใดชนะประมูล หลังจากเมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้มีผู้ยื่นซองประมูล 4 ราย ประกอบด้วย แปลง G1/61 (แหล่งเอราวัณ) จำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ร่วมกับบริษัท เอ็มพี จี 2 (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือมูบาดาลา และบริษัท เชฟรอน ไทยแลนด์ โฮลดิ้ง จำกัด ร่วมกับบริษัท มิตซุยออยล์ เอ็กซ์โปลเรชั่น คัมปานี ลิมิเต็ด

ขณะที่ แปลง G2/61 (แหล่งบงกช) มีผู้ยื่นซองจำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท เชฟรอน ไทยแลนด์ โฮลดิ้ง จำกัด ร่วมกับบริษัท มิตซุยออยล์ เอ็กซ์โปลเรชั่น คัมปานี ลิมิเต็ด ซึ่งหลังจากนี้ไปจะใช้เวลาเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะการประมูล และคาดว่าจะสามารถนำเสนอชื่อผู้ชนะการประมูลไปยังคณะรัฐมนตรีในเดือน ธ.ค. 2561 นี้


appBongkot

โดยระหว่างนี้ ทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะต้องพิจารณาว่า จะมีการเก็บทรัพย์สินหรือแท่นผลิตปิโตรเลียมกลางอ่าวไทยใดไว้บ้าง จากจำนวนที่มีอยู่ราว 278 แท่น และมีแท่นใดบ้างคืนกลับไปให้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะต้องรับผิดชอบในการรื้อถอน


ลงทุนแท่นใหม่แสนล้าน
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเร่งสำรวจตรวจสอบแท่นขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียมของแหล่งเอราวัณและบงกชในอ่าวไทย ที่มีอยู่ 278 แท่น ว่า รัฐจะเก็บไว้ใช้งานจำนวนกี่แท่น และที่ต้องรื้อถอนกี่แท่น เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเดิมมีระยะเวลาเตรียมตัว ก่อนที่จะสิ้นสุดสัมปทาน 2 ปี

 

[caption id="attachment_333304" align="aligncenter" width="371"] ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[/caption]

โดยเบื้องต้น คาดว่าจะเก็บแท่นที่ยังมีศักยภาพไว้ราว 220 แท่น และรื้อถอนราว 58 แท่น ซึ่งในจำนวนนี้ทางผู้ประกอบการจะต้องส่งแนวทางการรื้อถอนว่าจะใช้วิธีใด และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามารับผิดชอบในการรื้อถอนด้วย เพื่อเป็นหลักประกันในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเงินเข้ามาเป็นหลักประกันในการรื้อถอน ตามประกาศกฎกระทรวง กำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 ขณะที่ การลงทุนใหม่ที่จะเกิดขึ้นในแหล่งเอราวัณและบงกชนั้น คาดว่าจะมีการก่อสร้างแท่นใหม่เพิ่มขึ้นอีกราว 150 แท่น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในส่วนนี้ราว 1 แสนล้านบาท เพื่อรักษาระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติขั้นต่ำไว้ที่ 1.5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เทียบกับปัจจุบัน 2 แห่ง ผลิตก๊าซอยู่ที่ 2.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน


ทดลองรื้อ 4 แท่นผลิต
แหล่งข่าวจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างการตรวจสอบแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม และขั้นตอนการนำรายละเอียดมาศึกษา ซึ่งยังไม่ตัดสินใจเลือกว่า จะรื้อหรือเก็บแท่นใดไว้ เนื่องจากต้องศึกษาความคุ้มค่าของแต่ละแท่นอย่างละเอียด รวมทั้งค่ารื้อถอน จำต้องเจรจากับผู้ประกอบการรายเดิม คาดว่าจะมีความชัดเจนภายหลังจากทราบผลผู้ชนะการประมูล ในวันที่ 25 ธ.ค. นี้ จากนั้นกรมเชื้อเพลิงฯ จะเสนอรายละเอียดแท่นที่จะรื้อและเก็บแท่นไว้ ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาต่อไป


appGeothai

โดยที่ผ่านมา ได้มีโครงการนำร่องการนำส่วนบนของแท่นหลุมผลิต เพื่อนำไปกำจัดบนฝั่ง โดยพิจารณาแท่นที่หยุดผลิตเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ไปกำจัดทิ้งบนฝั่ง เพื่อศึกษาเทคนิคการรื้อถอนที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศ รวมทั้งประเมินขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีการรื้อถอนของผู้ประกอบการไทย โดยพิจารณาเลือกแท่นหลุมผลิตที่ผลิตจนหมดปริมาณสำรองและไม่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์ของการเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติม และไม่มีแผนการใช้งานในอนาคต ได้แก่ แท่นหลุมผลิตยะลา เอ, แท่นหลุมผลิตจักรวาล, แท่นหลุมผลิตฟูนาน เอ็ม และแท่นหลุมผลิตฟูนาน แอล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำขั้นตอนในการปฏิบัติงานสำหรับการจัดการกับแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมในอนาคต


