5 เมกะโปรเจ็กต์อีอีซี เอกชนฟันกำไร 1.12 แสนล้าน

04 ต.ค. 2561 | 10:38 น.
บอร์ดอีอีซี ไฟเขียวการลงทุนอีก 4 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 4.7 แสนล้านบาท โดยภาครัฐจะใช้เงินราว 9 หมื่นล้านร่วมลงทุนดับเอกชนที่ต้องใช้ถึง 3.8 แสนล้านบาท ชี้ 5 โครงการเร่งด่วนอีอีซี ต้องใช้เงินลงทุน 6.5 แสนล้านบาท รัฐลงทุน 2.09 แสนล้าน สร้างผลกำไร 5.5 แสนล้านบาท เปนของเอกชน 1.12 แสนล้าน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า จากที่คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบหลักการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่าโครงการรวม 1.82 แสนล้านบาท เป็นโครงการแรกที่ได้ออกเอกสารคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนกับรัฐไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 และกำหนดรับข้อเสนอเอกชนในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 66162258-EABD-44AE-9260-04A8CD9B945F

ในการประชุมกพอ.วันที่ 4 ตุลาคม 2561 จึงได้เห็นชอบหลักการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพิ่มเติมรวมอี 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก มีกองทัพเรือเป็นเจ้าภาพหลัก ที่จะเป็นผู้ลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ทางวิ่งที่ 2 และทางขับ รวมถึง อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (หลังที่ 3)  ศูนย์ธุรกิจการค้า และการขนส่งภาคพื้น ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ระยะที่ 2 นอกเหนือจากระยะแรก 500 ไร่  เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ และศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศ ซึ่งรวมถึงกิจการสาธารณูปโภคที่จำเป็น และการจัดตั้งหอบังคับการบิน ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ  โดยจะมีกการออกหนังสือชี้ชวนหรือทีโออาร์ในเดือนตุลาคมนี้ และได้เอกชนผู้ร่วมทุนในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เปิดดำเนินการ 2566

สำหรับประโยชน์ของโครงการนี้ จะส่งผลให้ประเทศไทยมีสนามบินนานาชาติขนาด 60 ล้านคน สามารถช่วยลดความอัดแอของสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ โดยสนามบินอู่ตะเภาจะกลายเป็นเมืองการบินภาคตะวันออกใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีส่วนในการสร้างงาน สร้างธุรกิจ การศึกษา  การท่องเที่ยว และการบริการอื่นๆ ให้กับประชาชนโดยทั่วไป  ในอนาคตพื้นที่จากพัทยา-ระยอง จะกลายเป็นศูนย์กลางการขยายตัวของการพัฒนาไปโดยรอบไปสู่การเป็น มหานครการบินภาคตะวันออก ในระยะ 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งจะะเป็นศูนย์กลางเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานของประเทศไทย

โดยโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนรวม 290,000 ล้านบาท เป็นในส่วนภาครัฐลงทุน 17,768 ล้านบาท และภาคเอกชน 272,232 ล้านบาท สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 189,999 ล้านบาท  ไม่นับรวมการจ้างงาน 15,640 ตำแหน่งต่อปี และมีผลตอบแทนโครงการ 193,612 ล้านบาท แบ่งเป็นภาครัฐ 119,353 ล้านบาท และภาคเอกชน 74,259 ล้านบาท

090861-1927-9-335x503-335x503

โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภาเป็นการย้ายศูนย์ซ่อม ของบริษัท การบินไทยหรือทีจี ออกจากที่เดิม เพื่อก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และ อาคารผู้โดยสารใหม่ โดยใช้เป็นโอกาสในการลงทุนให้ศูนย์ซ่อมใหม่ มีขนาดใหญ่ขึ้น และทันสมัยมากขึ้นเพื่อผลักดัน อุตสาหกรรมอากาศยานของประเทศ มีทีจี เป็นหน่วยงานหลักที่จะดำเนินงาน เช่น การซ่อมใหญ่อากาศยาน การซ่อมบำรุงอากาศยานระดับลานจอด การพ่นสีอากาศยาน และส่วนประกอบอื่น และกิจกรรมอื่นๆ ในการซ่อมบำรุงอากาศยาน ซึ่งจะสามารถออกทีโออาร์ได้ในเดือนตุลาคมนี้ และได้เอกชนผู้ร่วมทุนในเดือนธันวาคม 2561 เปิดดำเนินการกลางปี 2565

ทั้งนี้ ประโยชน์ของโครงการ จะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน และผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในภูมิภาค ได้รับเทคโนโลยีขั้นสูง และสร้างบุคลากรด้านช่างอากาศยานตามมาตรฐานสากล ซึ่งโครงการนี้จะใช้ เงินลงทุนรวม 10,588 ล้านบาท เป็นในส่วนภาครัฐ 6,333 ล้านบาท และ ภาคเอกชน 4,255 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 22,100 ล้านบาท ไม่นับรวมการจ้างงานเทคโนโลยีขั้นสูง ประมาณ 80,000 ล้านบาท และการเพิ่มรายได้จากบริการสายการบินต่างประเทศ ประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนโครงการ 38,872 ล้านบาท  แบ่งเป็นภาครัฐ 36,000 ล้านบาท และภาคเอกชน 2,872 ล้านบาท

โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เป็นโครงการที่สำคัญ ที่จะเป็นประตูส่งออกของประเทศ หากไม่เร่งดำเนินการจะทำให้ท่าเรือเดิม เต็มความจุ เป็นข้อจำกัดการส่งออก จึงต้องขยายท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าเรือระดับภูมิภาค  เพิ่มความสามารถเป็น 18 ล้าน TEU จาก 11 ล้าน TEU ในปัจจุบัน โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย จะเป็นผู้ดำเนินการถมทะเล และให้เอกชนลงทุนการให้บริการท่าเรือ โดยเริ่มต้นจากที่ F1 และ F2 ก่อน ให้เป็นท่าเรือที่ทันสมัยใช้ระบบอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม การท่าเรือฯ จะดำเนินส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานล่วงหน้าโดยเฉพาะระบบรถไฟทางคู่ให้เข้าเชื่อมระบบเรือสู่ราง โดยจะมีการออกทีโออาร์ในเดือนตุลาคมนี้ และได้เอกชนผู้ร่วมทุนในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และเปิดดำเนินการปลายปี 2566

S__28090394 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จะก่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเป็นประตูการค้าสู่ประเทศ CLMV และจีนตอนใต้ ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ เพิ่มการขนส่งตู้สินค้าโดยรถไฟไปสู่ท่าเรือ ได้รับเทคโนโลยีขั้นสูงด้านระบบจัดการท่าเรือแบบ Automation เพื่อพัฒนาบุคลากรไทย โดยจะใช้เงินลงทุนโครงการท่าเรือ F รวม 84,361 ล้านบาท เป็นภาครัฐลงทุน 53,490 ล้านบาท และภาคเอกชน 30,871 ล้านบาท มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 180,000 ล้านบาท  ไม่นับรวมการจ้างงาน มีผลตอบแทนโครงการ 76,078 ล้านบาท แบ่งเป็นภาครัฐ 73,358 ล้านบาท และ ภาคเอกชน 2,720 ล้านบาท และในอนาคตจะเปิดท่าเรือ E โดยเอกชนจะลงทุนเพิ่มอีก 29,686 ล้านบาท โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุนเพิ่มแล้ว (รวมเงินลงทุนทั้งหมด ท่าเรือ F และ E ประมาณ 114,047 ล้านบาท)

โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3เป็นการขยายท่าเรือมาบตาพุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 10.8 ล้านตันต่อปี และสินค้าเหลว ระมาณ 4 ล้านตันต่อปี ให้เป็นท่าเรืออุตสาหกรรมระดับภูมิภาค โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง  ท่าเรือก๊าซ ท่าเรือของเหลว คลังสินค้าและธุรกิจต่อเนื่อง โดยจะออกทีโออาร์ได้ในเดือนตุลาคมนี้ แลได้เอกชนผู้ร่วมทุนในเดือนมกราคม 2562  เปิดดำเนินการต้นปี 2568

โดยโครงการดังกล่าวนี้ จะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการขนถ่ายสินค้าพลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) และสินค้าของเหลว ซึ่งจะใช้เงินลงทุนโครงการท่าเรือก๊าซ 47,900 ล้านบาท เป็นในส่วนภาครัฐ 12,900 ล้านบาท และภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท สร้าง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 85,300 ล้านบาท  ไม่นับรวมการจ้างงาน มีผลตอบแทนโครงการ 47,357 ล้านบาท แบ่งเป็นภาครัฐ 34,221 ล้านบาท และภาคเอกชน 13,136 ล้านบาท และในอนาคตจะเปิดท่าเรือสินค้าเหลว และพื้นที่คลังสินค้า โดยเอกชนจะลงทุนเพิ่มอีก 7,500 ล้านบาท รัฐไม่ต้องลงทุนเพิ่มแล้ว รวมเงินลงทุนทั้งหมด ท่าเรือก๊าซ ท่าเรือสินค้าเหลว และพื้นที่คลังสินค้า ประมาณ 55,400 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากรวมการลงทุนทั้ง 5 โครงการดังกล่าว จะใช้เงินลงทุนรวม 652,559 ล้านบาท แบ่งเป็นภาครัฐ ลงทุน 209,916 ล้านบาท หรือในสัดส่วน 32%  และภาคเอกชนลงทุน 442,643 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 68% ก่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศ 819,662 ล้านบาท ไม่นับรวมการจ้างงานมากกว่าปีละ 4 หมื่นคน มีผลตอบแทนทางการเงินหรือกำไรจากโครงการ 559,715 ล้านบาท แบ่งเป็นภาครัฐ 446,960 ล้านบาท และภาคเอกชน 112,755 ล้านบาท

595959859