เมืองพัฒนา ชุมชนเปลี่ยน กทม.เผชิญวิกฤติพื้นที่สีเขียว

12 ต.ค. 2561 | 05:33 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร เพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ กลายเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงอย่างหนัก ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนอกจาก การเกิดขึ้นของอพาร์ต เมนต์ หอพัก คอนโดฯ บ้านเดี่ยว ที่เพิ่มจำนวนมากในปัจจุบัน จะส่งผลให้พื้นที่สีเขียวในเมืองกรุงลดลงจนวิกฤติ เหลือเพียงไม่ถึง 7 ตารางเมตรต่อคนแล้วนั้น ยังต้องยอมรับว่า มีผลต่อสังคมอีกหลายด้าน โดยเฉพาะก่อให้วิถีชีวิต ของชุมชนเดิมในพื้นที่นั้นๆ เปลี่ยน แปลงไป จนเป็นความเดือดร้อนเกิดขึ้นให้เห็นในหลายกรณี

พื้นที่สีเขียวถูกทำลาย

นายยงทวี โพธิษา ผู้อำนวย การส่วนสวนสาธารณะ 2 สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ กล่าวถึงผลกระทบจากการขยายเมือง ผ่าน การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ว่า มีผลให้พื้นที่สี เขียวของกรุงเทพฯถูกทำลายไปอย่างมาก โดยปัจจุบันมีพื้นที่สีเขียวสาธารณะทั่วกรุงเทพฯเพียง 3.35 หมื่นไร่ เฉลี่ย 6.59 ตร.ม. ต่อคนเท่านั้น ถือเป็นตัวเลขที่น้อยมาก และตํ่าเกินเท่าตัว จากค่าเฉลี่ยที่ควรจะมี 15 ตร.ม. ต่อคน ขณะที่เมืองที่มีการพัฒนาอสังหาฯอย่างรวดเร็ว เช่น สิงคโปร์ ยังมีพื้นที่สีเขียวมากถึง 10 ตร.ม. ต่อคน พร้อมสะท้อนว่า พื้นที่โซนในของกรุงเทพฯที่เดิมทีเป็นชุมชน ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยโครงการใหม่แทบทั้งสิ้น บางส่วนทำลายต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีอยู่ จึงเกิดวิกฤติขึ้นในพื้นที่ลุ่มนํ้าเมื่อเกิดนํ้าท่วม และแม้มีการร้องเรียนเข้ามาบ้าง แต่การจัดการทำได้ยาก เพราะเมื่อมีการซื้อขายที่ดินไปแล้ว ก็เป็นสิทธิ์ในการพัฒนาใดๆของเจ้าของ

thumbnail-(1)

เช่นเดียวกับภาคประชาชน 7 ชุมชน กทม. ประกอบด้วย ชุมชนพญาไท ชุมชนมหาดเล็กหลวง 1-2 ชุมชนบ้านเจ้าพระยา ชุมชนสุขุมวิท 28-30 ชุมชนซอยร่วมฤดี ชุมชนถนนส่วนบุคคลราชเทวี ชุมชนอารียา เมโทร ลาดปลาเค้า ที่ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ก็เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าได้รับความเดือดร้อนจากการเกิดขึ้นของตึกสูงจำนวนมาก ทั้งมลพิษด้านเสียง ฝุ่นละออง นํ้าเสีย เพราะการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึงไม่มีการจัดการบริเวณที่ก่อสร้างให้เรียบร้อย ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรและเกิดนํ้าท่วมภายในชุมชน โดยเฉพาะย่านพญาไท-อารีย์ฯ ที่มีการร้องเรียนเรื่อยมา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของชุมชนหนาแน่น  หน่วยงานราชการ-เอกชน และร้านอาหารหลายแห่ง บางซอยมีพื้นที่แคบ และตัน รถสามารถวิ่งได้เลนเดียว ขณะที่การก่อสร้างแต่ละโครงการกินเวลานาน ทำให้รถยนต์เข้าออกบ้านพักลำบาก และติดขัดอย่างหนัก ในช่วงเช้าเข้างานและเย็นเลิกงาน

ส่วนกรณีล่าสุดที่เป็นข่าวดังลามโซเชียล เมื่อวัดไทรย่านพระราม 3 ถูกลูกบ้านคอนโดฯหรูใกล้เคียงร้อง สำนักงานเขตบางคอแหลม กทม. ขอความร่วมมือวัด ให้ลดเสียงตีระฆังยามวิกาลลง โดยอ้างว่ารบกวนการพักผ่อน รวมถึงยังพบมีร้องในลักษณะเดียวกันไปยังมัสยิดบางอุทิศ เพื่อให้ลดเสียงการประกาศเชิญชวนชาวมุสลิมมาละหมาด ทางพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามนั้น ในแง่สังคม ได้กล่าวถึงความไม่เหมาะสมต่อพฤติกรรมผู้ร้องในหลายกรณี โดยเฉพาะการออกมาระบุของ นายสนธิ คชวัฒน์  เลขาธิการชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ให้นํ้าหนักในแง่การไม่เคารพต่อข้อตกลงตามรายงานวิเคราะห์ผลกระทบและสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ตามเงื่อนไขข้อ 10, 11 และ 12 ที่กล่าวโดยสรุปว่า โครงการนั้นๆ ต้องเข้าใจและยอมรับในวิถีชีวิตของชุมชนดั้งเดิมในพื้นที่ แต่กรณีที่เกิดขึ้นเท่ากับเป็นการคุกคาม ละเมิด และ รบกวนกิจกรรมของชุมชน ที่เป็น การปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

เจริญกรุง-เจริญนครวัดพรึบ 

สอดคล้องกับนางสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ บรัษัท เจแอลแอล จำกัด ที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของที่อยู่อาศัยของไทยในปัจจุบัน หลังจากเป็นที่ต้องการจากทั้งผู้ซื้อคนไทยและคนต่างชาติเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดโครงการใหม่ๆ หลากหลายเซ็กเมนต์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะกระจุกตัวอยู่ในเมืองชั้นในแล้ว อีกหลายๆทำเลก็เริ่มมีความหนาแน่นของตึกสูง เช่น ย่านที่มีแหล่งงานขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และมิกซ์ยูส ซึ่งก่อให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยของพนักงานจำนวนมาก ขณะที่ที่ดินกลายเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ จนบางทำเล แทบไม่มีที่ดินเหลือพอให้พัฒนาโครงการแล้ว เช่น ย่านเจริญกรุง-เจริญนคร ที่เหลือเพียง ที่ดินที่วัดต่างๆ ครอบครอง โดยเฉพาะที่ตั้งของตึกแถวและห้างร้านเก่าจำนวนมาก ซึ่งมีแนวโน้มว่าในอนาคต จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นคอนโดฯ อพาร์ตเมนต์ ห้องพัก มารองรับการพัฒนาเมือง แต่อย่างไรก็ตาม การไล่ซื้อตึกแถวเก่าเพื่อทำโครงการก็ไม่ง่ายนัก

ด้านนางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ริชี่เพลซ และนายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวทิ้งท้ายว่า ในการสร้างสมดุลระหว่างการเกิดขึ้นของตึกสูงและชุมชน ตามหลักแนวทางการวางกฎเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมสำหรับผู้ประกอบการนั้น ที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ชำนาญการ อีไอเอ มีการกำหนดป้องกันผลกระทบการสร้างตึกสูงไว้ทุกด้านแล้ว เช่น มลพิษ ทางเสียง ทางอากาศ ทางนํ้า ซึ่งในแต่ละปีมีการเพิ่มข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นทุกปี จนกระทั่ง การปฏิบัติตาม กลายเป็นภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ และส่งผลต่อราคาที่แพงขึ้นในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

“ต้องยอมรับ ไม่ว่าการตัดถนนเข้าไป การก่อสร้างตึกสูงในชุมชน ก็ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวก ไม่สบายใจ แต่ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการก็มีมาตรการป้องกันดีในทุกด้าน แต่ว่าอาจมีผลกระทบเกิดขึ้นบ้างเล็กๆ น้อยๆ เป็นหน้าที่ของผู้ก่อสร้างต้องเข้า ไปดูแล เยียวยาชุมชน เป็นเรื่องสถานการณ์ชั่วคราวที่มักดูแลได้ ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด”

ทั้งนี้ ทุกฝ่ายต้องปรับตัวเข้าหากัน เนื่องจาก ปฏิเสธไม่ได้ ว่าเมืองจำเป็นต้องพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัย ขณะที่ที่ดินเองมีจำกัด และราคาสูงขึ้นมาก จนไม่สามารถทำแนวราบตามต้นทุนที่ดินได้ ฉะนั้น มองว่าทั้งชุมชนเดิม และลูกบ้านในโครงการตึกสูงก็ตาม จำเป็นต้องเรียนรู้วิถีชีวิตของกันและกัน ไม่ละเมิดสิทธิ์ รวมถึงประนีประนอม และบางส่วนควรต้องจัดกิจกรรมร่วมกันบ้าง เพื่อให้รู้จักและคุ้นเคย ให้ง่ายต่อการแก้ปัญหา ลดข้อพิพาทต่อกัน...

 

หน้า 31 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3408 ระหว่างวันที่ 11 - 13 ตุลาคม 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว