ลุ้นพรุ่งนี้ วัดใจ สนช.กฎหมายน้ำผ่านฉลุย?

27 ก.ย. 2561 | 04:36 น.
S__4997127

 

พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ....พร้อมด้วยกรรมาธิการวิสามัญ แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. .... และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้น เป็นช่วงระยะเวลากว่า 570 วัน ที่คณะกรรมมาธิการวิสามัญ จำนวน 141 ครั้ง ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 52 จังหวัด

โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในส่วนภูมิภาค จำนวน 9 ครั้ง และจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นในส่วนกลาง จำนวน 1 ครั้ง รวม จำนวน 10 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น จำนวน 2,097 คน ซึ่งได้นำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะทุกประเด็นมาประกอบพิจาณาและได้แก้ไขเพิ่มเติมในหลายมาตรา บัดนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติฯ เสร็จแล้ว และได้บรรจุในระเบียบวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งขาติในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 28 ก.ย.61)เพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ต่อไป

สำหรับประเด็นสำคัญที่คณะกรรมาธิการวิสามัญได้แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ 1.เรื่องโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญได้แก่ไขเพิ่มเติมให้สำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) ทำหน้าที่ป์นสำนักงานเลขานุการของคณะทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) รวมทั้งการกำหนดให้มีการตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจในภาวะที่เกิดปัญหาวิกฤตน้ำ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวนั้น เพื่อให้สอดรับกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ที่ 46/2560 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2560  เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อันเป็นผลให้มีหลายมาตราแตกต่างกับร่างพระราชบัญญัติฉบับที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับหลักการไว้แล้ว

Dg2nYFRUcAEIQYT

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในภาวะวิกฤตน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมารัฐบาลและ สทนช.ได้บริหารจัดการภาวะดังกล่าวโดยนำแนวทางตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มาทดลองปฎิบัติแล้ว โดยรัฐบาลได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ เพื่อติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการน้ำตลอด 24 ชั่วโมง โดยรวบรวมข้อมูลน้ำทั่วประเทศจากทุกหน่วยงานมาประมวลผลเป็นข้อมูลเดียวกัน ซึ่งถือเป็นการบูรณาการทำงานของ สทนช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 9 หน่วยงาน (กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมประชาสัมพันธ์ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) จนทำให้ผ่านพ้นวิกฤตนั้นได้ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการดำเนินการ แต่ทำให้เห็นว่าหากพระราชบัญญัติฉบับน้มีผลใช้บังคับแล้ว หน่วยงานผู้ปฎิบัติที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปปฎิบัติได้และช่วยให้การบริหารทรัพยากรน้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

TP-15-3297-5-503x468

พล.อ.อกนิษฐ์ กล่าวอีกว่า  ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญได้แก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดให้มีการจัดทำ “ผังน้ำ” ซึ่งจะเป็นแผนที่/แผนผัง ที่จะแสดงระบบทางน้ำทั้งประเทศ โดยมีหลักการสำคัญ คือ ต่อไปหากจะมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำตามผังน้ำ จะต้องไม่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำหรือกีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำ ซึ่งก็จะทำให้การป้องกันแก้ไขภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ประกอบด้วยไป 1. น้ำสาธารณะที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ 2.น้ำในทางน้ำชลประทาน และ 3.น้ำบาดาล ทั้งนี้น้ำ แต่ละประเภทมีข้อแตกต่างกันในเชิงเทคนิคและมีกฎหมายเฉพาะรองรับอยู่ คณะกรรมาธิการวิสามัญจึงมีความเห็นว่า รายละเอียดในหมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ ซึ่งจะมีสาระสำคัญที่อยู่ที่การแบ่งประเภทการใช้น้ำในลักษณะ รายละเอียดการใช้น้ำในแต่ละประเภท แม้ว่าในการแก้ไขเพิ่มเติมของคณะกรรมาธิการวิสามัญจะยังคงให้การแบ่งประเภทการใช้น้ำเป็น 3 ประเภทตามร่างเดิมที่เสนอมา

สนช.-copy-503x335

แต่ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน มีหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่และให้อำนาจเกี่ยวข้อง จึงมีจำเป็นต้องให้ระยะเวลากับ สทช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมชลประทาน กรมน้ำบาดาล และกรมทรัพยากรน้ำ ไปศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนและจะต้องจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนที่จะออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ ส่วนเรื่องการจัดเก็บภาษีน้ำตามที่ได้เคยปรากฎข่าวออกมานั้น ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญขอเรียนว่าตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้มีการกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีน้ำไว้แต่อย่างใด ดังนั้นขอให้ได้ทำความเข้าใจกับประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อให้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและป้องกันการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้นได้

e-book-1-503x62-7