โจทย์ธนาคารกลางในอนาคต

10 ต.ค. 2561 | 11:46 น.
เวทีเสวนาOMFIFห่วงปรับนโยบายการเงินช้าเกินไปอาจทำระบบเศรษฐกิจการเงินมีความเสี่ยงและเปราะบาง ชี้บทธนาคารกลางยกระดับประชาชนฐานรากเข้าถึงบริการเงินในราคาถูกลง -แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเพิ่มผลิตภาพประเทศ นอกจากหนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับ The Official Monetary and Financial
Institutions Forum (OMFIF)1 จัดสัมมนาวิชาการในโอกาสครบรอบ 75 ปีธปท. ในหัวข้อทิศทาง
และบทบาทของธนาคารกลางในอนาคต (Shaping the Future of Central Banks)เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2561 โดยมีผู้ว่าการและอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางจาก 8 ประเทศ ผู้บริหารของ OMFIF ผู้บริหารภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้าร่วมงาน ช่วงแรก ผู้ร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความท้าทายของธนาคารกลางในการปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ระดับปกติ (Navigating Normalization) โดยเห็นว่าแม้ ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกจะเติบโตและแข็งแกร่งมากขึ้น

bot-lo

แต่ก็มีความเสี่ยง มีความท้าทายมากขึ้นจากนโยบายกีดกันทางการค้า และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในหลายด้าน อาทิ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้โลกมีความเชื่อมโยงกัน มากขึ้น ในขณะที่การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ทำให้ระบบการเงินสะสมความเปราะบาง โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ หนี้ของภาคครัวเรือนปรับสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางมีความท้าทาย การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับปกติจำเป็นต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศแต่ละประเทศ

อย่างไรก็ดีผู้ร่วมเสวนาเห็นว่า ที่ผ่านมาประเด็นที่อาจจะยังไม่มีการสื่อสารมากนัก คือ ข้อเสียของการปรับนโยบายการเงินช้าเกินไป ซึ่งอาจทำให้ระบบเศรษฐกิจการเงินมีความเสี่ยงและเปราะบาง ทั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนาเห็นตรงกันว่าธนาคารกลางมีเครื่องมือ (Toolbox) ในการดำเนินนโยบายการเงินเพียงพอที่จะสามารถดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจและระบบการเงิน โดยความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรับมือกับความท้าทายดังกล่าว

bot1

ช่วงที่สอง ผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในบริบทเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (Macroeconomic Policy and Structural Transformation)ที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลต่อผลิตภาพการ ผลิต (Productivity) และประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายการเงินไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริง นอกจากนี้การพัฒนาที่ผ่านมาแม้จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ธนาคารกลางต้องส่งเสริมให้ ประชาชนในระดับฐานรากเข้าถึงบริการทางการเงินได้ดีขึ้นในราคาที่ถูกลง ตลอดจนอาจต้องขยายบทบาทให้ครอบคลุมการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อเพิ่มผลิตภาพของประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจแล้ว จะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืนมากขึ้น

ช่วงสุดท้าย บทบาทของธนาคารกลาง ภายใต้ยุคที่พัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินเป็นไปอย่างรวดเร็ว (The Digital Future and Challenge of Central Banks) ซึ่งในด้าน หนึ่งก็ถือเป็นโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำธุรกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน แต่ในอีกด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน ใหม่ๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ อาทิ cyber security การรักษาข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกิดจากระบบการเงินมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงและท้าทายเช่นนี้ ธนาคารกลางจำเป็นต้องปรับบทบาท เช่น ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ต้องไม่เข้มงวดจน ขัดขวางการพัฒนาทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ธนาคารกลางในฐานะผู้รักษามาตรฐานและความ น่าเชื่อถือของระบบการเงิน จำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ ให้เท่าทันให้พร้อมรับมือกับภูมิภาค

e-book-1-503x62-7