เอกชนตื่นตัวแห่ใช้ AI! 'เจมาร์ท' ผนึกพันธมิตรนำร่องทดสอบต้นปี 62

18 ต.ค. 2561 | 02:47 น.
'ฟีโบ้' ผนึก "เจมาร์ท-จันวาณิชย์" เอ็มโอยู UBTECH พัฒนาหุ่นยนต์และเอไอใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและภาคเอกชน ผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้าน
 'เจมาร์ท' นำร่องหุ่นยนต์บริการลูกค้าในเจมาร์ทช็อป

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (Institute of FIeldroBOtics : FIBO) หรือ ฟีโบ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าธนบุรี กล่าวว่า เนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำอย่างไรที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ซึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีพาร์ต
เนอร์ ดังนั้น ฟีโบ้จึงได้จับมือกับเจมาร์ทและจันวาณิชย์ เพื่อประกาศความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท UBTECH ผู้ผลิตหุ่นยนต์ (Robotics) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอนาคตอันใกล้นี้ แรงงานในภาคการผลิตเริ่มกลับไปบ้านเกิด เพราะอุตสาหกรรมที่พัฒนามากขึ้น จึงทำให้ประเทศไทยต้องมองหาแรงงานที่จะมาทดแทน นั่นก็คือ หุ่นยนต์ หรือ ระบบออโตเมชัน

 

[caption id="attachment_332496" align="aligncenter" width="503"] ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ดร.ชิต เหล่าวัฒนา[/caption]

ปัจจุบัน หุ่นยนต์นั้นมีความสามารถและมีความฉลาดในตัวเองด้วยเอไอ ซึ่งที่ผ่านมา สถานการณ์ของหุ่นยนต์และออโตเมชันในไทยนั้น โตกว่า 15% ต่อปี โดยมีการนำเข้าสูงถึง 2 แสนล้านบาทต่อปี ขณะที่ การส่งออกอยู่ที่เพียง 3-4 หมื่นล้านบาทต่อปี จะเห็นได้ว่า ไทยยังขาดดุลอยู่สูงถึง 1.6-1.7 แสนล้านบาท จากผลการสำรวจพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยเกือบ 85% ถ้าไม่มีการปรับตัวสู่ระบบออโตเมชันในอุตสาหกรรมการผลิตนั้น จะไม่สามารถสู้ราคาได้ เพราะมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศอื่น ๆ

"ประเทศไทยจำเป็นต้องออโตเมต ถ้าไม่ออโตเมต เราสู้เค้าไม่ได้"

ทั้งนี้ การนำหุ่นยนต์มาใช้ควบคู่กับ IoT บิ๊กดาต้า และคลาวด์ เพื่อให้เกิดระบบอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) แต่ในอีกทางหนึ่ง เมื่อออโตเมชันเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้มนุษย์มีจุดอ่อน คือ การพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป ทำให้ทักษะการเอาตัวรอดและสัญชาตญาณลดลง อาชีพต่าง ๆ สามารถถูกแทรกแซงจากเอไอได้ทั้งนั้น ไม่เว้นแม้กระทั่งนักกฎหมายหรือแพทย์ ซึ่งการลงนามความร่วมมือกับ UBTECH ในครั้งนี้ ฟีโบ้จะเป็นผู้สนับสนุนทางด้านเทคนิคการผลิตหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ทดสอบความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ และสามารถนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ และนำเอาหุ่นยนต์ที่มีเทคโนโลยีระดับโลกมาใช้ให้เกิดผลอย่างแท้จริง


S__12730370

ด้าน นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART กล่าวว่า แนวทางในความร่วมมือครั้งนี้ พื้นฐานมาจากความเชื่อว่า เทคโนโลยีจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง หลายปีที่ผ่านมา ตอนนั้นโทรศัพท์มือถือมีราคาแพงและมีคนใช้น้อย แต่ปัจจุบันกลับเป็นดีไวซ์ที่ทุกคนต้องมี ซึ่งเป็นเทรนด์เดียวกันกับหุ่นยนต์ที่ในวันนี้ อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในอนาคตเทคโนโลยีจะเป็นเรื่องของการแข่งขัน ใครก็ตามที่สามารถให้อรรถประโยชน์ได้ดีที่สุด ก็จะเป็นสินค้าใหม่ที่เข้ามาในตลาด โดยเชื่อว่า UBTECH จะสามารถผลิตสินค้าได้ในหลากหลายระดับ เพื่อตอบสนองความต้องการในหลายอุตสาหกรรมได้ ซึ่งการพัฒนาธุรกิจนี้คงต้องเริ่มแล้ว ทั้งนี้ ในปีหน้าเจมาร์ทจะนำร่องใช้หุ่นยนต์บริการลูกค้าที่เข้ามาในเจมาร์ทช็อปประมาณ 5 ตัว


S__12730373

ส่วนนายธนพล กองบุญมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้หุ่นยนต์มีความคล้ายมนุษย์มากขึ้น ในหลายธุรกิจสามารถนำความเข้าใจเรื่องของเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งทางจันวาณิชย์ได้ศึกษาเทคโนโลยีนี้มาสักระยะ จึงได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ เพื่อพัฒนา Robotics และ AI ให้ทำงานแทนระบบต่าง ๆ และก้าวต่อไป คือ การสร้างหุ่นยนต์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมภายในประเทศ เชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย รวมถึงประชาชนจะเริ่มให้ความสำคัญและต้องปรับตัวเพื่อพร้อมรับโลกแห่งยุคดิจิตอล

ขณะที่ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตอนนี้หน่วยงานรัฐได้เร่งผลักดันให้เกิดการลงทุนการใช้งานของหุ่นยนต์ในประเทศมากขึ้น ดีมานด์ในอนาคตจะมีการใช้หุ่นยนต์ เพราะประชากรในวัยทำงานที่มีจำนวนลดลง และไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ก็จะเกิดอุปสงค์ด้านหุ่นยนต์ที่ใช้เพื่อการผลิต ไม่ใช่แค่เรื่องของประสิทธิภาพที่เหนือกว่า แต่หุ่นยนต์สามารถทำงานได้แบบไม่เหนื่อย โดยภาครัฐเองได้มีการสร้างความตระหนักในเรื่องของการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจด้วยหุ่นยนต์ การลดต้นทุนด้านการผลิต สร้างแรงจูงใจสำหรับการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของอุปทาน ทั้งผู้ผลิตและผู้พัฒนา ที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้เกิดการใช้งานได้มากขึ้น รวมทั้งการสร้างสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาและกระตุ้นให้มีการใช้หุ่นยนต์เกิดขึ้นในไทย


หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,410 ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2561

e-book-1-503x62-7