กรมอุตุฯ ค้นพบ 'เอลนีโญ' สร้างภัยแล้งกระทบภาคเหนือ

22 ก.ย. 2561 | 11:23 น.
นักวิจัยจากศูนย์ภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา เร่งศึกษากลไกการเกิด“เอลนีโญ่” รูปแบบใหม่ หลังค้นพบข้อมูลยืนยันว่ามี แนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้น และถี่ขึ้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิด‘ภัยแล้ง’และส่งผลกระทบรุนแรงเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศ

สถิติการเกิดเอลนีโญ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1951-2018 จากที่มีการออกมาเตือนถึง‘ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ ปลายปีนี้ จากปรากฏการณ์เอลนีโญ’ หลังมีแนวโน้มฝนในปีนี้ จะหมดลงเร็วขึ้นจากปกติการสิ้ นสุดของฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคม แม้ก่อนหน้านั้นประเทศไทยยังมี ฝนตกหนักต่อเนื่อง บางพื้นที่ฝนตกน้ำท่วม แต่บางพื้นที่ฝนไม่ตก บ่งบอกถึงการผิดปกติของสภาพภูมิอากาศปรากฏให้เห็นชัดเจน ฤดูกาลเปลี่ยนไปเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย และความผันแปรของสภาพภูมิ อากาศที่ไม่อาจดคาดเดา แต่การพยากรณ์ยังเป็นสิ่งสำคั ญและจำเป็นสำหรับการวางแผน เช่น ผู้ประกอบการและภาคเกษตร โดยเฉพาะสภาพอากาศในช่ วงระยะเวลาเกิน 7 วัน ถึง 1 เดือน ดังนั้น เพื่อให้การพยาการณ์ครอบคลุมช่ วงเวลามากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการ แปรผันและการคาดหมายฝนกึ่งฤดูกาลบริเวณประเทศจีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ทุนสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สถิติการเกิดเอลนีโญ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1951-2018 ดร.ชลัมภ์ อุ่นอารีย์ นักวิจัยจากศูนย์ภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า  ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดสภาวะอากาศที่มีความรุนแรงหลายพื้นที่ทั่วโลก เช่น สภาวะฝนตกหนัก ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และพายุหมุนที่มีความรุนแรง และยังมีแนวโน้มที่จะเกิดมากขึ้ น ส่วนหนึ่งมาจากการความผั นแปรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ หรือ climate change เนื่องจากอุณภูมิผิวพื้นเฉลี่ ยของโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นผลมาจากการปลดปล่อยปริ มาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์และก๊ าซเรือนกระจกอื่นๆ ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศมากเกิ นสมดุล จนเป็นผลให้เกิดการกักเก็บรังสี ความร้อนเพิ่มขึ้นและกลายเป็นพลังงานส่วนเกินของโลก พลังงานความร้อนส่วนใหญ่ถูกกั กเก็บไว้ในมหาสมุทรที่ระดั บความลึกตั้งแต่ 0-300 เมตร เมื่อพลังงานส่วนเกินที่อยู่ ในน้ำทะเลจำนวนมหาศาลถูกปลดปล่ อยออกมาในรูปของการขับเคลื่ อนการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุ ทรและกระแสอากาศในชั้นบรรยากาศ จนทำให้ปรากฏการณ์ธรรมชาติต่ างๆมีรูปแบบการเกิดที่เปลี่ยนไป ทั้งในแง่ของความรุนแรง ระยะเวลาของการเกิด จนถึงผลกระทบต่างๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่นับวันจะยิ่งทวีความรุ นแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบในรูปของภัยธรรมชาติต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ตลอดจนความผันแปรของฤดูกาลที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน สร้างผลกระทบต่อการดำเนินชีวิ ตของมนุษย์ และสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ลักษณะปรากฏการณ์เอลนีโญ 3 รูปแบบ (2) มีงานวิจัยพื้นฐานโครงการหนึ่งภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุ นการวิจัย หรือ สกว เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างทีมนักวิจัยไทยร่วมกับทีมนั กวิจัยจากประเทศจีน ระยะเวลาโครงการ 3 ปี และได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา เพื่อทำการศึกษากลไกความผั นแปรของปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ แวดล้อมอยู่ในภูมิภาคอินโดแปซิ ฟิก โดยเฉพาะความผั นแปรของระบบการไหลเวียนทั้งในชั้ นบรรยากาศและมหาสมุทร จะส่งผลกระทบต่อปริ มาณฝนของประเทศไทยอย่างไรบ้าง เนื่องจากในปัจจุบันการพยากรณ์ อากาศจากหน่วยงานหลักอย่างกรมอุ ตุนิยมวิทยายังไม่ครอบคลุมช่ วงระยะเวลาเกิน 7 วัน จนถึง 1 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ภาคประชาชนโดยเฉพาะกลุ่ มเกษตรกรต้องการผลการพยากรณ์ล่ วงหน้ามาใช้ในการวางแผนการใช้น้ำ เพื่อการเพาะปลูก และถึงแม้ว่าจะมีการพยากรณ์ อากาศ รายวัน รายสามวัน รายเจ็ดวัน รายเดือน และรายสามเดือนหรือรายฤดูกาลอยู่ แล้ว แต่ผลการพยากรณ์ในปัจจุบันยังมี ความคลาดเคลื่อนอยู่มาก เนื่องมาจากผลกระทบจากความผั นแปรของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ แวดล้อมในภูมิภาคของเรา หลายปรากฏการณ์มีความซับซ้ อนและเชื่อมโยงกัน อย่างเช่น ปรากฏการณ์เอลนีโญ่-ลานีญ่า ปรากฏการณ์คู่ขั้วในมหาสมุทรอิ นเดีย ตลอดจนความเชื่อมโยงของลมมรสุ มและพายุหมุนเขตร้อน

