"ดิจิทัล ไทยแลนด์ บิ๊กแบง 2018" เงินสะพัด 500 ล้าน!!

26 ก.ย. 2561 | 09:23 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

'ดีป้า' เผย การจัดงาน "ดิจิทัล ไทยแลนด์ บิ๊กแบง 2018" เงินสะพัด 500 ล้าน คนเข้าชม 4.1 แสนคน

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เผยถึงความสำเร็จของงาน Digital Thailand Big Bang 2018 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ภายใต้แนวคิด "THAILAND BIG DATA : โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน" จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย. 2561 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า เป็นการจัดงานมหกรรมดิจิทัลระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับกระแสตอบรับอย่างดี มีผู้เข้าชมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สตาร์ตอัพ เอสเอ็มอี ผู้ประกอบการ นักลงทุน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนคนไทยและต่างชาติ จนทำให้ตลอด 5 วันของการจัดงาน มีผู้เข้าชมงานล้นหลามกว่า 355,000 คน เมื่อรวมกับยอดผู้เข้าชมงาน Digital Thailand Big Bang Regional 2018 ที่ depa ได้ไปจัดสัญจรใน 4 ภูมิภาคของประเทศในเมืองใหญ่ ได้แก่ จ.ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา และระยอง ช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. 2561 อีก 61,089 คน ทำให้ยอดผู้เข้าชมงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 410,000 คน ซึ่งยังไม่รวมยอดผู้ที่เข้ามาชมงานผ่านการถ่ายทอดสด และรับชมย้อนหลังผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ได้อีก คาดว่าจะมียอดเข้าถึงบนโลกออนไลน์กว่า 10 ล้านคน จนถึงสิ้นปี


S__726057004

ด้าน ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวย้ำความสำเร็จของงาน ว่า นอกจากเกิดกระแสตื่นตัวเรื่องดิจิทัลไปในวงกว้างทั่วประเทศแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม อาทิ เกิดเม็ดเงินลงทุนระหว่างการจัดงานกว่า 500 ล้านบาท จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมออกบูธกว่า 480 ราย, เกิดการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างสตาร์ตอัพและผู้ประกอบการกว่า 100 ราย, เกิดโอกาสทางการศึกษาด้านดิจิทัลให้แก่เยาวชนใน 3 ระบบใหญ่ Coding Education, Software Learning and Hardware Learning ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยใช้ดิจิทัล, เกิดการเข้าถึงการบริการของประชาชนผ่าน Digital Service ในหลากหลายสาขา เช่น บริการทางการแพทย์ บริการทางการเงิน บริการทางการค้า บริการด้านข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เป็นต้น ตลอดจนเกิดการรับรู้ของนานาชาติต่อบทบาทและทิศทางของประเทศมากกว่า 40 ประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อภาพพจน์ของไทยที่ดีในเวทีโลกต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังเกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในหลายเรื่อง ได้แก่ Digital Startup, Smart City, Digital Manpower, Digital Community, Data Analytics และ Digital Education System

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว