“ผู้ว่ากนอ.” คนใหม่เร่งขับเคลื่อนงานพัฒนานิคมพื้นที่อีอีซี

27 ก.ย. 2561 | 09:39 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพร้อมเดินหน้าสานต่องานเร่งพัฒนานิคมและท่าเรืออุตสาหกรรมในอีอีซี  การพัฒนานิคมในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน  หวังรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่

รายงานข่าวจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่งตั้ง นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2561 เป็นต้นไปว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการกนอ.คนใหม่จะเร่งกำหนดแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของหน่วยงานในปีงบประมาณ 2562 อาทิ การพัฒนานิคมและท่าเรืออุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี (EEC) การพัฒนานิคมในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) โดยเฉพาะ ต้องเดินหน้าเมกะโปรเจกต์ที่สำคัญอย่าง ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่  3 และนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี

thumbnail_ภาพเซ็นสัญญาผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้  ที่ผ่านมา ครม. เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2561 มีมติแต่งตั้งนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ผวก. กนอ.) แทนนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม  ที่สิ้นสุดวาระการปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยการแต่งตั้งดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2561 เป็นต้นไป

สำหรับการปฏิบัติงานในวาระของผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรม หลังจากเข้ารับตำแหน่ง ต้องเร่งขับเคลื่อนเมกะโปรเจกต์ที่สำคัญต่างๆในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ (EEC) และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หรือ (SEZ) ที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค จังหวัดระยอง ตลอดจนยกระดับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้ก้าวสู่ในการเป็นนิคมอุตสาหกรรมในระดับอีโค เวิล์ด คลาส (Eco-World Class)

thumbnail_ภาพคณะผู้บริหาร

ที่ผ่านมานางสาวสมจิณณ์ พิลึก เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สายงานกิจการพิเศษ) จบการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มีความเชี่ยวชาญในด้านสาธารณสุข อาชีวอนามัย การจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงธุรกิจอุตสาหกรรมและการลงทุนเป็นอย่างดี

e-book-1-503x62-7