ลักษณะปรากฏการณ์เอลนีโญ 3 รูปแบบ (1) นักวิจัยจากศูนย์ภูมิอากาศ บอกว่า “การพยากรณ์อากาศไม่ใช่เรื่ องยาก ทุกคนล้วนเป็นนักพยากรณ์ อากาศในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว อย่างเช่น เวลาเราจะเดินทางไปไหนเราก็มี การคาดคะเนถึงสภาพอากาศที่จะเกิ ดขึ้นล่วงหน้าไม่มากก็น้อย แต่การอธิบายเหตุผล เงื่อนไขและกลไกของสิ่งที่ พยากรณ์ออกไปเรื่องที่ยากยิ่ งกว่า ถึงแม้ในปัจจุบันเราจะมีเครื่ องมือตรวจอากาศและคอมพิวเตอร์ สมรรถนะสูงไว้ช่วยในการพยากรณ์ อากาศ แต่เราก็ยังมีความรู้ความเข้ าใจถึงกลไกการไหลเวียนในชั้ นบรรยากาศไม่ดีพอ

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ จะช่วยเติมเต็มความรู้ความเข้ าใจถึ งกลไกของอากาศและปรากฏการณ์ ธรรมชาติในภูมิภาคบ้านเราให้ดี ยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์ธรรมชาติและความผั นแปรของสภาพอากาศมีช่วงเวลาที่ แตกต่างกันไป บางปรากฏการณ์มีระยะเวลาการเกิ ดเป็นรายชั่วโมงหรือรายวัน บางปรากฎการณ์มีระยะเวลาการเกิ ดเป็นสัปดาห์ หรืออาจเป็นรายเดือน รายปี และรายทศวรรษ

2018-09-21_16 โดยในงานวิจัยนี้เราได้ศึ กษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ และกลไกความผันแปรในช่วงกึ่งฤดู กาล ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน โดยหนึ่งฤดูกาลจะมี ระยะเวลาประมาณ 3-4เดือน แนวทางในการศึกษาวิจัย คือ การอธิบายกลไกของปรากฎการณ์ ทางธรรมชาติและความผันแปรที่เกิ ดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตลอดจนการศึกษาถึ งผลกระทบของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อปริมาณฝนในภูมิ ภาคบ้านเรา ทั้งสภาวะฝนหนักและสภาวะภัยแล้ งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีความรุนแรง จนเกิดเป็นภัยธรรมชาติที่มี แนวโน้มบ่อยครั้งมากขึ้น”

