ย้อนรอยสถิติทองคำ 10 ปี

20 ก.ย. 2561 | 00:33 น.
 

หลัง‘เลห์แมนบราเธอร์ส’ล่มสลาย

คอลัมน์ครบเครื่องเรื่องทองกับ YLG
10 ปีผ่านไป นับตั้งแต่การล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตการณ์ทางการเงินในช่วงปี ค.ศ. 2007-2008  ได้เห็นถึงหลายช่วงหลายตอนในตลาดทองคำ จากปัจจัยพื้นฐานของตลาด, แนวโน้มโดยรวมและจุดเปลี่ยนที่เฉพาะเจาะจง มักเกิดจาก “hot money” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีอุปสรรคสำคัญในด้านอุปสงค์พื้นฐานของตลาด แต่ทองคำยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นอย่างดี

เลห์แมน บราเธอร์ส ยื่นคำร้องขอล้มละลายในวันที่ 15 กันยายน 2008 แต่สัญญาณเตือนได้เริ่มต้นก่อนหน้านั้นในช่วงปี 2007 และด้วยปัญหาที่เกี่ยวกับตลาดซับไพรม์ ได้พบว่าผลตอบแทนของทองคำในช่วงครึ่งหลังของปี 2007 มีการปรับตัวสูงขึ้นจากความเสี่ยงดังกล่าว โดยราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นจาก 640 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากช่วงกลางปี 2007 จนทดสอบระดับ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในเดือนมีนาคม 2008 จากนั้นก็ขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรูปแบบของสกุลเงินดอลลาร์หลัง Bear Sterns ล่มสลายลง MP18-3402-A

ก่อนที่ราคาทองคำจะร่วงลงจากความผิดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาด (ประมาณ 75 basis points จากความพยายามจะบรรเทาภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว) และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่ตามมาในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ทำให้ราคาทองคำอยู่ที่ 750.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2008 แต่ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส (รัฐบาลสหรัฐฯ ต้อง take over บริษัท Freddie Mac, Fanny Mae ก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายนเนื่องจาก sub-prime housing crisis) ทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นและแตะ 899 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในบ่ายของวันที่ 23 กันยายน 2008

แม้จะมีการปรับฐานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ถือเป็นรากฐานสำหรับตลาดกระทิง 3 ปีหลังจากนั้นในตลาดทองคำ จนกระทั่งทองคำทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดในวันที่ 5 กันยายน 2011 โดยในช่วงเช้าราคาทองคำอยู่ที่ 1,896.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์และขึ้นไปแตะ 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างการซื้อขายของวันดังกล่าว และในช่วงเวลานี้ตลาดการเงินมุ่งความสนใจไปยังระดับราคาที่เหมาะสม แม้ว่าเฟดจะยังคงดำเนินมาตรการ QE โดยผู้สังเกตการณ์จำนวนมากเชื่อว่าทองคำได้ priced in มาตรการผ่อนคลายครั้งต่อไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่าแม้ทองคำจะเผชิญแรงขายกดดันมาหลายปี แต่จะเห็นได้ว่าภาครัฐได้แปรเปลี่ยนจากผู้ขายสุทธิไปเป็นผู้ซื้อสุทธิในปี 2010 และยังคงเป็นเช่นนั้นต่อเนื่อง (ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำเพิ่มขึ้น 3,030 ตัน จาก ปี 2010-2017 ซึ่งมีปริมาณเทียบเท่ากับการผลิตทองคำจากเหมืองแร่ทั่วโลก 11 เดือน) แม้ว่าผู้ซื้อจะซื้อในปริมาณค่อนข้างน้อยและมีผู้ขายเช่นเดียวกัน แต่บ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการทองคำของรัฐบาลต่างๆในการกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทนจากทองคำยังคงอยู่

หน้า 17-18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,402 วันที่ 20-22 กันยายน 2561