“คสช.” หมู่บ้านกระสุนตก “นักการเมือง”รอมานานได้ทีรุมสับยับ

20 ก.ย. 2561 | 11:20 น.
56+5998595

DhotJSqUYAAvy_D ทันทีที่ คสช. “คลายล็อก” ให้พรรคการเมือง ทำกิจกรรมบางกิจกรรมได้บ้าง แม้ยังไม่ถึงขั้นกับ “ปลดล็อก” เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เสรี เต็มที่

แต่เพียงแค่นี้ก็ทำให้ “นักการเมือง” กล้ามีปากมีเสียง พูดจาทิ่มแท้งไปที่ คสช.บ้างแล้ว ทำให้ขณะนี้ “คสช.” กลายเป็น “หมู่บ้านกระสุนตก” ไปแล้ว

ไล่เลียงจาก “ใบมีดโกนน้อย” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมากล่าวถึงคำสั่งคลายล็อกของ คสช.ว่า

“ไม่ใช่การคลายล็อกการเมืองเพื่อให้ทำกิจกรรมจริง แต่เป็นเพียงการเปิดให้ทำงานธุรการมากกว่าเป็นคำสั่งที่จะให้มีงานการเมืองจริง ๆ ซึ่งจะมีปัญหาในหลายเรื่อง เช่น เรื่องการหาเสียงเพราะจะมีการตีความที่แตกต่างออกไป รวมถึงมีปัญหาในการทำงาน เช่น การหาสมาชิก เพราะโดยธรรมชาติการเมือง ต้องทำกิจกรรมจึงจะหาสมาชิกได้อย่างทั่วถึง สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าไม่เข้าใจงานการเมือง เพราะการบริหารธุรการแยกจากการทำกิจกรรมการเมืองไม่ได้

และยังมีทัศนคติว่าพรรคการเมืองมีไว้เพื่อหาเสียง ทั้งที่ต้องรับฟังปัญหาประชาชนอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่รวมตัวมีอำนาจผ่านกระบวนการเลือกตั้ง จึงน่าเสียดายที่ตั้งเป้าปฏิรูปการเมือง แต่กลับตอกย้ำค่านิยมผิดแบบนี้ จึงไม่อยากให้ผู้มีอำนาจและผู้ที่เกี่ยวข้องมองข้อจำกัดเกี่ยวกับกิจกรรมการเมืองว่าเป็นการจำกัดพรรคการเมืองเท่านั้น แต่อยากให้มองว่าเป็นการจำกัดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากกว่า
609250958 อภิสิทธิ์ ชี้ว่า ถ้าอยากให้การเลือกตั้งมีกิจกรรมน้อยที่สุด คนได้ประโยชน์คือคนซื้อเสียงหรือได้คะแนนเสียงโดยมิชอบ คนได้คะแนนบริสุทธิ์ต้องทำการเมืองโน้มน้าวความคิดประชาชน ยิ่งจำกัดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก็ยิ่งช่วยพรรคการเมืองที่ไม่คิดจะได้คะแนนเสียงด้วยวิธีที่บริสุทธิ์ จึงอยากให้คสช.และผู้ที่เกี่ยวข้องมองในมุมนี้ด้วย”

ขณะที่ องอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ออกมาแถลงเรียกร้องไปยัง คสช. ว่า ให้หารือกับ กกต.ทบทวนคำสั่งคลายล็อกเพื่อเปิดโอกาสให้พรรคสื่อสารกับประชาชนและสมาชิกพรรคผ่านโซเชียลมีเดียได้

เนื่องจากการห้ามหาเสียงผ่านโซเชียลมีเดียได้กำหนดรายละเอียดไว้แบบกว้างๆ จึงถือว่าไม่เอื้อต่อสังคมที่การพัฒนาในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร และในยุคไทยแลนด์ 4.0

ทั้งนี้ หากมีพรรคการเมืองหรือนักการเมืองดำเนินการไม่ถูกต้องก็มี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ควบคุมดูแลอยู่ เพื่อให้การดำเนินการพรรคการเมืองเป็นไปอย่างถูกต้อง และยังเป็นการสร้างบรรยากาศทางการเมืองและประชาธิปไตย

[caption id="attachment_320461" align="aligncenter" width="443"] วราวุธ ศิลปอาชา วราวุธ ศิลปอาชา[/caption]

อีกคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ คสช.คือ “ลูกท็อป-วราวุธ ศิลปอาชา” แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ระบุว่า แม้ คสช.ออกคำสั่งคลายล็อกให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมการเมืองบางกรณี แต่สิ่งที่ยังเป็นห่วงอยู่คือ การติดต่อสมาชิกพรรคโดยผ่านวิธีสารสนเทศหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