ดร.ชลัมภ์ บอกอีกว่า “ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุ บันนี้ มีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งขึ้ นไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่หลายบริเวณทั่วโลกก็ได้รั บผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่มี ความรุนแรงเช่นกัน การรวบรวมข้อมูลทางสถิติของหน่ วยงานที่ศึกษาเกี่ยวกับชั้ นบรรยากาศและมหาสมุ ทรของประเทศสหรัฐอเมริ การายงานว่า ประเทศไทยมีสภาวะฝนรุ นแรงมากประเทศหนึ่งของโลกเกิดขึ้ นสองครั้งในเดือนกันยายนและอี กหนึ่งครั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ปรากฏการณ์ธรรมชาติหนึ่งที่ส่ งผลกระทบต่อสภาวะฝนทั้งสองด้าน คืออย่างปรากฏการณ์เอลนีโญ่เกิ ดขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริ เวณตอนกลางของมหาสมุทรสูงขึ้ นอย่างผิดปกติติดต่อกั นยาวนานเป็นช่วงเวลาหนึ่ง (ประมาณ 5 เดือนติดต่อกัน)

ปรากฏการณ์นี้เป็นผลโดยตรงมาจากพลังงานความร้ อนที่สะสมอยู่ในมหาสมุทร ส่งผลให้อุณหภูมิผิวน้ำ ทะเลโดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกมี ค่าสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และเป็นจุดเริ่มต้นของความผั นแปรของสภาพอากาศด้วย เนื่องจากความร้อนของอุณหภูมิผิ วน้ำทะเลที่แตกต่างกันแต่ละบริ เวณส่งผลให้เกิดการยกตั วของอากาศร้อนและมีความชื้น และการจมตัวของอากาศเย็นและแห้ง ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ที่เกิดขึ้ นในปัจจุบัน มีรูปแบบการเกิดและการพัฒนาตัวหลากหลายขึ้น ส่งผลกระทบต่อปริมาณฝนแตกต่างหลายพื้นที่ รวมทั้งมีผลต่อการพัฒนาตั วของพายุหมุนเขตร้อนให้เพิ่มสู งขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งที่สำคัญเนื่ องมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ ยนแปลงไป”

IMG_0623_resize ผลการศึกษาส่วนหนึ่งในงานวิจัยนี้ พบสัญญาณความผันแปรของอุณหภูมิ ผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิ กฝั่งตะวันตกที่มีแนวโน้มสูงขึ้ นอย่างผิดปกติ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอิทธิ พลทำให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ่ รูปแบบใหม่ ในลักษณะที่อุณหภูมิผิวน้ำ ทะเลบริเวณตอนกลางของมหาสมุ ทรแปซิฟิกสูงขึ้นผิดปกติ ตลอดแนวมหาสมุทร เกิดการยกตัวของอากาศตลอดแนวมหาสมุทรแปซิฟิ ก และเกิดการจมตัวของอากาศแห้งได้ ไกลขึ้นถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ส่งผลต่อการยับยั้งลมมรสุมตะวั นตกเฉียงใต้ที่กำลังพั ดพาเอาความชื้นจากมหาสมุทรอิ นเดียในช่วงฤดูมรสุมเข้าสู่ ประเทศไทย และมีผลสืบเนื่องคือการเกิ ดสภาวะความแห้งแล้งเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะทางตอนบนของประเทศ  รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านอย่ างประเทศอินเดียที่เกิดภัยแห้ งกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศมาแล้วเมื่ อปี ค.ศ. 2009 และ 2014 ปรากฏการณ์เอลนีโญ่แบบนี้ถูกตั้ งชื่อตามลักษณะการเกิดว่า “ปรากฏการณ์เอลนีโญ่เบซินไวด์ วอร์มมิ่ง (Basin Wide Warm El Nino)”

