รถไฟฝีมือคนไทย สร้างศักยภาพส่งเสริมเพื่อการส่งออก

28 ก.ย. 2561 | 07:55 น.
200 คำสบประมาทที่ว่า “รถไฟคนไทยทำไม่ได้หรอก” คงจะถูกลบล้างไปได้แล้วเมื่อวันนี้คนไทยกลุ่มหนึ่งสามารถสร้างรถไฟฝีมือคนไทยได้สำเร็จด้วยการสั่งสมประสบการณ์ของการซ่อมเรือรบขนาดใหญ่มานานของบริษัท ปิ่นเพชร มารีน จำกัด และได้รับความไว้วางใจให้เข้ารับงานซ่อมบำรุงขบวนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จนกระทั่งเมื่อสบช่องโอกาสทางธุรกิจเมื่อร.ฟ.ท.เปิดโครงการดัดแปลงรถโบกี้ไฟฟ้าจำนวน 8 คันวงเงินกว่า 133 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมาเพื่อเปลี่ยนจากรถเก่าที่จอดทิ้งมานานให้กลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติอีกครั้ง

ปัจจุบัน “โบกี้ผลิตไฟฟ้าปรับอากาศต้นแบบ” หรือ “โบกี้รถไฟต้นแบบฝีมือคนไทย” คันแรกภายใต้การดำเนินงานของบริษัทกิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด รถไฟฝีมือคนไทย แต่ใช้มาตรฐานของยุโรปเสร็จเรียบร้อย

ความสำเร็จในครั้งนี้ต้องยกเครดิตให้กับ “เมธัส เลิศเศรษฐการ” ที่สามารถพลิกประสบการณ์ของการซ่อมเรือรบขนาดใหญ่มาสู่การซ่อมบำรุงรถไฟคันเก่าให้นำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง อีกทั้งยังต่อยอดไปสู่การยกระดับศักยภาพวงการรถไฟไทยในด้านอื่นๆได้อีกด้วยเนื่องจากร.ฟ.ท.ยังมีแผนใช้งบปี 2562 ว่าจ้างสร้างเพิ่มอีก 12 คันอีกทั้งยังมีความต้องการอีกไม่น้อยกว่า 100 คันเพื่อให้บริการทั่วประเทศผ่านระบบโครงข่ายรถไฟทางคู่
544 มีความร่วมมืออย่างไร

ทั้งนี้นายเมธัส เลิศเศรษฐการ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัทปิ่นเพชร มารีน จำกัด  ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า เพราะได้พันธมิตรที่ดีจากหลายฝ่ายมาระดมองค์ความรู้ผนวกเข้ากับประสบการณ์ในการซ่อมบำรุงเรือรบขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนทางด้านเครื่องกลมาปรับใช้จนสามารถสร้างรถไฟฝีมือคนไทยได้สำเร็จ คิดเป็นราคาประมาณคันละ 12.5 ล้านบาท (ตํ่ากว่าราคากลางที่กำหนดไว้คันละ 16 ล้านบาท) แตกต่างจากรถไฟนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูงเกือบคันละ 70 ล้านบาท

ประกอบกับปริมาณจำนวนน้อยเพียง 8 คันบริษัทผู้ผลิตรถไฟชั้นนำของโลกย่อมไม่สนใจแน่ๆเพราะคงเห็นว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งรัฐบาลไทยยังมีนโยบายให้เกิดการผลิตในประเทศไทย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนของคนไทย ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรที่ดีอย่างผู้บริหาร.ฟ.ท.ที่เปิดโอกาสให้คนไทยได้แสดงศักยภาพ ตลอดจน ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา หัวหน้าโครงการออกแบบ วิเคราะห์และทดสอบ  รถโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (รถไฟ บฟก.ป.) และผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย ดร.ทรงศักดิ์ สุธาสุประดิษฐ์ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญโครงการออกแบบวิเคราะห์และทดสอบ  รถไฟ  บฟก.ป. ตลอดจนพันธมิตรที่ดีด้านเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศอีกหลายคนที่ระดมผลงานวิจัยไปสู่ภาคปฏิบัติด้านการผลิตได้สำเร็จ
090861-1927-9-335x503-8-335x503 เพิ่มเพื่อน

“นายเมธัส” ยังได้ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของรถไฟพาวเวอร์คาร์ฝีมือคนไทยอีกว่า จากการทดสอบเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่สามารถลดค่าเชื้อเพลิงไปได้กว่า 1.5 หมื่นบาท จึงจะช่วยลดภาระหัวรถจักรให้สามารถยืดอายุการทำงานได้ ไม่ต้องติดเครื่องเพื่อปั่นไฟในช่วงเวลาจอดหรือหยุดรถ ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ลดการสึกหรอ อีกทั้งยังสามารถสลับเปลี่ยนไปยังขบวนอื่นๆได้ทันที ส่งผลให้ลดเสียงรบกวนในตู้โดยสารได้อย่างดีอีกด้วย

โดยส่วนใหญ่จะใช้โครง สร้างรถ JR คันเก่าที่นำเข้าจากญี่ปุ่นมาดัดแปลงใหม่ในช่วงล่าง แล้วเสริมโครงโบกี้ให้แข็งแรง โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่เริ่มต้นพัฒนาล้วนต้องใช้ผลงานวิจัยจากในประเทศและต่างประเทศผสมผสานกัน องค์ความรู้จากแหล่งต่างๆถูกระดมมาใช้เกิดเป็นความท้าทายเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จที่คาดหวังไว้และสามารถผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของโลกที่กำหนดไว้ได้จริง

“ถ้าเราสร้างรถไฟเองไม่ได้ก็อย่าไปถามถึงว่าจะเก่งเรื่องการซ่อมบำรุงได้อย่างไร แต่วันนี้ได้พันธมิตรที่จะเข้ามาช่วยเหลือประเทศไทยจำนวนมาก จึงเป็นกำลังใจและโอกาสที่จะเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยให้รัฐบาลไทยได้เร่งให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อไป”
pic P12-1(เมธัส00).JPG แนวทางต่อยอดโครงการ

สำหรับกระบวนการผลิตชิ้นส่วนต่างๆของรถไฟฝีมือคนไทยครั้งนี้วัสดุบางส่วนนั้นยังต้องใช้การนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศ เพียงแต่จะต้องนำมาปรับใช้ให้ได้หลากหลายซึ่งเล็งเห็นว่ารถไฟเจนเซตยังมีแนวโน้มความต้องการด้านการตลาด จึงสามารถผลิตนำไปใช้งานและส่งออกแข่งกับต่างประเทศได้อีกด้วย ดังนั้นปมปัญหาเรื่องเหล็กต้นน้ำในวันนี้จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป เนื่องจากการคิดและวางแผนออกแบบผลิตเองเป็นความสำคัญที่สุด

“รถไฟคันแรกที่บริษัทสร้างขึ้นนี้ใช้เทคโนโลยีทรานส์เฟอร์จากต่างประเทศราคาถูกมามากลองผิดลองถูกเป็นระยะกว่า  1 ปีกว่าจะรู้ไลน์การผลิตที่ชัดเจนโดยเตรียมผลักดันไปสู่การใช้นวัตกรรม และจะขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป”

|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3403 หน้า 12 ระหว่างวันที่ 23-26 ก.ย.2561
595959859