พรรคต้องขอความชัดเจนจาก คสช. หรือ กกต.ให้เร่งพิจารณาแนวทางให้พรรคปฏิบัติได้ เพราะโลกออนไลน์มีรายละเอียดซับซ้อน เช่น เฟซบุ๊กของพรรคการเมืองจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้เปิดเป็นสาธารณะแล้วสื่อสารกับสมาชิกได้อย่างเดียว

แม้แต่เว็บไซต์ของพรรค จะต้องทำอย่างไร ยังนึกไม่ออกจนปัญญาจริงๆ เพราะการควบคุมโลกโซเชียลให้เป็นไปในทางปิดหรือไม่ใช่สาธารณะนั้น เป็นอะไรที่ยากมาก
090861-1927-9-335x503 เพิ่มเพื่อน

ฟากของพรรคเพื่อไทย อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรค กล่าวถึงคำสั่งคลายล็อกให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมได้ว่า ความจริงเมื่อมีรัฐธรรมนูญ มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งแล้ว ไม่ควรนำมาตรา 44 มาใช้กับกระบวนการเลือกตั้ง การทำให้ประชาชนเข้าถึงนโยบาย รับรู้ว่าแต่ละพรรคการเมืองจะนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาของประเทศอย่างไร ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน หรือจะยึดเอาโมเดลการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่ห้ามรณรงค์ ประชาชนเข้าไปออกเสียงก็ออกแบบงงๆ รู้แต่ว่ารับๆ ไปก่อน จะได้มีการเลือกตั้งเร็วๆ

ในขณะที่ฝ่ายถืออำนาจรัฐโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวเองเต็มที่ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา แต่กลับต้องการให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ให้น้อยที่สุดหรือไม่ หรือจะทำการเลือกตั้งให้เป็นแค่พิธีกรรม เพื่อบอกนานาอารยประเทศว่ามีเลือกตั้งแล้ว ให้ประชาชนไปหย่อนบัตร แต่ไม่ต้องให้รู้เรื่องอะไรเลยหรือไม่

[caption id="attachment_320460" align="aligncenter" width="503"] อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด[/caption]

สถานการณ์แบบนี้ ใครได้ประโยชน์พอมองออกได้ แต่ฝ่ายที่เสียประโยชน์มากที่สุดคือประชาชน เพราะจะเป็นการเลือกตั้งที่ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนหรือไม่

“4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลโฆษณาว่าทำบ้านเมืองสงบเรียบร้อยเป็นผลงานเด่น สงบมา 4 ปี แต่พอจะเลือกตั้งกลับกลัวไม่สงบเพียงเพราะมีการสื่อสารนโยบายทางโซเชียลมีเดีย หรือท่านคิดว่าประชาชนพอจะรับฟังได้หรือไม่ คสช.ไม่ควรทำตัวเป็น กกต.เสียเอง การใช้โซเชียลมีเดียของพรรคการเมืองในการสื่อสารนโยบายอะไรทำได้ ทำไม่ได้ ควรให้ กกต.เป็นผู้ชี้แจง หากฝ่ายการเมืองทำผิดก็สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้อยู่แล้ว รัฐบาลประกาศ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ ไทยแลนด์ 4.0 แต่การดำเนินการจริงสวนทางกับที่ประกาศหรือไม่” เป็นการตั้งคำถามเหน็บแนมแบบเบาๆ จากสมาชิกพรรคที่เคยสูญเสียอำนาจ

เพียงแค่ “คลายล็อก” ยังไม่เปิดให้ทำกิจกรรมหรือแสดงความคิดความเห็นได้เต็มที แค่นี้ คสช. ก็ “หูอื้อ” แล้ว

หาก “ปลดล็อก” ให้เคลื่อนไหวทางการเมืองได้เต็มที่ เชื่อได้เลยว่า “คสช.” จะตกเป็น “จำเลย” ให้พรรคการเมืองที่ไม่พอใจ ได้ระบายแค้นเพื่อเรียก “คะแนนนิยม” ให้กับพรรคตัวเองเป็นแน่แท้

ขณะนี้รอเวลาเพียงแค่ถึงวันที่ 10 ธ.ค.2561 เมื่อพ.ร.บ.เลือกตั้งมีผลบังคับใช้ และมีคำสั่งปลดล็อกตามมา เมื่อนั้น “สงครามน้ำลาย” ระเบิดแน่

รายงาน : “คสช.” หมู่บ้านกระสุนตก “นักการเมือง”รอมานานได้ทีรุมสับยับ
โดย : โต๊ะข่าวการเมือง 
e-book-1-503x62-7