ในงานวิจัยได้ศึกษาข้อมูลอุณภู มิผิวน้ำทะเลย้อนหลังเป็นเวลา 48 ปี ตั้งแต่ปี 1971 - 2018 พบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญ่มีรู ปแบบการเกิดที่เด่นๆ 3 รูปด้วยกัน คือ แบบที่ 1 เอลนีโญ่แปซิฟิกตะวันออก (East Pacific El Nino) เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด มีลักษณะของอุณหภูมิผิวน้ำ ทะเลบริเวณตอนกลางของมหาสมุ ทรแปซิฟิกไปจนถึงแปซิฟิกฝั่ งตะวันออกสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แบบที่ 2 เอลนีโญ่เบซินไวด์วอร์มมิ่ง (Basin Wide Warm El Nino) เป็นแบบที่งานวิจัยชิ้นนี้ให้ ความสนใจ เนื่องจากในอดีตยังไม่ เคยปรากฏการณ์มาก่อน มีลักษณะของอุณหภูมิผิวน้ำ ทะเลสูงผิดปกติไปทั่วทั้งมหาสมุ ทรแปซิฟิกตั้งแต่ฝั่งตะวันออกถึ งตะวันตก เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2009 และครั้งที่สองในปี 2014 ที่ผ่านมา เนื่องจากส่ งผลกระทบในทางลบทำให้เกิดสภาวะความแห้งแรงรุนแรงและเป็นวงกว้างมากกว่าแบบที่ 1 ที่สำคัญคือประเทศไทยก็ได้รั บผลกระทบจากเอลนีโญ่แบบนี้ มากเช่นกัน ในงานวิจัยยังได้พบสัญญาณและมี แนวโน้มที่จะเกิดเอลนีโญ่แบบนี้ ได้บ่อยมาก นอกจากนั้นยังมี แบบที่ 3 เอลนีโญ่แปซิฟิกตอนกลาง (Central Pacific El Nino) หรือ โมเดอะกิเอลนีโญ่ (Modoki El Nino) มีลักษณะของอุณหภูมิผิวน้ำ ทะเลบริเวณตอนกลางของมหาสมุ ทรแปซิฟิกสูงขึ้นอย่างผิดปกติ ในขณะที่อุณหภูมิบริเวณฝั่งตะวั นตกและตะวันออกต่ำกว่าปกติ เอลนีโญ่แบบนี้จะส่งผลดีต่ อประเทศไทยมากกว่า 2 แบบแรก เพราะทำให้ปริ มาณฝนของประเทศไทยมีค่าเพิ่มขึ้ น แต่แนวโน้มการเกิดปรากฏการณ์ แบบนี้ไม่บ่อยนัก

ดร.ชลัมภ์ บอกอีกว่า “จากข้อค้นพบสัญญาณความผันแปรนี้  บ่งชี้ว่าแนวโน้มการเกิ ดปรากฏการณ์เอลนีโญ่เบซินไวด์ วอร์มมิ่งมีโอกาสเกิดบ่อยครั้ งขึ้น (สาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ อสภาวะความแห้งแล้ งโดยเฉพาะทางตอนบนของประเทศ และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ลักษณะของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ สูงขึ้นทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันตกเป็ นเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ กลไกการพัฒนาตัวของพายุหมุ นเขตร้อนเกิดได้มากขึ้นและมี ระดับความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในการศึกษากลไกและความผั นแปรของปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ในโครงการนี้ ได้นิยามดัชนีชี้วัดความผั นแปรทางสมุทรศาสตร์ตัวหนึ่ง เรียกว่า NINO 5 โดยใช้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริ เวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกที่มี ความผันแปรเป็นพื้นที่ศึกษา ที่จะช่วยให้เข้าใจกลไกการเกิ ดปรากฏการณ์เอลนีโญ่แบบต่างๆ ได้ดีขึ้น รวมทั้งแนวโน้มของการเกิดพายุ หมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกด้ วย”

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไม่ได้มีผลกระทบเท่านี้ แต่ยังส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ ต่างๆ ที่รุนแรง เช่น การเกิดคลื่นความร้อนกับหลายๆ ประเทศในแถบยุโรป การเกิดภัยแล้งติดต่อกันหลายฤดู กาลในบางประเทศ หรือกระทั่งเกิดฝนตกหนักอย่างที่ ไม่สามารถคาดเดาได้ และแนวโน้มของการเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงเหล่านี้ จะเกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องยอมรับ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้ นมีจริง และสิ่งที่ควรทำในตอนนี้ คือ เราต้องเรียนรู้ถึงการเกิดความผันแปรของอากาศให้เข้ าใจและปรับตัวให้อยู่กับมัน เพราะไม่มีใครที่ จะเอาชนะธรรมชาติได้ และเราย้ายประเทศไม่ได้

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-16-503x62