”ท่าเรือมาบตาพุดเฟส3” เปิดรับฟังความเห็นโค้งสุดท้าย เอกชนกว่า 100 รายโดดร่วม ต.ค.นี้ออกทีโออาร์

05 ต.ค. 2561 | 07:23 น.
 

กนอ.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน ครั้งที่ 3 โครงการพัฒนาท่าเรือฯมาบตาพุด ระยะที่ 3 นักลงทุนยังแห่สนใจเข้าร่วม 100 ราย คาดออกทีโออาร์ประกาศเชิญชวนภาคเอกไทย-เทศเข้าร่วมประมูลได้ภายในเดือนตุลาคมนี้

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยว่า วันที่ 5 ตุลาคม 2561) กนอ.ได้จัดกิจกรรมสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) ครั้งที่ 3 โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการเปิดให้ภาคเอกชนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลครั้งสุดท้าย พร้อมรับฟังรายละเอียดความก้าวหน้าผลการศึกษาโครงการต่างๆ อาทิ ข้อกำหนดสำคัญในร่าง TOR ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ร่างเอกสารสัญญาร่วมลงทุนและรายละเอียดด้านเทคนิค

โดยข้อคิดเห็นของภาคเอกชนในครั้งนี้ กนอ.จะนำไปประกอบการจัดทำเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนครอบคลุมตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ สกพอ. ในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล คาดว่าจะออกหนังสือชี้ชวนเอกชนหรือทีโออาร์ ให้นักลทุนไทยและต่างชาติที่สนใจเข้าร่วมลงทุนได้ภายในเดือนตุลาคม ปี2561 และกำหนดให้เอกชนที่สนใจยื่นข้อเสนอได้ภายในเดือนมกราคม 2562 และคาดว่าจะสามารถได้เอกชนที่ผ่านการคัดเลือกในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และโครงการฯ จะสามารถพร้อมเปิดดำเนินการได้ในต้นปี 2568

[caption id="attachment_328536" align="aligncenter" width="336"] นางสาวสมจิณณ์ พิลึก นางสาวสมจิณณ์ พิลึก[/caption]

“การสัมมนาการรับฟังความคิดเห็น (Market Sounding) ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 100 คนและได้รับความสนใจจากหน่วยงานของภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องเราจึงมั่นใจว่าการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้” ผู้ว่าการ กนอ.กล่าว

นางสาวสมจิณณ์ กล่าวอีกว่า  โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ถือเป็นหนึ่งในโครงการของ EEC Project List ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และกำหนดให้เป็นโครงการเร่งด่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และเขตจังหวัดอื่นที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับ 3 จังหวัดดังกล่าว โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลวและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการนำเข้าพลังงาน มีพื้นที่รวมทั้งโครงการราว 1,000 ไร่ แบ่งการพัฒนาโครงการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ งานขุดลอกและถมทะเล งานระบบสาธารณูปโภค งานอุปกรณ์เดินเรือ และการพัฒนาท่าเรือก๊าซบนพื้นที่ 200 ไร่ ช่วงที่ 2 การลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือ ติดตั้งอุปกรณ์ และการบริหารจัดการท่าเรือของเหลวบนพื้นที่ 200 ไร่ และพื้นที่ 150 ไร่ สำหรับธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ เมื่อแล้วเสร็จจะรองรับสินค้ากลุ่มน้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติเหลว และสินค้าเหลว คาดว่าจะสามารถขนถ่ายผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ได้รวมประมาณ 15 ล้านตันต่อปีในอีก 30 ปีข้างหน้า S__28123490

อย่างไรก็ตามการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนดังกล่าว กนอ.ได้ดำเนินการไปแล้ว จำนวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 และวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มธุรกิจเอกชนที่ให้ความสนใจโครงการ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่าเรือของเหลว กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสายการเดินเรือของเหลว กลุ่มผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง สถาบันการเงิน รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว