บอร์ด กสทช. แต่งตั้ง "สุกิจ" แทน "เศรษฐพงค์" จ่ออุทธรณ์เยียวยาดีแทค

10 ต.ค. 2561 | 08:16 น.
    กสทช. เผยประชุมบอร์ด แต่งตั้ง สุกิจ ขึ้นเป็นประธานอนุกรรมการกลั่นกรองงานด้านกิจการโทรคมนาคมแทน เศรษฐพงค์ หลังยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 61 ชี้ยังทำงานได้ตามปกติ ย้ำประมูลคลื่น 900 MHz ถ้าดีแทคไม่มา พร้อมยื่นอุทธรณ์ทันที Image_35b51e3

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการประจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า วันนี้พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร ประธาน กสทช.ได้แจ้งในที่ประชุมกรณีการยื่นใบลาออกจากการเป็นกรรมการ กสทช. ของ พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 61 ซึ่งส่งผลให้ตำแหน่งอื่นๆ ที่เคยดำรงอยู่สิ้นสุดลงไปด้วยและเพื่อไม่ให้การทำงานของคณะกรรม กสทช. หยุดชะงักลง จึงได้มีมติแต่งตั้งประธาน กสทช. คือ พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร  ขึ้นเป็นประธานอนุกรรมการกลั่นกรองงานด้านกิจการโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นอีก 1 ตำแหน่ง โดยปัจจุบันคณะกรรมการ กสทช. มีจำนวน 6 คนซึ่งยังสามารถทำงานได้ตามปกติ เนื่องจากยังคงเหลือคณะกรรมการมากกว่า 4 คนขึ้นไปจึงไม่ได้กระทบกับการทำงาน

[caption id="attachment_330918" align="aligncenter" width="503"] พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร[/caption]

เรื่องที่ 2  มติที่ประชุม เกี่ยวกับการพิจารณายื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีการสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  ที่มีคำสั่งให้มีการเยียวยาลูกค้าโดยสามารถใช้งานคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ได้จนถึงวันที่ 15 ธ.ค. 2561 โดยวันนี้ได้มีการมอบหมายให้ท่านประธาน กสทช. เป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้  โดยสรุปถ้าดีแทคไม่มายื่นประมูล ประธานก็จะเซ็นอนุมัติในการยื่นอุทธรณ์

[caption id="attachment_330920" align="aligncenter" width="335"] พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ[/caption]

นอกจากนี้มติที่ประชุม กสทช. ยังมีมติให้การสนับสนุนโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 18 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 116,919,187.60 บาท อาทิ โครงการ ชูใจ : หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพใจผู้สูงอายุ  วงเงิน 8,938,887 บาท   2.โครงการสมุดบันทึกสุขภาพและอาหารปลอดภัยบนเพอร์มิชชั่นบล็อกเชน  วงเงิน 4,606,713.80 บาท    3.โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพแบบปัจเจกบุคคลในลักษณะองค์รวม  วงเงิน 13,038,050 บาท    4.โครงการดูแลผู้สูงอายุ ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย วงเงิน 4,053,160 บาท  5.โครงการการใช้สมาร์ตโฟนเซนเตอร์ค้นหาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันเบื้องต้นในผู้สูงอายุฯ วงเงิน 1,034,380 บาท    6.โครงการระบบติดตามตำแหน่งเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้สูงอายุในอาคาร  วงเงิน 3,376,599 บาท    7.โครงการผลิตชุดความรู้สำหรับการสอนแพทย์ทางเลือก วิถีมะเก่า ชาวล้านนา  วงเงิน 374,640 บาท   8.โครงการสำรวจทัศนคติและความต้องการของคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายต่อการนำเสนอรายการโทรทัศน์ฯ วงเงิน 3,797,430 บาท  9.โครงการการพัฒนาระบบเรดาร์ตรวจวัตถุระเบิดใต้ทางรถไฟเพื่อความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้  วงเงิน 11,309,900 บาท     090861-1927-3-335x503

10.โครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 ปฏิวัติอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้าและการป้องกันภัย  วงเงิน 11,470,000 บาท    11.โครงการพัฒนาต้นแบบ SMART Agriculture Platform   วงเงิน 4,065,486.40 บาท    12.โครงการระบบบัญชีธุรกิจครัวเรือนอัจฉริยะเพื่อพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ประเทศไทยยุค 4.0  วงเงิน 2,557,749.50 บาท   13.โครงการพัฒนาต้นแบบฟาร์มหมูอัจฉริยะด้วยเครือข่ายสื่อสาร LoRaWan   วงเงิน 2,728,928 บาท    14.โครงการการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการแปลงหนังสือแบบเรียนเป็นสื่อเกมดิจิทัลฯ วงเงิน 9,117,100 บาท   15.โครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาพัฒนาระบบออนไลน์ฯ วงเงิน 6,301,600 บาท    16.โครงการศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบตรวจจับและระบุตำแหน่งแหล่งสัญญาณที่ไม่ได้รับอนุญาตด้วยอากาศยานไร้คนขับ   วงเงิน 7,737,564 บาท   17.โครงการมิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์ฯ วงเงิน 15,411,000 บาท  และ18. โครงการถอดบทเรียนกรณีถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน : จริยธรรมของสื่อ ของกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อที่จะสร้างจริยธรรมให้กับสื่อ โดยการถอดบทเรียนจากกรณีดังกล่าวว่าเมื่อเกิดกรณีวิกฤติแบบนี้ ควรที่จะปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง ในวงเงินงบประมาณ 6,600,000 บาท e-book-1-503x62-7