ติดเครื่องดิจิตอลไทยแลนด์ ปั้นไทยติด ท็อป 3 ของภูมิภาค

24 ก.พ. 2559 | 04:00 น.
พลันที่คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย (พ.ศ.2559-2561) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นการผลักดันของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ต่อเรื่องนี้ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ถึงแผนยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

 ที่ผ่านมากฎหมายดูแผ่วลง

หลังจากมีการปรับ ครม.(คณะรัฐมนตรี) สั่งให้ทบทวนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว และ ขณะนี้บางรายได้มีการทบทวนแล้วและจะนำเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ สนช.(สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เป็นลำดับต่อไป

 กม. 2 ฉบับจะเข้าสนช.เดือนนี้

เขายังระบุอีกว่า ร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไม่ได้ลดบทบาทลง ในช่วงที่มีการปรับ ครม.รัฐบาลสั่งให้ทบทวนไว้ทั้งหมดตอนนี้การทบทวนร่างกฎหมายกำลังเดินหน้าไปได้มากได้มีการประสานกับสนช. คาดว่าภายใน 1-2 เดือน ร่างกฎหมายคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ สนช. โดยมีร่างกฎหมายนำเข้าพิจารณา 2 ฉบับ คือ ร่างกฎหมายการจัดตั้ง คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ ดีอี และ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ ร่างพ.ร.บ.อีกจำนวน 8 ฉบับจะทยอยเข้าสู่สภาเช่นเดียวกันคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้

คงชื่อกระทรวงดีอี

ทั้งนี้ยังคงชื่อกระทรวงดีอี (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)เหมือนเดิม เพราะ มีเรื่องของการสร้างหน่วยงานใหม่มารองรับ และ กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ มีสำนักงานหน่วยงานระดับกรมทำหน้าที่รองรับกับสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลฯ

อย่างไรก็ดีในขณะที่ กสทช.ยังเป็นองค์กรอิสระเหมือนเดิม ของเก่ารัฐบาลทบทวนหมด แต่ในองค์กรอิสระการทำงานต้องสอดรับนโยบายของภาครัฐ โครงสร้างเดิมก็ไม่มี กสทช.อยู่ในนั้นถ้าร่างกฎหมายดีอีบอกให้สลายองค์กรอิสระ ต้องมี พ.ร.บ.สลายองค์กรอิสระฯ แต่โครงสร้างใหม่ผมยืนยันว่าไม่มี รมว.ไอซีทีย้ำ

ทางด้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองส่วนบุคคลที่จะแก้ไขอย่างไรนั้น อุตตม กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างการทบทวนยังไม่เสร็จ แต่กรอบของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลทุกประเทศที่ขับเคลื่อนในเรื่องนี้ ให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และพ.ร.บ.คุ้มครองส่วนบุคคล ทั้ง 2 เรื่องนี้ต้องไปด้วยกัน ร่างกฎหมายทำไว้เดิมก็มี 2 เรื่องนี้แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงคิวและกำลังจะเริ่มทบทวน

 ย้ำ กสทช.เป็นองค์กรอิสระ

อย่างไรก็ดีในขณะที่ กสทช.ยังเป็นองค์กรอิสระเหมือนเดิม ของเก่ารัฐบาลทบทวนหมด แต่ในองค์กรอิสระการทำงานต้องสอดรับนโยบายของภาครัฐ โครงสร้างเดิมก็ไม่มี กสทช.อยู่ในนั้นถ้าร่างกฎหมายดีอีบอกให้สลายองค์กรอิสระ ต้องมี พ.ร.บ.สลายองค์กรอิสระฯ แต่โครงสร้างใหม่ผมยืนยันว่าไม่มี รมว.ไอซีทีย้ำ

ทางด้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองส่วนบุคคลที่จะแก้ไขอย่างไรนั้น อุตตม กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างการทบทวนยังไม่เสร็จ แต่กรอบของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลทุกประเทศที่ขับเคลื่อนในเรื่องนี้ ให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และพ.ร.บ.คุ้มครองส่วนบุคคล ทั้ง2 เรื่องนี้ต้องไปด้วยกัน ร่างกฎหมายทำไว้เดิมก็มี 2 เรื่องนี้แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงคิวและกำลังจะเริ่มทบทวน

 นำร่อง24โครงการงบ 3.7พันล.

รัฐมนตรีไอซีที ยอมรับว่า เรื่องของการใช้เทคโนโลยีนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การขับเคลื่อนพัฒนาสังคมไปสู่ดิจิตอลเป็นเรื่องใหม่ของประเทศ ซึ่งภาครัฐกำหนดทิศทางนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวทันประเทศอื่นเป็นเรื่องที่มีโอกาสที่ดีมากของประเทศ ถ้าทุกหน่วยงานของภาครัฐช่วยกันขับเคลื่อนพลิกโฉมประเทศไทยได้

สิ่งที่ท้าทายคือ ในการดำเนินการว่าให้เป็นไปตามนโยบายทิศทางของแผนแม่บทในการพัฒนารัฐบาลดิจิตอลของประเทศได้รับความเห็นชอบแล้วเข้าสู่ปฏิบัติ ในด้านปฏิบัติเป็นความท้าทายอยู่ที่ว่าจะปฏิบัติให้ได้ตามแผนนั้นทันกาลและได้ผลสัมฤทธิ์
ขณะนี้มีโครงการนำร่องแล้ว 24 โครงการที่จะดำเนินการเพื่อสอดรับกับแผนแม่บท ซึ่งกระทรวงมีงบประมาณแล้ว 3.7 พันล้านบาทเป็นงบเดิมที่เหลือจากการจัดซื้อแท็บเลตกระทรวงได้ขอคณะรัฐมนตรีแปลงเป็นงบเพื่อลงทุนและกิจการที่สนับสนุนเศรษฐกิจดิจิตอล รมว. ไอซีที กล่าว

  เป้าหมายขยายโครงข่ายทั่วปท.

