ชงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่!! สกัดวิ่งข้ามภาค-ข้ามจังหวัด

23 ก.ย. 2561 | 10:19 น.
599220947

ผู้ตรวจเกษตรฯ ชงจัดโควตานมโรงเรียน เทอม 2/2561 เลียนโมเดลอียู เน้นโลจิสติกส์สั้นที่สุด เลือกสหกรณ์โคนมในจังหวัดก่อนเป็นลำดับแรก ชี้ 3 ปี ปัญหานมบูดเสีย โรงนมวิ่งมั่วข้ามภาค ข้ามจังหวัด

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
ว่า ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานเรื่องโครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียน จากการตรวจราชการในพื้นที่ รอบปีที่ผ่านมา พบปัญหาเรื่องนมโรงเรียนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.ปัญหาด้านเทคนิค การแปรรูปนม Pasteurized Milk ของสหกรณ์โคนม ยังมีข้อบกพร่อง มีผลกระทบต่อคุณภาพนม

2.การจัดสรรโควตาส่งนมข้ามจังหวัดโดยไม่จำเป็น ทำให้มีปัญหาเรื่องต้นทุนขนส่งที่ต้องแพงขึ้น และปัญหาควบคุมคุณภาพนมที่ต้องใช้เวลาขนส่งมากขึ้น (ปัญหาด้าน Logistics) เช่น เด็กประจวบคีรีขันธ์ต้องดื่มนมจาก อ.เมืองกาญจนบุรี หรือ นครปฐม ในขณะที่ นมจากประจวบคีรีขันธ์ต้องส่งไปภาคใต้ตามระบบจัดสรรโควตาในปัจจุบัน เป็นต้น และ 3.ปัญหา Yield น้ำนมดิบต่ำมาก ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตนม Pasteurized Milk อยู่ในระดับสูง

ดังนั้น ข้อเสนอเชิงนโยบาย 1.กระทรวงควรมีโปรแกรมที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้สหกรณ์โคนมทุกแห่งสามารถผลิตนม Pasteurized ได้อย่างมีคุณภาพ สามารถเข้าร่วมโครงการนมโรงเรียนได้ทุกสหกรณ์ และหากพบปัญหาการผลิต ก็ต้องจัดเป็น Priority ที่จะต้องมีกรอบเวลาและงบประมานสนับสนุนที่ชัดเจน จะเป็นการขับเคลื่อนนโยบายใน 3 มิติ คือ

1.การจัดระบบตลาดให้กับสหกรณ์โคนมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น (Market Organization of Dairy Sector) เช่นเดียวกับระบบ Common Market Organization of Agricultural Products ของ EU ภายใต้ CAP Reform

2.นโยบายช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีรายได้ที่มั่นคง (Steady Income) ผ่านการสนับสนุน (Support) จากรัฐที่ชัดเจนมากขึ้น และทำให้โครงการนมโรงเรียนมีส่วนสนับสนุนการปฏิรูปภาคเกษตร มีผลช่วยยกระดับรายได้เกษตรกร ในสาขา Dairy Sector โดยตรง (Direct Support) มากยิ่งขึ้น และลดต้นทุนน้ำนมดิบให้กับสหกรณ์โคนมทุกแห่ง เป็น Top Priority โดยมีเป้าการเพิ่ม Yield โคนมเป็นรายสหกรณ์ ทุกสหกรณ์ และจัด Program สนับสนุนและส่งเสริมการผลิตอาหารวัวนมและการจัดการคอกที่ชัดเจน

3.จัดระบบโควตานมโรงเรียนให้ชัดเจน และมีส่วนสนับสนุนสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม เช่นเดียวกับ CAP Reform ของ EU ได้แก่

(1) สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมทุกแห่ง ควรมีส่วนร่วมและต้องได้รับจัดสรรโควตาระบบนมโรงเรียน ภายใต้การสนับสนุน เพื่อให้สหกรณ์โคนมทุกแห่งมีความเข้มแข็งและเข้าร่วมโครงการได้ (ให้เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล)

(2) การปฏิรูประบบโควตานมโรงเรียนภายใต้หลักการเส้นทางขนส่งนม Pasteurized ต้องสั้นที่สุด เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และการควบคุมคุณภาพระหว่างขนส่ง คือ จังหวัดใดที่มีสหกรณ์โคนมและมีนม Pasteurized ต้องให้ Priority ส่งในจังหวัดนั้นก่อน หากมีส่วนเหลือจึงจะให้ส่งข้ามจังหวัด ในระยะทางที่สั้นที่สุด ในทางกลับกัน จังหวัดใดที่ไม่มีสหกรณ์โคนม ก็ต้องรับโควตาจากสหกรณ์ ที่มีระยะทางสั้นที่สุด

จากการศึกษาบทเรียน CMO ภายใต้ CAP Reform ของ EU พบว่า มีการเชื่อมโยง Program สนับสนุนนมโรงเรียนและอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน กับระบบ Common Market Organization for Agri-Products โดยตรงและชัดเจน โดยเฉพาะการสนับสนุนเกษตรกรในเรื่อง Market สำหรับน้ำนมดิบ (Raw Milk) กล้วย (Banana) ผักและผลไม้อื่น ๆ (Fruits & Vegetables) ที่จำเป็นต่อโภชนาการของเด็กนักเรียน ประเทศไทยสามารถนำระบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้มีผลต่อการเชื่อมโยงไปสู่ระบบตลาดสินค้าดังกล่าวของเกษตรกรได้โดยตรง


090861-1927-9-335x503-8-335x503-5-335x503

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว