5G ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

07 ต.ค. 2561 | 11:22 น.
5G...ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล บทความพิเศษ:โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์  กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

หลังจากที่มีจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 5 พันล้านคนในปี 2017 แล้ว อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจะบรรลุเป้าหมายที่สำคัญในอีก 8 ปีข้างหน้า ด้วยจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 5,900 ล้านรายภายในปี 2025 หรือประมาณ 71% ของประชากรโลก ซึ่งการเติบโตนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอินเดีย, จีน, ปากีสถาน, อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ รวมถึงภูมิภาคแอฟริกาทางตอนใต้และละตินอเมริกา 613881BE-6D43-4304-AAB2-EFB5CE987855

การมาถึงของ 5G จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีพัฒนาการที่มุ่งไปยังความเร็วในการส่งข้อมูลที่เร็วขึ้นมาตลอด 30 ปี แต่ความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยี 5G ที่ไม่ใช่เป็นเพียงแต่เรื่องเทคโนโลยีที่สามารถให้ความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและเวลาที่ใช้ในการตอบสนองที่ต่ำลงเท่านั้น แต่ 5G จะสร้างผลกระทบอย่างยิ่งต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ operator ในปัจจุบันอย่างมากภายใน 2-5 ปีที่จะถึงนี้ (ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในลักษณะนี้มาก่อน)

โดย 5G จะเปลี่ยนรูปแบบการผลิตสินค้าในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตสินค้าแบบดั้งเดิมจะถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วภายใน 5 ปีจากนี้ ให้กลายเป็นโรงงานอัตโนมัต (automation) ด้วยการที่ 5G จะไปควบคุมหุ่นยนต์ (Robot) และ sensor ในโรงงาน เป็นต้น และจะเกิดขึ้นในทุกๆ อุตสาหกรรมในรูปแบบที่แตกต่างกัน จนทำให้แรงงานที่เราผลิตออกมาทำงานในรูปแบบดั้งเดิม ไม่สามารถทำงานในตำแหน่งงานรูปแบบใหม่ในอนาคตได้อีกต่อไป ดังนั้นประเทศจึงต้องเร่งให้มีการปรับปรุงพัฒนาขีดความสามารถ (Reskill) ของแรงงานอย่างมากในทศวรรษนี้

ดังนั้น ความสำคัญของ 5G ไม่ใช่อยู่ที่ตลาด consumer market แต่จะเป็นตลาดของอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จะโดนผลกระทบจาก Digital Transformation ดังนั้นในมุมมองของ 5G ไม่ใช่แค่อีกหนึ่ง "G" ที่ต่อยอดมาจาก 4G แต่จะเป็นการที่ต้องปรับสภาพโครงสร้างตลาด บทบาท ยุทธศาสตร์ของผู้ให้บริการรายเดิมเป็นอย่างมาก

5G จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถทำการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยไม่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากจนเกินไป เช่น ในภาคการผลิตอุตสาหกรรมโรงงาน ที่มักจะแสวงหาเครื่องมือที่จะนำไปสู่ Industry 4.0 ที่ต้องการระบบ automation อย่างเต็มรูปแบบได้ ซึ่งปัจจุบันที่เครื่องจักร เครื่องมือ ในสายการผลิตต่างมีการเชื่อมโยง โดยต่างคนต่างมีระบบของตนเอง และพื้นโรงงานที่เต็มไปด้วยการเชื่อมต่อด้วยสายที่รุงรัง แต่เมื่อนำ Robot เข้ามาในโรงงานก็จะทำให้การวางสายระเกะระกะแบบเดิมหายไป เพราะ 5G จะทำให้เกิดระบบ “Smart Wireless Manufacturing”

ระบบ “Smart Wireless Manufacturing” จะนำเทคโนโลยีไร้สาย 5G ที่มีความเสถียรเข้ามาเชื่อมโยงอุปกรณ์ IoT และ Robot เข้าด้วยกันและสามารถสั่งการได้ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่โรงงานหรือนอกพื้นที่โรงงาน (remote) ดังนั้น 5G จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ของทุกประเทศเข้าสู่ Industry 4.0 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 090861-1927-9-335x503-8-335x503

อย่างไรก็ตาม การสร้างระบบ 5G จำเป็นจะต้องลงทุนในการสร้างสถานีฐานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก (10 ถึง 100 เท่า) จากที่มีอยู่ใน 4G เดิม จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ 5G จะเกิดขึ้นได้ด้วยราคาประมูลของคลื่นความถี่ที่สูงมากที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น ระบบ 5G ควรที่จะเกิดขึ้นในย่านนิคมอุตสาหกรรมและในเมืองใหญ่ๆ ก่อนเป็นลำดับแรก จึงจะคุ้มค่าในการสร้างและลงทุน

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (2018) ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศแรกของโลก ที่มีการประมูลคลื่นความถี่ 5G ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีการเปิดตัว 5G ในช่วง 3 ปีข้างหน้าในอเมริกาเหนือและในตลาดหลักทั่วทวีปเอเชียและยุโรป ซึ่งประเทศจีน, สหรัฐฯ และญี่ปุ่น จะเป็นประเทศผู้นำในการเชื่อมต่อ 5G ภายในปี 2025 ในขณะที่ในทวีปยุโรปโดยรวมจะยังคงมีการใช้งาน 5G เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมทั้งประเทศจีน, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และยุโรป จะมีจำนวนการเชื่อมต่อประมาณร้อยละ 70 ของการเชื่อมต่อ 5G ทั่วโลก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีการเชื่อมต่อ 5G ทั่วโลกประมาณ 1.2 พันล้านเลขหมาย (จากยอดรวมกว่า 6 พันล้าน)

ประเทศไทยของเรา ยังคงต้องฝ่าด่านอุปสรรคต่างๆ ที่จะต้องนำพาประเทศไปสู่ 5G ให้ได้ ด้วยการที่เราต้องทำความเข้าใจว่า การประมูลคลื่นความถี่ที่มีราคาแพงมากติดอันดับแรกๆ ของโลกนั้น ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอาจถึงทางตัน 595959859