สุโขทัยเริ่มดันท้องถิ่นสู่ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

10 ต.ค. 2561 | 08:15 น.
นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี ปลัดจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานเปิดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดสุโขทัย ที่โรงแรมสุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอเมืองสุโขทัย โดยมี คณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ระดับหมู่บ้าน แกนนำกลุ่มอาชีพ ผู้แทนคณะกรรมการฯ จำนวน 47 หมู่บ้านๆ ละ 15 คน และเจ้าหน้าที่ รวม 720 คน เข้าร่วมงานเปิดโครงการครั้งนี้

su1

นายภูมิสิทธิ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการร่วมกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2544 แต่การพัฒนา OTOP ที่ผ่านมามุ่งเป็นการพัฒนาสู่การค้าแบบสากลทำให้ผลิตภัณฑ์ของคนส่วนใหญ่ไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องออกไปขายสินค้าตามที่ต่างๆ รายได้อยู่กับผู้ประกอบการคนเดียว หรือบางกลุ่ม ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ไม่ประสบผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร กอปรกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่เป็นกระแสหลักของประเทศ ส่วนใหญ่ตกไปอยู่ในกลุ่มทุนเอกชน เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ห้างร้านใหญ่ๆ กรุ๊ปทัวร์ ไม่ลงไปถึงฐานราก

su

 

จึงมีการเปลี่ยนผ่านยุคการผลักดันขายสินค้า OTOP นอกชุมชนสู่การขายสินค้าอยู่ในชุมชน ที่มาจากการท่องเที่ยว โดยใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิตวัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ แปลงรายได้ มีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งรายได้จะกระจายอยู่กับคนในชุมชน ทุกคนมีความสุข เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จึงเกิดเป็น “โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ภายใต้โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ขึ้น

su4

ทั้งนี้ โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ดำเนินการโดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มีเป้าหมายให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ในการพัฒนาอาชีพ และสร้างอาชีพในชุมชน สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนให้เป็นเครือข่าย และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่สร้างความเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในแต่ละท้องถิ่น อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นระยะยาวต่อไป

su3

e-book-1-503x62-7