ตราบาปกสทช. ที่ต้องแก้ไข

21 ก.ย. 2561 | 05:56 น.
CiHZjUdJ5HPNXJ92GOyahHUjhMAqLNpF9q เป็นเวลา 7-8 ปี นับตั้งแต่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ และมอบอำนาจหน้าที่ให้กับคณะกรรมการ กสทช.ในการกำกับดูแลคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพย์สาธารณะ กิจการโทรทัศน์ โทรคมนาคม ประเทศไทยได้รับบทเรียนอันเจ็บปวดหลายอย่าง และผลสัมฤทธิ์หลายด้าน จากการทำงานขององค์กรแห่งนี้

การเปิดประมูลคลื่นความถี่ 2 ระลอก เพื่อเปิดทางให้ผู้บริการมือถือนำคลื่นไปให้บริการประชาชน แม้จะได้เงินก้อนโตเข้าประเทศ แต่จนบัดนี้ยังมีข้อถกเถียงกันกว้างขวางว่า “กสทช.ควรยึดถือราคาสูงสุด หรือ การให้บริการแก่ประชาชน”

สัมปทานทีวีดิจิตอลที่เปิดประมูลรอบเดียว 24 ช่อง จนกลายเป็นฝันร้ายของผู้ประกอบการและประชาชนผู้เสพสื่อ ยังแก้ปมมหากาพย์แห่งความอัปยศ วุ่นวาย ทั้งทางด้านธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไรและกลไกของสื่อที่กสทช.ปล่อยคลื่นไปตกอยู่ในมือกลุ่มทุน กลุ่มการเมือง ให้เป็นเครื่องมือในการยุยงปลุกปั่น ล้างสมอง สร้างความแตกแยกของผู้คนในสังคม ล้วนแล้วแต่เกิดจากการสร้างสรรค์โดย กสทช.ชุดนี้ทั้งสิ้น
090861-1927 เพิ่มเพื่อน

ล่าสุด กสทช.ยังได้สร้างบรรทัดฐานที่เป็นตราบาปแก่องค์กรอิสระที่ทำหน้าที่กำกับดูแลคลื่นความถี่และดูแลประชาชนผู้ใช้บริการ ชนิดที่ผู้นำรัฐบาลควรหันมาจัดการคณะกรรมการ 7 คน ที่ยังทำหน้าที่ใช้ดุลพินิจอย่างลุแก่อำนาจ สร้างเงื่อนไขที่ผิดพลาด แสดงบทบาทในการกำกับที่ไม่เป็นธรรม ให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด มิใช่ปล่อยให้อยู่อย่างยาวนาน 7 ปี ผ่านการแปลงร่าง แปลงกายมาแล้วหลายรอบจนอาจสร้างปัญหาขึ้นมาอีก
EyWwB5WU57MYnKOvX9VzPcoRbwhGWrALYlB0YjwsusoREIDo5wIdop
คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองผู้ใช้บริการมือถือของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นฯ (DTAC) เป็นการชั่วคราวไปจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2561 สวนทางกับมติและคำสั่งของคณะกรรมการ กสทช.ที่มีมติไม่เยียวยาหลังจากคลื่นความถี่ 850 MHz หมดอายุลง โดยอ้างเหตุที่เอกชนรายนี้ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ที่กสทช.ประสงค์มาใช้เป็นเหตุผล  โดยไม่สนใจว่าประชาชนผู้ใช้บริการจะมีอยู่เท่าใด เดือดร้อนแค่ไหน

ร้ายหนักกว่านั้น กสทช.ยังระบุอีกว่า จำนวนผู้ใช้บริการเพียงแค่ 9 หมื่นคน ไม่เพียงพอที่จะยกมาเป็นข้ออ้างในการขอรับการคุ้มครองเยียวยา เรียกว่า ใช้เงื่อนไขประมูลมาบีบเอกชน เมินเฉยผู้คนที่เดือดร้อน ขนาดศาลปกครองระบุชัดว่า มติของกสทช.ในเรื่องนี้น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการที่ยังไม่อาจโอนย้ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง

องค์กรของรัฐ หน่วยงานของรัฐแห่งใด ที่ผู้บริหาร คณะกรรมการ ละสายตา เพิกเฉย ละเลย ไม่แยแสต่อความเดือดร้อนของประชาชน ไม่ว่าจะเพียง 1 คน 100 คน หรือ 1,000 คน ที่ต้องเผชิญชะตากรรมจากการใช้อำนาจรัฐของตน ผู้ปกครองของรัฐโปรดใช้วิจารณญาณฝ่ายบริหารดำเนินการแทนประชาชนด้วยเถิด

|บทบรรณาธิการฐานเศรษฐกิจ
|หน้า 6 ฉบับ 3402 ระหว่างวันที่ 20-22 ก.ค.2561
เพิ่มเพื่อน 23626556-10