ค่าใช้จ่าย 330 ล้าน
รวมถึงเพื่อให้ทราบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการรื้อถอน เพื่อนำไปเป็นฐานในการคำนวณที่จะให้ผู้ประกอบการต้องวางเงินค้ำประกัน หรือ ต้องจ่ายให้กับรัฐในการรื้อถอนต่อไปด้วย ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ทราบค่าใช้จ่ายในการรื้อส่วนบนของทั้ง 4 แท่น รวมกันอยู่ราว 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 330 ล้านบาท เฉลี่ยต่อแท่นประมาณ 82 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมขาแท่นและโครงสร้างข้างล่าง เช่น ท่อ ที่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติว่าจะต้องรื้อถอน หรือ ปล่อยไว้ให้เป็นประการังเทียม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะเป็นผู้พิจารณา ในขณะที่กรมเห็นว่า จะต้องดำเนินการรื้อถอนนำไปเป็นประการังเทียมที่เกาะพะงันและสมุย ที่คาดว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอีกประมาณ 2-3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


TP09-3342-1A

เชฟรอนใส่กว่า 6.5 พันล้าน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้งนี้เมื่อได้ข้อมูลจากการทดลองรื้อทั้ง 4 แท่นดังกล่าว จะนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการรื้อแท่นอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ที่มีอยู่ราว 400 แท่น แต่ที่จะต้องดำเนินการก่อนในปี 2562-2563 จะเป็นในส่วนของเชฟรอน ประมาณ 80 แท่น และโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุปกรณ์เชื่อมต่อท่อขนส่งใต้ทะเล จำนวน 80 ชิ้น ซึ่งอยู่บริเวณอ่าวไทยทั้งหมด ซึ่งหากประเมินจำนวนแท่นที่ต้องรื้อถอนทั้งส่วนบนและส่วนล่าง จะต้องมีค่าใช้จ่ายรวมกว่า 6,560 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมกรณีที่จะต้องนำท่อก๊าซขึ้นฝั่งด้วย

อีกทั้ง หากรวมกรณีการรื้อแท่นของแหล่งบงกชและเอราวัณที่จะต้องดำเนินการรื้อหลังปี 2565 เป็นต้นไป ที่ประเมินเบื้องต้นไว้ 58 แท่น ก็จะต้องใช้เงินอีกกว่า 4,756 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการนำท่อก๊าซขึ้นฝั่งอีกส่วนหนึ่ง หากรวมทั้ง 2 ส่วน ที่ต้องรื้อในระยะแรก จะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม จากจำนวนเงินในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่ต้องการใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงนี้ เมื่อนำมาหักลบกับผลตอบแทนกับการเข้าประมูลแหล่งบงกชและเอราวัณที่จะหมดอายุนี้ จึงไม่แปลกที่จะมีความพยายามจะล็อบบี้รัฐบาลในการขอไม่ส่งเงินเป็นหลักประกันในการรื้อถอนให้กับภาครัฐ รวมถึงมีความพยายามที่จะหว่านล้อมหน่วยงานต่าง ๆ เห็นชอบกับการรื้อถอนแท่นเฉพาะส่วนบนและส่วนล่าง เช่น ขาแท่น ให้ถูกนำไปใช้เป็นประการังเทียม รวมชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ท่อก๊าซให้ดำเนินการปิดท่อแทน การนำขึ้นฝั่ง ด้วยเหตุของการมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,409 วันที่ 14 - 17 ต.ค. 2561 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ที่นี่ไม่มีความลับ : ทิ้งทวนเร่งประมูลงาน นับล้านล้านบาท ก่อนเลือกตั้ง (1)
ปตท. เริ่มจ่ายก๊าซฯเร็วกว่าแผน


เพิ่มเพื่อน
595959859