สัมปทานปิโตรฯ ต้องโปร่งใส

26 ก.ย. 2561 | 04:45 น.
565965959959 22222 กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เปิดประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณและบงกช ในรูปแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) มีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานเข้าร่วมยื่นเสนอตัว 4 ราย มากันครบทั้ง Chevron จากสหรัฐฯ, ปตท.สผ.ของไทย,Total E&P จากฝรั่งเศสและมูบาดาลาจากตะวันออกกลาง

การพิจารณาหาตัวผู้ชนะประมูล ต้องเปรียบเทียบข้อเสนอทั้งหมด ทั้งราคาก๊าซเฉลี่ยจากสัญญาแหล่งบงกชเหนือและบงกชใต้ ต้องไม่สูงกว่า 214.26 บาทต่อล้านบีทียู โดยให้นํ้าหนักคะแนนถึง 65%, ส่วนแบ่งกำไรรัฐต้องได้ไม่ตํ่ากว่า 50% มีสัดส่วนคะแนน 25%, ผลประโยชน์พิเศษ ให้นํ้าหนักคะแนน 5% และสัดส่วนการจ้างบุคลากรสัญชาติไทยสิ้นปีแรกต้องไม่ตํ่ากว่า 80% และปีที่ 5 ต้องไม่ตํ่ากว่า 90% มีนํ้าหนักคะแนน 5%
111111 กระทรวงพลังงานประเมิน การประมูลครั้งนี้จะก่อให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชน 1.2 ล้านล้านบาท และทำให้เกิดรายได้จากการขายปิโตรเลียมประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท หักค่าใช้จ่ายคิดเป็นกำไรประมาณ 9 แสนล้านบาท เป็นกำไรภาครัฐกว่า 7 แสนล้านบาท นับจากปี 2565 ไปอีก 10 ปีข้างหน้า โดยทั้ง 2 แหล่งผลิต มีกำลังผลิตก๊าซรวมกัน 2,110 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ 75% ของก๊าซที่ผลิตในอ่าวไทยทั้งหมด เอกชนได้สิทธิสำรวจปิโตรเลียม 3 ปี ต่อได้อีก 3 ปี และสิทธิในการผลิตปิโตรเลียมอีก 20 ปี
090861-1927-9-335x503-8-335x503 เพิ่มเพื่อน

รัฐบาลหมายมั่นปั้นมือให้การประมูลครั้งนี้ เป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศมีความต่อเนื่อง ลดการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี ที่ต้องซื้อในราคาตลาดโลก โดยไม่สามารถกำหนดชะตากรรมได้ อันจะนำไปสู่การเพิ่มภาระต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะหากเปิดแข่งขันและมีการผลิตก๊าซได้ขั้นตํ่าที่ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เชื่อว่าประเทศได้ประโยชน์จากการลดภาระในการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีได้ประมาณ 11 ล้านตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านบาท ลดการนำเข้าก๊าซแอลพีจีได้ประมาณ 22 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.6 แสนล้านบาท

[caption id="attachment_323688" align="aligncenter" width="503"] พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี[/caption]

เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ นำโดยพ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี แสดงท่าทีคัดค้านการเปิดประมูลรอบนี้ โดยขอให้กระทรวงพลังงานชะลอการประมูลออกไป 3 เดือน เพื่อตั้งคณะกรรมการเข้ามาศึกษาร่วมกันรวมทั้งแก้ไขทีโออาร์โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่เป็นของรัฐเพียง 30% เท่านั้น

พิจารณาจากช่วงเวลาของสัมปทานเดิมที่สิ้นสุด และกระบวนการทำงานในการเข้าสำรวจ ผลิตก๊าซธรรมชาติคงเลี่ยงได้ยาก ที่จะทอดเวลาออกไป เพียงแต่การคัดเลือกให้เอกชนรายใดได้สิทธินี้ไป กระทรวงพลังงานต้องทำด้วยความโปร่งใส ตอบได้ทุกคำถาม โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับรัฐและผลประโยชน์ภาพรวมที่จะเกิดกับประเทศ

|บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
|ฉบับ 3404 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 27-29 ก.ย.2561
595959859