เกี่ยวข้อง 4 ด้าน 1.ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้มีประสิทธิภาพ 2. เป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจใช้เทคโนโลยีเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย ให้ก้าวทันเวทีโลก,3.ภาคสังคม เกี่ยวข้องกับมิติหลักๆ และ 4.ภาครัฐมีหน้าที่ให้บริการประชาชนนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์มากที่สุดเป็นสิ่งที่จำเป็นให้บริการได้รวดเร็ว ขณะเดียวกันภาครัฐใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลมีมากมายมหาศาล ลดความซับซ้อน มีความมั่นคงปลอดภัย

แผน ทั้ง 4 เป้าหมายแปลงเป็นแผนงานการขับเคลื่อน เช่น ถ้าพูดถึงโครงสร้างพื้นฐานโครงการอินเตอร์เน็ต คือ โครงการยกระดับโครงข่ายโทรคมนาคมให้ครอบคลุมทั่วประเทศรวมไปถึงการขยายขีดความสามารถศักยภาพในการเชื่อมโยงโทรคมนาคม คือ อินเตอร์เน็ต กับไทยและระหว่างประเทศ โดยใช้งบลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท ที่สำคัญ คือ โครงข่ายพวกนี้เป็นกายภาพโดยตัวมันเองไม่สามารถทำให้สมบูรณ์ได้ในการพัฒนาประเทศโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล

แต่สิ่งที่สำคัญ คือ เนื้อหา (content) นี่คือที่มาคือโครงการนำร่อง 24 โครงการแบ่งเป็นกลุ่มงาน โครงการเหล่านี้เกี่ยวกับคอนเทนต์ พอโครงข่ายไปถึงไม่มีคอนเทนต์ไปไม่มีประโยชน์ เช่น โครงการเรื่องการศึกษาที่ทำกับกระทรวงศึกษาธิการที่ทำกับ กศน. (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) ภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษามีแพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิต mooc (MassiveOpen Online Course) ประเทศไทยมีแพลตฟอร์มทั้งหมด 4 แพลตฟอร์มหลัก แบ่งเป็นของกระทรวงศึกษาธิการ 3 แพลตฟอร์ม และ สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) จำนวน 1 แพลตฟอร์ม และ ยังร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการพัฒนา "ทัวริสต์เกตเวย์" และ กำลังร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำร่วมกันแล้วคือโรงพยาบาลใน จังหวัดนครนายก

ปรับลุกไอซีทีชุมชน

ปัจจุบันศูนย์ไอซีทีมีจำนวน 2 พันแห่งในปีนี้จะอนุมัติอีก 300 แห่ง รวมเป็น 2,300 แห่ง และจะปรับปรุงให้แตกต่างกันจากเดิมซึ่งทีมงานเรียกว่า "ดิจตอลคาเฟ่ระดับหมู่บ้าน" เหมือนการวางโครงสร้างพื้นฐานกระทรวงสร้างถนนใหญ่ เข้าบ้านในหมู่บ้าน เอกชนเป็นผู้ลงทุนการสร้างถนนลดต้นทุนให้เอกชน เพราะพื้นที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นมีจำนวน 7.4 หมื่นหมู่บ้านจากการสำรวจมี 4 หมื่นหมู่บ้านใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง แต่อีกจำนวน 3 หมื่นหมู่บ้านยังไม่สามารถใช้งานได้ยังเกิดความเหลื่อมล้ำ

ถามว่าโครงข่ายบรอดแบนด์ที่สร้างเสร็จเป็นของใคร ? ตอบได้เลยว่าเป็นของรัฐบาล ที่จะต้องบริหารจัดการ 2-3 แนว คือ งบบำรุงรักษามีอยู่แล้ว และ ที่ผ่านมารัฐบาลมีหลักการใช้โครงข่ายร่วมกันดังนั้นโครงข่ายที่วางใหม่สามารถพิจารณาร่วมกับเอกชนด้วยตั้งเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน สามารถขายทรัพย์สินให้กับผู้สนใจและนักลงทุนอันนี้เป็นหลักการกำลังหารือ ในประเทศสิงคโปร์รัฐบาลซื้อไฟเบอร์ที่เข้าไปในบ้านจากเอกชนและให้เอกชนมาเช่าใช้ กระทรวงไอซีทีใช้หลักการเดียวกัน

ขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายประเทศไทยจะติด 1 ใน 3 ของภูมิภาค ภายใน 5 ปี ถ้าต่างชาติมองในอาเชียนไทยแลนด์เป็นเกตเวย์ของอะไร แต่มองด้านไอซีที คือ โทรคมนาคมดิจิตอล จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 5 ปีนี้จะเห็น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,133 วันที่ 21 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559